โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์ - Amarin Baby & Kids
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์

Alternative Textaccount_circle
event
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง ของลูก พ่อแม่รีบเข้ามาเช็กด่วน ลูกมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่นะ อย่าปล่อยให้ลูกตกเกณฑ์

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์

น้ำหนัก และส่วนสูงของลูก เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความใส่ใจ และมีความกังวลไม่น้อย สำหรับเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต น้ำหนัก และส่วนสูงจะเป็นตัวบ่งชี้การเจริญเติบโต และพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กแต่ละช่วงวัยได้ดี ทำให้เราสามารถประเมินสุขภาพเบื้องต้น และบอกถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์น้ำหนักเด็กและส่วนสูงเป็นเพียงการประมาณค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตามกำหนด จะเป็นการชี้วัดได้ละเอียดมากกว่า เพื่อเป็นการดูแลให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีสมวัย

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อน้ำหนัก และส่วนสูง ของลูก

  1. พันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการกำหนดน้ำหนักเด็ก ส่วนสูง และพัฒนาการทางร่างกาย แต่ก็อาจมีปัจจัยที่อาจส่งผลต่อน้ำหนักเด็กได้เช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น อาจมีดังนี้
    • การตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วเด็กที่คลอดตามกำหนดจะมีการพัฒนาทางร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ เมื่อคลอดออกมาจึงอาจทำให้เด็กมีน้ำหนักที่สมส่วนและสุขภาพดี ในทางกลับกันเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะไม่ได้รับการพัฒนาทางร่างกายอย่างเหมาะสม โดยอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพของคุณแม่ หรืออาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเมื่อยังเป็นทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อยกว่าปกติและอาจมีสุขภาพที่อ่อนแอ จึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษจนกว่าร่างกายจะแข็งแรงขึ้น
    • สุขภาพ และการใช้ชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยาเสพติด รับประทานอาหารที่ไม่ช่วยบำรุงครรภ์ หรือรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ไม่ดี ก็อาจมีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักเด็กน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานและอาจมีขนาดตัวเล็ก นอกจากนี้ คุณแม่ที่มีปัญหาสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็อาจมีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักเด็กมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานได้เช่นกัน

      การเจริญเติบโตสมวัยของลูก
      การเจริญเติบโตสมวัยของลูก
  2. ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโต และน้ำหนักเด็ก
  3. เพศ เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน ซึ่งโดยปกติเด็กแรกเกิดเพศหญิงมักมีน้ำหนักน้อยกว่าเด็กแรกเกิดเพศชาย
  4. การให้เด็กกินนมแม่หรือนมผง ในช่วงปีแรกน้ำหนักเด็กที่กินนมแม่จะน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง เนื่องจากสารอาหารและส่วนประกอบในนมที่แตกต่างกัน และเมื่อผ่านไปจนอายุประมาณ 2 ขวบ เด็กจะเริ่มเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงกัน
  5. ฮอร์โมน ความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน เช่น หากเด็กมีระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโตต่ำ ระดับไทรอยด์ต่ำ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ช้าลง ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักเด็กน้อยตามไปด้วย
  6. การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ เนื่องจากฤทธิ์ของยาอาจยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก
  7. ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่ส่งผลต่อการกินหรือดูดซึมสารอาหาร เช่น มะเร็ง โรคไต โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคซิลิแอค (Celiac Disease) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดเมือกหนาและเหนียวในระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ปัญหาทางเดินอาหาร อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและน้ำหนักเด็กได้
  8. การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ อาจส่งผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอย่างมาก เนื่องจากในระหว่างนอนหลับร่างกายจะเริ่มกระบวนการสร้างและซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาน้ำหนักที่สมส่วนตามวัย

โปรแกรมวิเคราะห์ เกณฑ์น้ำหนัก ส่วนสูง !!

ปัจจุบันได้มี โปรแกรมวิเคราะห์เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อช่วยคำนวณภาวะโภชนาการของเด็ก 0-19 ปี เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวลงไปตามช่อง ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด วันที่ทำการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง และลงน้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เซนติเมตร) ของลูก จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการคำนวณให้ออกมาว่าเกณฑ์ของน้ำหนัก ส่วนสูงของลูกเราอยู่ในขั้นไหน โดย โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง ที่นำมาเสนอนี้ เป็นของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ใช้คำนวณ ซึ่งสะดวก และรวดเร็ว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อีกด้วย

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง จาก mahidol
โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง จาก mahidol

ตัวอย่างการแสดงผลการคำนวณจาก โปรแกรมวิเคราะห์เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

ตัวอย่างการแสดงผลจาก โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง
ตัวอย่างการแสดงผลจาก โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง

จากตัวอย่างจะแสดงผลจากการที่เราให้ข้อมูลกับโปรแกรมว่า

  • น้ำหนักตามอายุ  : น้ำหนักค่อนข้างมาก (47 กิโลกรัม ต่ออายุ 10 ปี 5 เดือน)
  • ส่วนสูงตามอายุ : ส่วนสูงตามเกณฑ์ (143 เซนติเมตร ต่ออายุ 10 ปี 5 เดือน)
  • น้ำหนักตามส่วนสูง : ท้วม

โปรแกรมจะทำการเกณฑ์น้ำหนัก ส่วนสูงเทียบกับอายุของเด็ก แล้วแสดงอ่านผลออกมาให้เสร็จสรรพ แบบนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกต่อการอ่านค่า และจะได้ทราบผลของลูกว่าอยู่ในเกณฑ์ใด และต้องทำอย่างไรต่อไป

 

อ่านต่อ >> วิธีดูแล และสร้างนิสัยการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามโภชนาการ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up