30 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่มักจะใส่ใจเสมอ เพราะอยากให้ลูกของเราเก่ง ทันคนอื่น และพึ่งพาตัวเองได้เมื่อเขาโตขึ้น ลองนำไปใช้ในการพัฒนาลูก วิธีต่างๆ เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลอง และสรุปผลมาแล้วจากนักวิชาการว่าใช้ได้ผลดีมาแล้วทั่วโลก
1. ฉลาดเพราะนมแม่
ให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่า เด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ การให้นมลูกยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย
♠ Mus read : ให้นมแม่ไม่ถึง 6 เดือน กลัวลูกไม่ฉลาด
2. ตามองตา
เมื่อลูกลืมตาตื่นขึ้น ให้เรามองหน้าสบสายตาหนูน้อยสักครู่ หนูน้อยแรกเกิดจดจำใบหน้าของคนได้เป็นสิ่งแรกเสมอ และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจำ ซึ่งสมองจะบันทึกความทรงจำเพิ่มขึ้น
3. พูดต่อสิลูก
เวลาพูดกับลูก เว้นช่องว่างในช่วงคำง่ายๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น พยางค์สุดท้ายของคำ หรือคำสุดท้ายของประโยค ในช่วงแรกๆ ลูกอาจจะเงียบและทำหน้างง ลูกจะจับจังหวะ จับคำพูดบางคำได้
♠ Mus read : วิธีการเลี้ยงลูกอย่างชาญฉลาด ของ ‘เจ้าชายวิลเลียม’ ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (อังกฤษ)
4. ทำตลกใส่ลูก
แม้กระทั่งเด็กน้อยอายุเพียงแค่ 2 วัน ก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้ ไม่เชื่อลองแลบลิ้นหรือทำหน้าตาตลกๆ ใส่ ลูกคุณจะทำตามแน่ๆ
5. กระจกเงาวิเศษ
ทารกน้อยเกือบทุกคนชอบส่องกระจก เขาจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจกโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้ง
6. จั๊กจี้ จั๊กจี้
การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน การเล่นปูไต่ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์ด้วยว่า ถ้าพ่อแม่เล่นอย่างนี้แสดงว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนเป็นต้น
7. สองภาพที่แตกต่าง
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน สร้างความจำพื้นฐานในการจำการอ่าน
8. ชมวิวด้วยกัน
พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น โอ้โหต้นไม้ต้นนี้มีนกเกาะอยู่เต็มเลย ดูสิลูกบนนั้นมีนกด้วย การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ให้กับลูก
9. เสียงประหลาด
ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด คุ๊กคูๆ หรือทำเสียงสูงๆ เลียนแบบเสียงเวลาที่เด็กๆ พูด ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่างๆ จากพ่อแม่
10. ร้องเพลงแสนหรรษา
สร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวระหว่างเราและลูกน้อยขึ้นมา เช่น เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก เป็นกลอน นักวิจัยค้นพบว่าจังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิศาสตร์
อ่านต่อ >> “วิธีแสนง่ายเลี้ยงลูกให้ฉลาด” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่