3.การสัมผัสสารพิษและการสำลัก
ในวัยแรกเกิดจนถึง 12 เดือนนั้นยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดการสัมผัสสารพิษหรือสารเคมีภายในบ้าน เนื่องจากตามพัฒนาการแล้ว ช่วง 8 – 9 เดือนจะเริ่มเคลื่อนที่ได้เก่งขึ้น ใช้มือและนิ้วได้เก่งขึ้น นั่นหมายถึง การเข้าถึงจุดเสี่ยงจุดอันตรายมีมากขึ้นนั่นเอง
การใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเด็กวัย 8 – 9 เดือนจะดีขึ้นอย่างชัดเจน สามารถหยิบชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ตกตามพื้นได้ จึงมีโอกาสที่จะหยิบชิ้นส่วนเล็กๆ เข้าปากจนเกิดการสำลักเข้าหลอดลม ชิ้นส่วนเล็กๆ ที่พบได้บ่อย เช่น กระดุม เศษพลาสติก เป็นต้น และอาหารก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสำลักได้เช่นกัน ที่พบได้บ่อยคือ ลูกชิ้น ไส้กรอก ขนมเยลลี่ เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่มักจะเริ่มทดลองอาหารใหม่ๆ ให้เด็ก ซึ่งอาหารที่กล่าวถึงข้างต้นมีโอกาสที่จะหลุดเข้าไปอุดทางเดินหายใจได้บ่อยกว่าอาหารชนิดอื่น
“เมื่อมือของเด็กเริ่มเปิดภาชนะด้วยตัวเองได้ก็จะสามารถคลานไปในที่ต่างๆ ได้ ปีนขึ้นที่สูงได้ หากเก็บสารเคมีต่างๆ ไม่มิดชิดพอ เด็กวัยนี้ก็สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ”
ในบางกรณีเด็กอาจจะได้รับสารพิษ จากเศษของสีทาบ้านที่หลุดล่อนออกมา โดยเฉพาะในบ้านที่ใช้สีผิดประเภท คือ การนำเอาสีทาภายนอกมาทาภายใน ซึ่งสีทาภายนอกนั้นมักจะมีสารปรอทปะปนอยู่ในเนื้อสี เมื่อสีดังกล่าวหมดอายุก็จะหลุดล่อนอยู่ภายในบ้าน เด็กสามารถคลานไปพบเศษชิ้นส่วนของสีและนำเข้าปาก โดยปรอทจะส่งผลต่อระดับสติปัญญาของเด็ก ทำให้ระดับความฉลาดทางสติปัญญาลดลง และยังส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงรวมถึงการทำงานของไตด้วย
การป้องกันการสำลักและสารพิษ ที่ทำได้คือ การทำความสะอาดบ้านให้เรียบร้อย เก็บเศษผงเศษขยะให้สะอาด เลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไส้กรอก ลูกชิ้น หรือเยลลี่ ไม่ใช้สีทาบ้านผิดประเภท รวมถึงการเก็บสารเคมีและสารพิษให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก อาจจะใช้ตัวล็อกชนิดพิเศษ หรือกุญแจเพื่อช่วยป้องกันอีกชั้นหนึ่ง การไม่บรรจุสารเคมีอื่นๆ ลงในขวดบรรจุ อาหารหรือน้ำเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ก็จะลดการได้รับอันตรายได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่