พัฒนาการทางสมองของทารก
การที่สมองจะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีการรับรู้ได้มากนั้น จะต้องมีสิ่งเร้าไปกระตุ้นสมองอยู่เสมอ ๆ สมองจะยิ่งพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง 6 ขวบแรกนั้นเป็นช่วงโอกาสทองของการพัฒนาสมองเลยทีเดียว เพราะเป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโตและต้องการ การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ถ้าเราเร่งสร้างความฉลาดกันในช่วงนี้ สมองจะรับได้ทันที และเป็นพื้นฐานที่ ฝังแน่นติดตัวต่อไปเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเลี้ยงลูกให้ฉลาดนั้นจะเริ่มกันในช่วง 6 ขวบแรกนี้ จะดีกว่าไปพัฒนากันในช่วงหลัง ซึ่งสมองจะรับรู้ได้ช้ากว่ามาก
ยิ่งไปกว่านั้น เชื่อหรือไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางกายให้ส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกทารกได้อีกด้วย มาพิสูจน์ด้วยปฏิบัติการ “ตามติด” พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยกันได้เลย
2-5 เดือน: เริ่มกระบวนการเรียนรู้
• ตอนอายุ 2-3 เดือน
ทารกเริ่มมองตามคนที่เดินเข้ามาหาและรู้จักสบตากับพ่อแม่ แปลว่าการมองเห็นพัฒนาไปมากพอที่จะทำให้ทารกพร้อมรับสิ่งกระตุ้นใหม่ๆ (แต่ก็ยังชอบมองรายละเอียดของสิ่งที่คุ้นเคย ซึ่งเพิ่งสังเกตเห็นได้ไม่นาน) และพออายุราวๆ 6 เดือน ทารกจะมองเห็นชัดขึ้นจนแยกแยะใบหน้าคุณกับใบหน้าของผู้ใหญ่ที่เคยเจอได้ไม่ยาก
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ
• ตอนอายุ 4-5 เดือน
ทารกจะมองตามสิ่งที่ร่วงหล่นจากมือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเข้าใจเรื่องตัวตนที่เป็นอิสระจากคนอื่นๆ และสิ่งรอบตัว ส่วนการเล่นซ่อนแอบหรือจ๊ะเอ๋ก็ช่วยให้ทารกได้เรียนรู้ว่าถึงจะมองไม่เห็น แต่วัตถุและคนที่เล่นด้วยไม่ได้หายไปไหน และด้วยความเข้าใจนี้ทำให้ทารกรู้จักวาดภาพในใจของสิ่งที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้า นี่จึงเป็นก้าวแรกที่ทำให้ทารกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจินตนาการได้
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ส่งเสริมให้ลูกเล่น ขวบปีแรก พัฒนาการสมองดี
อ่านต่อ “พัฒนาการทางสมองของลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่