อัณฑะไม่ลงถุง ความผิดปกติที่อาจเกิดกับทารก - Amarin Baby & Kids
อัณฑะไม่ลงถุง

อัณฑะไม่ลงถุง ความผิดปกติที่อาจเกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนด

Alternative Textaccount_circle
event
อัณฑะไม่ลงถุง
อัณฑะไม่ลงถุง

ในรายที่มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะทำให้อัณฑะไม่ลงถุง โดยมักพบอยู่ที่บริเวณขาหนีบถึงประมาณร้อยละ 66-75  มีเพียงส่วนน้อยที่ยังอยู่สูงถึงในช่องท้อง โดยอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ ปัจจัยเหล่านี้นอกจากทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนตัวลงถุงของอัณฑะไม่ดี ยังเชื่อว่ามีผลทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดที่สร้างเชื้ออสุจิ โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดการแบ่งตัวผิดปกติและเป็นมะเร็งตามมาได้ง่ายขึ้น ในเด็กที่เกิดมาแล้วพบว่าอัณฑะไม่ลงถุงนั้น ในช่วงอายุประมาณ 6-12 เดือนยังมีโอกาสที่อัณฑะจะเคลื่อนตัวลงไปอยู่ในถุงได้เอง แต่ถ้าอายุมากไปกว่านี้โอกาสที่อัณฑะจะไม่สามารถลงมาได้เองนั้นน้อยมากหรือไม่สามารถลงไปได้เองแล้ว และยังเริ่มตรวจพบการเสื่อมของเซลล์ดังที่ได้กล่าวถึง

แพทย์หญิงศนิ มลกุล ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารศัลยศาสตร์ ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สาเหตุที่อัณฑะควรจะต้องลงมาอยู่ในถุงนั้น เป็นเพราะว่าถุงอัณฑะจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย 2-4 องศา เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและทำงานของของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ นอกจากนี้ถุงอัณฑะยังมีกล้ามเนื้อบาง ๆ ทำหน้าที่ดึงรั้งลูกอัณฑะขึ้นไปชิดตัวได้ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป และเมื่อลูกอัณฑะลงมาอยู่ในถุงเรียบร้อยแล้ว ก็จะเกิดยึดกับตัวถุงอัณฑะ ป้องกันการเกิดการบิดหมุนได้

การสังเกตภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง

แพทย์หรือแม้แต่ผู้ปกครองเองสามารถสังเกตภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนี้ได้จากการที่คลำแล้วไม่พบลูกอัณฑะอยู่ในบริเวณถุงอัณฑะเลย แต่หากพบว่าลูกอัณฑะอยู่เหนือบริเวณถุงอัณฑะขึ้นไป หรือใกล้บริเวณหน้าขาก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะการที่ลูกอัณฑะอยู่ผิดที่ในลักษณะนี้จะสามารถย้ายกลับมาอยู่ในถุงอัณฑะตามปกติได้เอง

ภาวะแทรกซ้อนที่พบจากอัณฑะไม่ลงถุงในเด็ก

ในกรณีที่อัณฑะไม่ลงถุง อัณฑะก็จะต้องอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสูงเกินไปเป็นเวลานาน อาจจะทำให้การสร้างอสุจิผิดปกติ ไปจนเด็กมีบุตรยากหรือเป็นหมันในภายหลังได้ และเมื่อเด็กโตจนอายุ 30-40 ปียังมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งของอัณฑะมากกว่าคนปกติถึง 5-60 เท่า นอกจากนี้อัณฑะที่ค้างอยู่บริเวณขาหนีบ ไม่มีการยึดตรึงให้อยู่กับที่ อาจเกิดการบิดหมุนของอัณฑะหรือเกิดการกระทบกระแทกจากอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ และยังพบว่าเกิดไส้เลื่อนขาหนีบมากกว่าเด็กปกติด้วย นอกจากเหตุผลทางการแพทย์ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว การมีอัณฑะเพียงข้างเดียว หรือไม่มีอัณฑะในถุงเลย ยังอาจจะเป็นปมด้อยของเด็ก ที่อาจทำให้ถูกล้อเลียนได้อีกด้วย แต่หากมีการวินิจฉัยภาวะนี้ได้เร็ว และได้รับการรักษาในระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้

การผ่าตัดไข่ไม่ลงถุง

การรักษาภาวะอัณฑะไม่ลงถุง

ในกรณีที่คลำแล้วแพทย์ไม่สามารถระบุตำแหน่งของลูกอัณฑะได้เลย อาจเป็นไปได้ว่าลูกอัณฑะนั้นมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติจึงยังคงฝังตัวอยู่ในท้องของทารก บางครั้งแพทย์จะค่อย ๆ ลองดันบริเวณท้องน้อยของทารกเพื่อให้ลูกอัณฑะลงมาอยู่ในถุงห่อหุ้มตามที่ควรจะเป็น หากไม่สำเร็จส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้รอดูไปสักระยะก่อน เพราะประมาณร้อยละ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ของภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนี้จะหายไปเองได้ภายใน 4 – 6 เดือน แต่หากความผิดปกตินี้ยังไม่หายไปเอ งเมื่อเด็กมีอายุครบ 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาหาหมอเพื่อทำการรักษา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยการผ่าตัดและการรักษาทางยา

การรักษาด้วยการผ่าตัด ขึ้นกับตำแหน่งของอัณฑะ หากคลำได้อัณฑะ การผ่าตัดมาตรฐานที่นิยมทำกันคือการผ่าตัดเปิดเข้าทางบริเวณขาหนีบ แต่ในกรณีที่อัณฑะคลำไม่ได้เลย มักจำเป็นต้องผ่าตัดด้วยการเปิดสำรวจทางหน้าท้องหรือการใช้กล้องส่อง และผ่าตัดผ่านทางกล้องที่หน้าท้อง ซึ่งความผิดปกติในการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดจะเริ่มปรากฎให้เห็นที่อายุระหว่าง 4-12 เดือน และมีการสูญเสียเซลล์สืบพันธ์ต้นกำเนิดอย่างต่อเนื่องหากอัณฑะไม่ลงถุงหลัง 6 เดือนไปแล้ว จึงควรทำการผ่าตัดที่อายุประมาณ 6 เดือนหรือหลังจากนั้นไม่นาน แต่ไม่ควรเกินอายุ 1-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมของวิสัญญีแพทย์และศัลยแพทย์ การผ่าตัดนั้นจะช่วยย้ายลูกอัณฑะจากท้องของเด็กไปอยู่ในถุงอัณฑะและยึดไว้เพื่อไม่ให้ย้ายกลับขึ้นไปที่บริเวณท้องได้อีก และการทำผ่าตัดในช่วงที่ทารกอายุน้อยจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ การเกิดปัญหาอัณฑะฝ่อหลังการผ่าตัด หรือการที่อัณฑะกลับขึ้นไปที่เดิมหลังจากผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ค่อนข้างน้อย และการผ่าตัดก็ช่วยให้อัณฑะอยู่ในตำแหน่งซึ่งสามารถตรวจได้ง่ายหากมีการเปลี่ยนแปลง

การรักษาทางยา ทำโดยการให้ฮอร์โมนส์ฉีด 4-6 ครั้ง ได้ผลสำเร็จประมาณร้อยละ 20-60 โดยได้ผลดีในรายที่อัณฑะไม่ลงถุงทั้ง 2 ข้างมากกว่า แต่ผลข้างเคียงของการรักษาคือมีขนาดอวัยวะเพศใหญ่เกินวัย ซึ่งก็มักจะลดขนาดลงจนใกล้เคียงกับปกติได้หลังจากหยุดยาไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในปัจจุบันไม่สนับสนุนการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนฉีดเนื่องจากไม่ค่อยได้ผลและอาจมีภาวะแทรกซ้อน

จะเห็นได้ผลเสียในภาวะอัณฑะไม่ลงถุงในเด็กนั้นค่อนข้างเป็นอันตรายต่อทารก หากสังเกตว่าลูกน้อยมีภาวะดังกล่าวคุณพ่อคุณแม่ควรนำลูกไปรับการตรวจรักษากับกุมารแพทย์หรือกุมารศัลยแพทย์ และไม่ควรรอช้าจนเกินเวลาที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยและร่างกายที่จะเจริญเติบโตของลูกในอนาคตนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.honestdocs.cowww.naewna.comwww.thaipedendo.org

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

ดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างไรให้ปลอดภัย

ทำไมทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องเข้าตู้อบ และส่องไฟ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up