รักษาโคลิค อย่างไร?

- ในลูกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก เช่น นมวัว
- ลดความเครียดในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิคเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง
- ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย
- เมื่อให้เด็กดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่เด็กดูดนม
- หลังป้อนนมเด็กเสร็จแล้ว ควรจับให้เด็กนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ
- ยาบางชนิดอาจช่วยได้ เช่น ยาลดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดอาการท้องอืด

โดยสรุปการรักษาโคลิคค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่ข้อสำคัญ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องทำใจ ต้องใช้เวลา และอดทนในการดูแลเด็กทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน ที่มักจะมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ที่เรียกว่า “โคลิค” นี้ค่ะ
เครดิต: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, breastfeedingthai.com, ศาสตราจารย์แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก
ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?
8 เทคนิครับมือเมื่อลูกทารกร้องไห้อย่าง “ไม่มีเหตุผล”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่