สมองดี กฎ 5 จงทำมากกว่าพูด
“เพราะช่วงวัยเด็ก สมองส่วนล่างทำงานมากกว่าสมองส่วนอื่น สมองส่วนล่างทำงานกับระบบจิตใต้สำนึก ระบบจิตใต้สำนึกจะเรียนรู้จากการซึมซับ จากการเห็นต้นแบบ การดูต้นแบบ และการเรียนรู้นี้เป็นการวางองค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลิก นิสัย วิธีคิด ความฉลาด ความชอบไม่ชอบ ทัศนคติต่อโลกและสังคม ซึ่งเหล่านี้จะอยู่ในโครงสร้างสมอง
“เราบอกให้ลูกเป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่ขโมย แต่พอเห็นลูกหยิบเงิน เรา บอกลูกว่า ขโมยสตางค์แม่ไม่ดีนะลูก แต่สิ่งที่พ่อแม่ทำตลอดเวลาคือ ปรึกษากันว่าจะโกงหลวงอย่างไร จะเอาเปรียบลูกค้าได้อย่างไร เราบอกลูกว่าอ่านหนังสือดี ปากบอกลูกอ่านหนังสือสิลูก แต่พ่อแม่ไม่อ่านหนังสือเลย ดูละคร ดูหนังตลอด ก็เป็นไปไม่ได้ที่ลูกจะอ่านหนังสือ เราไม่อยากให้ลูกเป็นคนอารมณ์ร้อน แต่พอเกิดเหตุขัดใจ พ่อแม่แก้ปัญหาด้วยการด่าทอ ทำร้ายกัน แล้วลูกจะอารมณ์เย็นได้อย่างไร
“ไม่ว่าคุณจะพูดจะสอนอย่างไร ไม่มีความสำคัญกับเด็ก สิ่งที่คุณทำอย่างไรต่างหาก คือสิ่งที่ลูกจะทำและเป็น
“ดิฉันเชื่อว่าคนที่มีลูกคือคนที่มีบุญอย่างหนึ่ง ลูกทำให้เราดีขึ้น ถ้าเราไม่มีลูกเราจะนอนขี้เกียจ ไม่ต้องรับผิดชอบชีวิตใครมากมาย แต่เพราะลูก เราจะเห็นชัดว่า เราจะทำตัวไม่ดีไม่ได้”
สมองดี กฎ 6 จงสร้างลูกให้รักการอ่านตั้งแต่ลูกนั่งตักได้
“การบังคับให้ลูกอ่าน-เขียนได้เร็ว ยังไม่ 2 ขวบท่อง ก ข ค ได้ นั่นไม่ได้มีความหมายกับลูกเลยเพราะเขายังไม่เข้าใจ แล้วจะปัญญาเลิศอย่างไร
“หากให้ความสำคัญกับหนังสือเล่มแรกของลูก เมื่อลูกนั่งตักได้คุณอ่านนิทานภาพประกอบให้ลูกฟังทุกๆ วัน ลูกจะสนุกและมีความสุข สร้างความคุ้นเคยกับหนังสือตั้งแต่เล็ก นี่ต่างหากที่จะทำให้ลูกรักการอ่าน อ่านหนังสือเป็นเร็ว อ่านเก่งสามารถเชื่อมโยงความรู้จากการอ่านได้ สมองแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก”
อ่านเพิ่มเติม ชวนลูกอ่านหนังสือ พัฒนาสมอง ด้วยเคล็ดลับ 7 ข้อ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
กฎ 7 จงอย่าตามใจตัวเองมากเกินไป
“โดยเฉพาะช่วง 6 ขวบแรก พ่อแม่ต้องตัดใจจากความรื่นรมย์ ความสบายบ้าง เช่น ดูละคร ดูหนัง หรือปล่อยโอกาสทำอะไรที่ช่วยพัฒนาสมองลูกไป
“คุณอาจแย้งว่า พ่อแม่ไม่มีสิทธิ์สนุกเลยหรือ ต้องย้อนไปกฎข้อแรก ช่วงลูกเล็กคือเวลาทองของการสร้างสมองลูก การเลี้ยงลูกไม่ใช่จับคุณพ่อคุณแม่ไปเข้าคุกเสียเมื่อไร การใช้เวลากับเด็ก เราหยอดอะไรลงไป จะเห็นผลทันที การเห็นลูกก้าวหน้า พัฒนา ไม่ใช่ความมหัศจรรย์ ไม่เป็นความสุขยิ่งกว่าการดูหนัง ดูละครหรอกหรือ ถ้าใช่ ขอให้ช่วยกันลงทุนตรงนี้เถอะ”
บทความโดย: ผศ. ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ประธานศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มศว
ภาพ: Shutterstock
บทความน่าสนใจอื่นๆ
เยอะมากแม่! 12 ประโยชน์ของอะโวคาโด พัฒนาสมอง ป้องกันลูกพิการตั้งแต่ในท้อง