ระวัง ทารกท้องเสีย เพราะ ชอบอมมือ!! หมอบอก..เด็กเป็นกันเยอะ แม่โพสต์เตือน “ต้องดูแลเรื่องความสะอาดให้ดี” เพราะอาจเสี่ยงทำให้ลูกติดเชื้อ เป็นโรคลำไส้อักเสบได้
สาเหตุที่ทำให้ ทารกท้องเสีย เป็นโรคลําไส้อักเสบ
นอกจากโรคเด็กทั่วๆ ไป ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องได้เจอแล้ว “โรคเกี่ยวกับลำไส้” ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมีเด็กทารก ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ หลายคน ที่ต้องทรมานกับโรคนี้ แถมเพราะลูกน้อยยังไม่สามารถพูดหรือบอกอะไรกับเราได้ จึงต้องทนปวดท้องและอึดอัดจนร้องไห้งอแงแบบไม่รู้สาเหตุ ซึ่ง “โรคลำไส้อักเสบ” หรือ ติดเชื้อในลำไส้ ทำให้ทารกท้องเสีย อุจจาระร่วง ก็ถือเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตที่สุดของกลุ่มเด็กเล็ก
โดยจากการศึกษาพบว่าเด็กในกลุ่มวัยขวบปีแรกจะเป้นโรคอุจจาระร่วงประมาณ 5-6 ครั้งต่อปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ ทารกท้องเสีย เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย
- ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะอมมือ อมเท้า
- แม่แชร์เตือน! ลูกกินนมผสม สังเกตอึให้ดี เสี่ยงเป็นโรคลำไส้อักเสบ
- โรคอุจจาระร่วงในเด็ก ประสบการณ์ตรงที่แม่อยากแชร์
- กล้วยบด รับประทานก่อน 6 เดือน เสี่ยงติดเชื้อ
ทั้งนี้ อาการ “ท้องเสีย” ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก จะดูที่ลักษณะและความถี่ของอุจจาระ โดยใช้ลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น เป็นเนื้อเหลวความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยคำจำกัดความนี้ไม่รวมถึงเด็กเล็กที่กินนมแม่ ซึ่งมักจะถ่ายบ่อยแต่อุจจาระเป็นเนื้อดีและมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามปกติอยู่แล้ว และสำหรับอาการท้องเสียเฉียบพลันมักหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้านานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้น ไปถือเป็นภาวะอุจจาระร่วงยืดเยื้อหรือเรื้อรัง
ทารกท้องเสีย เกิดจาก?
ในเด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุไม่เกิน 1 ปี พบว่าประมาณ 70% เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดยการกินอาหารหรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการหยิบ จับของเล่นเอาเข้าปาก หรือแม้กระทั่งมือของเด็กเองซึ่งหยิบจับสิ่งของ หรือคลานเล่น และเอาเชื้อโรคเข้าปากตัวเอง เป็นต้น
ดังนั้นโรคนี้จึงเป็นปัญหาที่พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีโอกาสได้รับเชื้อโรคมากกว่า เนื่องจากยังช่วยตัวเองไม่ได้และไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน อีกส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้น โดยการสัมผัสเชื้อโรคตามธรรมชาติและสร้างภูมิต้านทานจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งต้องใช้ เวลาในการพัฒนาระบบนี้
ซึ่งในช่วงที่ลูกทารกกำลังเติบโต มีพัฒนาการการตามวัย เมื่ออายุได้ประมาณ 4-6 เดือน ลูกจะชอบดูดนิ้วอมมือ และหากลูกเริ่มมีฟันงอก หรือกินอาหารเสริมได้แล้ว ก็มักจะชอบหยิบจับเอาทุกอย่างที่ขว้างหน้าเข้าปาก ซึ่งนั่นเองอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ลูกได้รับเชื้อโรค จนทำให้ท้องเสีย … เช่นเดียวกับหนูน้อยวัย 5 เดือนกว่าคนนี้ ที่คุณแม่ได้โพสต์เตือนว่าควรดูแลเรื่องความสะอาดกับลูกน้อยให้ดี มิเช่นนั้นอาจทำให้ลูกติดเชื้อ เป็นลำไส้อักเสบได้ ⇓
อาการเมื่อ ทารกท้องเสีย
ลูกจะมีอาการถ่ายเหลวมีน้ำมาก บางเคสมีเลือดปน อาจจะมีไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจจะมีอาการไอ น้ำมูกไหลร่วมด้วย ถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำมากๆ อย่างต่อเนื่อง จะเริ่มมีอาการปากแห้ง น้ำลายน้อย เบ้าตาลึก ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ซึม และตัวเย็น
สำหรับวิธีดูแลรักษา หากคุณพ่อคุณแม่แน่ใจว่าร่างกายลูกสูญเสียน้ำ อาจจะให้ลูกดื่มเกลือแร่ หรือ ORS ทีละน้อยๆ บ่อยๆ ถ้าเด็กดื่มได้โดยไม่อาเจียนหลังผ่านไปซัก 4 ชั่วโมง ให้เริ่มลองทานอาหารอ่อนๆ อย่างโจ๊กหรือข้าวต้ม แต่ถ้าลูกยังมีอาการถ่ายอยู่ มีอาเจียนซ้ำๆ ไม่หยุด ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
วิธีป้องกัน ทารกท้องเสีย
1. การป้องกัน ทารกท้องเสีย ที่ดีที่สุด คือ การรักษาความสะอาดเพื่อกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปากลูก ทั้งนี้สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ตัวคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงเด็ก ที่ต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้ลูก
2. รวมทั้งขวดนม,จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันที และฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10-15 นาที ดังนั้นจึงควรต้องมีขวดนมจำนวนเพียงพอที่จะมีเวลาต้มทำความสะอาดได้
3. ทั้งนี้ควรชงนมในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว เพราะถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม.
- WHO เผย! ขั้นตอนและ วิธีการชงนม ล้าง ฆ่าเชื้อ ที่ถูกต้อง
- ขนาดกระเพาะทารก จะจุปริมาณน้ำนมแม่ได้เท่าไหร่?
- เก็บสต็อกนมแม่ ในตู้เย็นแบบไหน? คุณสารอาหารถึงไม่ถูกทำลาย!!
4. ในเด็กโตที่กินอาหารอื่นต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ มีภาชนะปิด ทำความสะอาด ภาชนะที่ใส่ เช่น จาน, ชาม, ช้อน และอย่าลืมล้างมือให้เด็กบ่อยๆ เพราะในวัยนี้จะชอบเอาของและมือตัวเองเข้าปากก็จะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าตัวเองด้วย
5. ในส่วนของใช้หรือของเล่นของลูกที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ ก็ควรนำไปล้างแต่บางชนิดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ก็ควรทิ้งหรือเปลี่ยนใหม่
ทั้งนี้ปัจจุบัน มีวัคซีนสำหรับป้องกัน “โรต้าไวรัส” ซึ่งเป็นเชื้อที่พบเป็นสาเหตุของท้องเสียในเด็ก ได้มากที่สุด โดยเฉลี่ยประมาณ 40% ของเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุทั้งหมดโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กเล็ก (3 เดือน-2 ปี)
โดยพบอุบัติการณ์สูงสุดในประเทศไทยในช่วงปลายปีตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศเย็น โดยอาการเริ่มต้นคือ ไข้, น้ำมูก, ไอ ตามด้วยอาเจียนและถ่ายเป็นน้ำโดยมีความรุนแรงตั้งแต่น้อยไปมาก
- รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน
- วัคซีนสำหรับเด็ก มีวัคซีนพื้นฐานอะไรบ้างที่ต้องฉีด ?
สำหรับวัคซีนโรต้าไวรัส เป็นวัคซีนชนิดกินให้ทั้งหมด 2-3 ครั้ง แล้วแต่บริษัท โดยควรเริ่มต้นให้ครั้งแรกที่อายุไม่เกิน 15 สัปดาห์และครั้งที่ 2 หรือ 3 ไม่เกิน 32 สัปดาห์ สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด ซึ่งการป้องกันโรคท้องเสียที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกได้กินนมแม่ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6 เดอืนแรก ควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวเพราะ “นมแม่ทั้งสะดวก สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” รวมทั้งได้รับภูมิต้านทานโรคต่างๆ ซึ่งมีเฉพาะในนมแม่นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างและเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกด้วยการดูดนมจากเต้าโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- หวัดลงกระเพาะ ระบาดในเด็กเล็ก! วิธีรับมือเมื่อลูกอาเจียน-ท้องเสีย
- หมอเตือน! ระวัง 2 ตัวการ ลูกท้องเสีย ท้องร่วง
- แม่แชร์ประสบการณ์เตือน! ลูกท้องเสียถ่ายเหลว ไม่ใช่ยืดตัว แต่เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด
- การดูแลเมื่อลูกท้องเสีย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.thaipediatrics.org , www.phyathai.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่