สังเกตหน้าตาเบบี๋ สุขใจ

Alternative Textaccount_circle
event

สุขใจ

จุดสังเกต: ยิ้มกว้างจนแก้มปริและเกิดรอยย่นตรงขอบตา อาจโบกไม้โบกมือหรือปรบมือขณะอ้อแอ้ด้วยเสียงแหลมสูง

วิธีตอบสนอง: ปล่อยให้ช่วงเวลาดีๆ ดำเนินต่อไป เพราะอารมณ์แจ่มใส เบิกบานจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับลูก และลูกจะรู้สึกดีที่เห็นว่ารอยยิ้มของเขากระตุ้นให้คุณตอบสนองเขาในเชิงบวกด้วย

ดังนั้น ตอนเล่นด้วยกัน คุณควรแสดงความรู้สึกเป็นคำพูดแทนลูกที่ยังพูดไม่เป็น เช่น “แม่เต้นแบบนี้แล้วตลกดีใช่ไหมล่ะ” และพอเขาอายุสัก 9 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่ลูกเข้าใจแล้วว่าถึงตอนนี้จะไม่เห็น แต่สิ่งที่เคยเห็นก็ไม่ได้หายไปไหน การเล่นจ๊ะเอ๋ก็จะทำให้เขาสนุก รู้สึกสุขใจอย่างเต็มที่

คุณก็ถูกจับตามองเช่นกัน!

ทารกเรียนรู้สิ่งรอบตัวโดยดูจากใบหน้าของพ่อแม่ วิธีตอบสนองของคุณจึงมีผลต่อความรู้สึกของลูก ฉะนั้นถ้าอยากส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างเต็มที่ สิ่งที่คุณสามารถทำได้ คือ

  • ถอดแว่นกันแดด: การสบตากับคุณเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัว และการสวมแว่นกันแดดสีเข้มๆ ก็เหมือนกับการสวมหน้ากาก เพราะทำให้ลูกสบตาคุณไม่ได้
  • แสดงสีหน้าว่าไม่กลัว: ก่อนที่ใครบางคน (ซึ่งอาจจะดูน่ากลัวสำหรับลูก อย่างเช่นพี่เลี้ยง) จะเดินเข้ามาในห้องให้คุณแสดงสีหน้ากระตือรือร้นที่จะได้เจอ เพราะลูกมักเลียนแบบพ่อแม่ แม้แต่ความรู้สึก หากคุณแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณมองโลกในแง่ดี ไม่กลัวสิ่งที่คุณยังไม่เห็น ลูกน้อยก็จะไม่กลัว
  • อธิบายความรู้สึกจากสีหน้า: นั่งหน้ากระจกกับลูก แสดงอารมณ์ ความรู้สึกทางสีหน้า เช่น สุข เศร้า พร้อมกับพูดไปด้วย “แม่สุขใจ” กับ “แม่เศร้าใจ” เป็นวิธีแสดงให้ลูกเห็นว่าความรู้สึกต่างๆ เป็นแบบไหนและเรียกว่าอะไร ยิ่งลูกได้เห็นของจริงมากเท่าไร เขาจะยิ่งเข้าใจความรู้สึกได้เร็วขึ้นเท่านั้น

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up