ในช่วงแรกเกิด ทารกส่วนใหญ่กินนมทุก 1-2 ชั่วโมง และยิ่งกินถี่ในช่วงกลางคืน ซึ่งแม้จะทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอนแค่ไหน ก็ขอให้นึกไว้ว่าการกินนมกลางคืนจะช่วยเพิ่มน้ำนมได้อย่างดี เพราะฮอร์โมนโปรแลกติน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนมมีมากในเวลากลางคืน
แต่เมื่อลูกโตขึ้นก็จะนอนยาวขึ้น และกินนมน้อยไปเรื่อยๆ เอง ฉะนั้นการ เลี้ยงลูกขวบปีแรก ต้องจำไว้เสมอว่า เมื่อไรที่ลูกหิวหรืออยากเข้าเต้า คุณแม่ควรให้ลูกได้นอนดูดเต้าอย่างสงบตามที่เขาต้องการอย่างเต็มที่ อย่าพยายามจับเวลาหรือเร่งร้อนใจ เพราะคุณแม่เองก็ควรมีช่วงเวลาสุขสงบผ่อนคลายไปพร้อมกับลูก คิดในแง่ดี การให้นมก็เป็นเวลาที่เจ้าตัวป่วนจะได้อยู่นิ่งๆ และยังช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นด้วย
3.นอนด้วยกัน
แม้ยังจะไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่า การนอนเตียงกันกับลูกน้อยจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารกอย่างไร ส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับวิถีปฏิบัติและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างพ่อแม่ชาวตะวันตกนิยมแยกห้องนอนกับลูก เพราะกลัวว่าถ้าแม่เผลอหลับลึกอาจทับลูกจนเสียชีวิต ขณะที่พ่อแม่ชาวเอเซียเลือก เลี้ยงลูกขวบปีแรก ด้วยการให้นอนเตียงเดียวกันเพราะต้องการให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา
MUST READ : ตารางการนอนของทารก นอน/ตื่นกี่ครั้ง นอนนานแค่ไหน?
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า การที่คุณแม่ให้นมลูกแล้วนอนหลับไปด้วยกัน ช่วยให้แม่ได้พักผ่อนมากกว่าแม่ที่แยกห้องกับลูก ซึ่งต้องคอยลุกมาชงนม และออกไปดูลูกทุกครั้งที่ร้องตื่นกลางดึก ด้าน นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า คุณพ่อคุณแม่ควรนอนกับลูก พี่น้องนอนรวมกัน เพื่อร่วมทุกข์ร่วมสุขและปรับตัวไปด้วยกัน จนถึงวันหนึ่งที่ลูกสบายใจและอยากแยกห้องเอง
กุญแจสู่ความสำเร็จ เลี้ยงลูกขวบปีแรก
“อยากให้ลูกโตไปอย่างไร พ่อแม่ก็ต้องทำแบบนั้น” เพราะพ่อแม่คือต้นแบบที่ดีที่สุดของลูก หากอยากให้ลูกมีพัฒนาการสมวัย เลี้ยงง่าย อารมณ์ดี เรียนรู้ไว ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนขวบปีแรก โดยขอสรุปเคล็ดลับเลี้ยงลูกให้ได้ดีมาเป็นข้อๆ ดังนี้
ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจในตัวเรา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลูกพร้อมจะเรียนรู้โลกภายนอกเมื่อโตขึ้น
ลูกเรียนรู้ผ่านการดู ฟัง การเล่น การจับต้อง การทำตามแบบอย่าง แล้วลองทำด้วยตัวเอง ดังนั้น พ่อแม่ต้องหมั่นพูดคุย การเล่น การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน หรือทำกิจกรรมต่างร่วมกันอยู่เสมอ
แสดงท่าทีสนใจเมื่อลูกอยากถาม หรืออยากรู้อะไร เพื่อสร้างพื้นฐานการใฝ่รู้ตั้งแต่เล็ก
ไม่เปรียบเทียบพัฒนาการของลูกกับใคร เพราะเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานพัฒนาการแตกต่างกัน และการเปรียบเทียบจะกลายแปรเปลี่ยนเป็นความกดดันต่อตัวลูกและจิตใจของพ่อแม่เองโดยไม่จำเป็น
หลีกเลี่ยงการกดดันหรือเร่งรัดมากเกินไป เช่น อยากให้ลูกพูดเร็ว เดินเร็วกว่าวัยที่ควรจะเป็น
ให้กำลังใจ ชมเชยเมื่อลูกกำลังทำสิ่งใหม่ แทนคำพูดตำหนิ หรือกดดัน
ไม่ควรให้ลูกวัยก่อนขวบปี ดูหน้าจอทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น มือถือ แท๊ปเล็ต หรือโทรทัศน์ แม้แต่การ์ตูนสอนภาษา หรือเพลงเต้นน่ารักๆ ก็ไม่ควรให้ดูดเด็ดขาด เพราะจะขัดขวางพัฒนาการหลายด้าน
การเลี้ยงลูกอาจไม่มีทางลัด แต่เส้นทางแสนยาวไกล และบางครั้งอาจต้องเดินบนทางขรุขระหรือปีนเขาสูงชัน แต่ขอให้คุณพ่อคุณแม่เชื่อมั่นเถอะว่า ผลของการสร้างพื้นฐานด้านอารมณ์และจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่วัยก่อนขวบปีนี้คุ้มค่ากับความรักและทุ่มเทที่มอบให้แน่นอน
บทความน่าสนใจอื่นๆ
เคล็ดลับดี๊ดี..กระตุ้นพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-12 เดือน
10 เมนูอาหารลูกน้อย วัย 6 – 10 เดือน สูตรอร่อยจากแม่ญี่ปุ่น!
แหล่งข้อมูล : www.whattoexpect.com, www.thaibreastfeeding.org
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่