7-8 เดือน
พัฒนาการ คลานได้ เริ่มซน บางคนชอบปีนขึ้นเก้าอี้ คลานขึ้นบันได ชอบรื้อของเล่นออกจากกล่อง/ตะกร้า ของเล่น ใช้มือปัดออกเมื่อไม่ต้องการสิ่งนั้น เมื่อถูกแย่งของจะโกรธและร้องไห้ ฟันเริ่มขึ้น
ของเล่น ของเล่นชนิดเดิมที่มีเสียง เริ่มสนใจสิ่งของภายในบ้าน ชอบเล่นของเล่นชิ้นใหญ่ เช่น ไม้ขนไก่ ที่ตักผงขยะ โทรศัพท์ เลือกของเล่นด้วยตัวเอง
8-9 เดือน
พัฒนาการ คลานได้คล่องขึ้น คลานไปไหนๆก็ได้ เริ่มปีนขึ้นเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เริ่มเข้าใจความหมายของคำพูดและเปล่งเสียงได้ เช่น หม่ำๆ เลียนแบบคำสั่งง่ายๆได้ เช่น “บ๊ายบาย สาธุ”
การเล่น เล่นจ๊ะเอ๋เป็น ชอบใจจะหัวเราะเสียงดัง ชอบเล่นที่เคาะแล้วมีเสียงดัง เช่น กลอง ระนาด ขยับร่างกายตามจังหวะเพลง
9-10 เดือน
พัฒนาการ เกาะยืนได้ บางคนเกราะเดินได้ ซนมากขึ้นและไม่อยู่นิ่ง สนใจสิ่งของทุกอย่างที่มองเห็น ชอบเลียนแบบท่าทางผู้ใหญ่ เข้าใจคำว่า ไม่ หย่าทำ
การเล่น สนใจสิ่งแวดล้อมในบ้าน ชอบเล่นของใช้ในบ้าน เช่น ถ้วยชามช้อน ขวดเครื่องสำอาง ปลั๊กไฟ เล่นเพราะสำรวจ อยากรู้อยากเห็น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดและคอยระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก
10-11 เดือน
พัฒนาการ เมื่อเกาะเดินเก่งขึ้น เด็กก็จะเริ่มปล่อยมือและตั้งไข่ เปิดบานประตูเล็กได้ เปิดลิ้นชักได้ อยากทดลองทำทั้งๆที่รู้ว่าห้ามทำ บางคนเรียก พ่อ แม่ ได้
การเล่น เล่นของเล่นที่เป็นบล็อกจับเข้าจับออก ฆ้อนตอกหมุดเป็นสีๆ ดูหนังสือภาพ เปิดหนังสือภาพ เป่ากันหันลม เป่าฟองสบู่
11-12 เดือน
พัฒนาการ เริ่มก้าวเดิน ไต่ขึ้นบันไดได้เอง พูดเป็นคำได้ เช่น หมา ป้า ไป ไม่ เด็กบางคนอาจจะยังไม่พูดแต่ฟังรู้เรื่อง มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ชอบเที่ยวนอกบ้าน
การเล่น เล่นเชิงสำรวจ เล่นรถลาก เล่นสนามเด็กเล่น แกว่งชิงช้า ม้าโยก ม้าหมุน4
ความฉลาด เรียนรู้เก่ง มีความจำดี ไม่สามารถซื้อหามาให้ลูกได้ด้วยเงินทอง แต่พ่อแม่สามารถสร้างปูพื้นฐานให้ลูกได้ด้วยตัวของพ่อแม่เอง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ลูกได้เล่นอย่างเหมาะสมตามวัย บวกกับมีเพื่อนเล่นที่ดีนั่นก็คือพ่อแม่ ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กที่มีพัฒนาการสมอง พัฒนาการร่างกาย และทุกทักษะในตัวลูกเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
10 เทคนิค ช่วยให้ สมองดี สมองไบรท์
เล่นกระบะทราย พัฒนาสมองลูก ได้จริงหรือ?
6 เคล็ดลับ สร้างความสุขให้ลูกรัก สมองเติบโต
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2,3หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข โดย รศ. นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. Thaihealth
4การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. med.cmu