การมองเห็นของทารก คือพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็ก ทารกปกติสามารถมองเห็นได้ตั้งเเต่เกิด เเละ ยิ่งได้เห็นมากขึ้นเท่าไหร่ ก็เท่ากับเปิดโลกให้ได้เรียนรู้มากเท่านั้น ระยะเวลาในการมองเห็นของลูกน้อยจึงควรเป็นไปตามระยะในเเต่ละเดือน โดยพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูก จะเริ่มตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึง 1 ขวบ จะเป็นอย่างไรนั้นตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
การมองเห็นของทารก พัฒนาอย่างไร ?
เส้นทางพัฒนาการ การมองเห็นของทารก
1 เดือน
ในช่วงเดือนเเรกของลูก ตาทั้งคู่ของลูกนั้นอาจยังทำงานได้ไม่สามัคคีกันสักเท่าไหร่ เนื่องจากการมองเห็นของเด็กเเรกเกิดนั้น มีลักษณะเบลอ ๆ ไม่ชัด เห็นได้ในระยะห่าง 8 – 15 นิ้ว สิ่งที่ดึงดูดสายตาของเด็กน้อยได้ดี คือใบหน้าของพ่อเเม่ เพราะอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า อย่าง ปาก จมูก ดวงตา ขยับไปมา ทำให้ลูกเริ่มสังเกต
2 เดือน – 4 เดือน
เเท้ที่จริงเจ้าตัวเล็กสามารถมองเห็นสีได้ตั้งเเต่เกิด เพียงเเต่อาจจะยังไม่สามารถเเยกเเยะโทนสีที่ใกล้เคียงกันได้ เมื่อเข้าสู่วัย 2 เดือน – 4 เดือน ลูกจะเริ่มเเยกเเยะความเเตกต่างของสี โดยสีที่สามารถเเบ่งเเยกได้อย่างชัดเจนคือ สีเเดง สีน้ำเงิน เเละสีเหลือง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเเบบใด จะสามารถดึงดูดสายตาของลูกได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในวัยนี้ ควรหาของเล่น หรือ ภาพถ่ายมาให้ลูก ได้ฝึกการมอง
4 เดือน – 5 เดือน
ในวัยนี้เจ้าตัวน้อยพัฒนาความสามารถในการมองเห็นได้ละเอียดเเละเเยกเเยะสีมากขึ้น นอกจากนี้ยังควบคุมการใช้เเขนได้ดี ทำให้เวลาที่เเม่อุ้มลูกน้อย มือเล็ก ๆ ของลูก จะพยายามคว้าจับตุ้มหู ที่เเม่ใส่ หรือ คว้าจับผมของคุณเเม่ เป็นต้น
5 เดือน – 8 เดือน
ลูกวัยนี้เริ่มมองเห็นสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ทั้งยังสามารถเคลื่อนสายตามองตามได้ ความจำดีขึ้น ลูกเริ่มจดจำสิ่งของที่เคยเห็นได้ ดังนั้นลูกในวัยนี้จึงชอบเล่นเกมซ่อนหาสิ่งของ โดยทั่วไป ลูกในวัย 5 เดือนสามารถเเยกเเยะสีได้เก่ง สีที่คล้ายกันลูกก็สามารถมองเห็นถึงความต่าง เเละ รับรู้ว่าสิ่งที่จับนั้นมีความเเตกต่างกัน
8 เดือน – 12 เดือน
ในระยะนี้ความสามารถในการมองเห็นของลูกมีความเทียบเท่าผู้ใหญ่ การจำผู้คน หรือสิ่งของต่าง ๆ ก็เริ่มทำได้ดีมากขึ้น สามารถเเยกเเยะสีสันต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งหลังจากนี้ไม่นาน พัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกจะสมบูรณ์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
วิธีการกระตุ้นพัฒนาการ การมองเห็นของทารก
พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก ส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูก การเสริมให้ลูกได้ฝึกทักษะทางสายตาและส่งผลดีต่อทักษะในทุกด้าน ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ พัฒนาการด้านสายตาของลูกตั้งแต่แรกเกิดนี้ จะส่งผลต่อการเรียนรู้ และระดับสติปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต คุณพ่อคุณจึงสามารถช่วยเสริมพัฒนาการดังกล่าวได้ผ่านการกระตุ้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ
1. เเสดงท่าทางใบหน้ากับลูก
การเล่นกับลูกน้อยโดยการจ้องตา เคลื่อนไหว เคลื่อนไหว ขยับอวัยวะบนหน้า หรือส่งเสียง ชวนลูกคุย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ฝึกให้ลูกได้มีการโฟกัสภาพตรงหน้า
2. ของเล่นกรุ๊งกริ๊งสีสันสดใส
เขย่าให้มีเสียงเคลื่อนไหวให้มองตาม ลูกจะตื่นตามองหาที่มาของเสียงเป็นการฝึกทักษะการสังเกต
3. การเเขวนโมบาย รูปทรงต่าง ๆ
การติดโมบาย จะช่วยให้ลูกฝึกการปรับโฟกัส ควรติดโมบายให้ห่างจากสายตาลูก ประมาณ 8 – 12 นิ้ว ช่วยให้ลูกเเหนมองวัตถุที่เคลื่อนไหว มีกาจดจ่อ
4. หนังสือภาพที่มีสีสันสดใส
การใช้น้ำเสียงโทนต่ำเเละสูงสลับไปมาระหว่างเล่าเรื่อง พร้อมกับหนังสือภาพที่มีสีสดใส จะช่วยเพิ่มพัฒนาการของลูกทั้งเรื่องของการได้ยิน เเละเรื่องของความจำ โดยเฉพาะภาพที่มีตัวอักษรใหญ่ ๆ จะช่วยกระตุ้นการใช้สายตาในการมองขอลูกได้อย่างดี
5. กระจกเงา
การอุ้มลูกเเละเรียกชื่อของลูกหน้ากระจกเงาซ้ำ ๆ จะเป็นการช่วยกระตุ้นการมืองเห็นไปพร้อมกับพัฒนากาของสมองในกาจดจำชื่อของตนเอง
6. เล่นจ๊ะเอ๋
การเล่นซ่อนแอบจะช่วยทำให้ลูกน้อยอารม์ดี ช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างคุณพ่อคุณเเม่เเละลูก นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางอารมณ์ (EQ) เเละช่วยเบนความสนใจเมื่อเด็กงอเเง
7. ลูกบอลสีสันสดใส
ลูกบอลสีสดใสขนาดที่ลูกสามารถหยิบจับได้ หรือถ้ามีเสียงกรุ๊งกริ๊งด้วยยิ่งดี เพราะจะช่วยทำให้ลูกสนใจ เเละ อยากเล่น เพิ่มความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กเละมัดใหญ่ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
นอกจากการพัฒนาการของลูกน้อย อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่เเพ้กัน คือการระวังปัญหาด้านสายตาของทารก ซึ่งมีด้วยกันดังนี้ค่ะ
ปัญหาสายตาที่พบบ่อยที่สุดในทารก
เยื่อบุตาอักเสบ
ลักษณะอาการคือตาขาวมีสีเเดงหรือชมพู เปลือกตาบวม น้ำตาไหล ตาเเฉะมีขี้ตาคล้ายหนองสีเหลือง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน การรักษาเยื่อบุตาอักเสบของทารก ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเเพทย์จะมีการสั่งยาสำหรับรักษาอาการโดยตรง ในกรณีที่มีขี่้ตาออกเยอะให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดจากหัวตาไปหางตา หลังจากเช็ดเเล้วให้นำทิ้งทันทีไม่ควรเช็ดซ้ำ
ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)
มักพบในเด็กที่บริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้างจึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกสูงขึ้นภาวะตาเหล่นี้จะหายไปได้เองค่ะ
เลซี่อาย (Lazy Eye) หรือ โรคตาขี้เกียจ
เป็นภาวะที่ตาข้างหนึ่งมีโฟกัสมากกว่าตาอีกข้าง ส่งผลให้ตาข้างนั้นๆมองเห็นไม่ชัด และโรคตาขี้เกียจสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการสวมแว่นตาเพื่อกระตุ้นการมองเห็นที่ดีขึ้นค่ะ ในบางรายอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการมองเห็นของทารกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่เหมาะสมที่ดีต่อระบบสายตา และสุขภาพร่างกายของลูก อย่างวิตามินเอ ทอรีน ลูทีน และกรดไขมัน DHA รวมทั้ง PDX และGOS ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและทำให้ลูกน้อยมีระบบขับถ่ายที่ปกติ มีทางเดินอาหารที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างพัฒนาการการมองเห็นของลูกน้อย
ที่มา : thaichildcare , โรงพยาบาลวิชัยุทธ, หนังสือเรื่องคู่มือพัฒนาสมองลูก, businessinside
อ่านต่อ :
รวมสุดยอด นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก นมดีสำหรับเด็กเจ็นฯ นี้ “ดูแลสายตา บำรุงสมอง” ลูกกินได้ทุกวัน
เผยสูตรดี “ซุปมะเขือเทศ” เมนูบำรุงสายตา เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!