การรักษาโรคมะเร็งจอตา
ทางเลือกวิธีรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาดและการกระจายของโรค การเป็นโรคในตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และสภาพร่างกายของเด็ก
1. การผ่าตัดนำลูกตาออก
ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถรักษาสภาพการมองเห็นได้แล้ว การรักษาคือ การผ่าตัดนำลูกตาออก ถือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ยาก และแพทย์สามารถใส่ลูกตาปลอมให้เด็กได้ภายใน 3-6 สัปดาห์หลังผ่าตัด
การรักษาโดยวิธีนี้จะทรมานจิตใจทั้งผู้ปกครองมากจนบางครั้งผู้ปกครองบางคนปฏิเสธการรักษา และเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือนำเด็กกลับไปอยู่บ้าน และกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปมาก จนอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น ถ้ามะเร็งเป็นมากจนมีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดเอาลูกตาออก ก็ควรจะทำเพื่อที่จะรักษาชีวิตของเด็กเอาไว้ ส่วนเรื่องที่ไม่มีดวงตานั้น แพทย์สามารถใส่ตาปลอมที่เป็นพลาสติกแทนได้ ทำให้เด็กไม่มีปัญหาเรื่องความสวยงาม ที่สำคัญอย่าพาเด็กไปอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเด็กจะเป็นมากจนเสียชีวิตได้ แทนที่จะเสียดวงตาเท่านั้น
2. รังสีรักษา
โดยทั่วไปถือว่าโรคมะเร็งจอตาในเด็ก เป็นมะเร็งที่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการฉายรังสี อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนของการฉายรังสี คืออาจทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง ก่อให้เกิดเป็นต้อกระจกในภายหลังได้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอตาได้เช่นกัน นอกจากนี้ การฉายรังสีจะมีผลต่อการเจริญของเนื้อเยื่อกระดูกที่อยู่ใกล้ๆ ลูกตา อาจทำให้เกิดมะเร็งกระดูกได้
3. เคมีบำบัด
ในปัจจุบันการรักษาโดยวิธีนี้ ช่วยให้หลีกเลี่ยงการฉายรังสีหรือการผ่าตัดนำลูกตาออกได้ในผู้ป่วยบางราย ยาเคมีบำบัดที่ใช้มีหลายชนิด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ทำให้อาจเกิดผลข้างเคียงได้มากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
4. การวางแร่
เป็นวิธีที่ให้รังสีรักษาเฉพาะที่บริเวณก้อนมะเร็ง ซึ่งมีขนาดปานกลาง ข้อดีของวิธีนี้คือผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อภาวะผิดปกติของกระดูกเบ้าตา ภาวะแทรกซ้อนของการวางแร่ อาจเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในจอตา
5. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
เป็นการรักษาโดยใช้ลำแสงเลเซอร์ เพื่อทำลายก้อนมะเร็งขนาดเล็ก ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยเลเซอร์ อาจเกิดจอตาฉีกขาด จอตาลอกหลุด
6. การจี้ด้วยความเย็น
เป็นการรักษาโดยใช้ความเย็นทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีการจี้ความเย็นใช้ได้กับก้อนมะเร็งขนาดเล็ก ภาวะแทรกซ้อนของการจี้ด้วยความเย็น อาจเกิดจอตาฉีกขาด จอตาลอกหลุด ม่านตาอักเสบ
จะเห็นได้ว่า การรักษามีหลายวิธีที่จะสามารถรักษาดวงตาของลูกไว้ได้ หากสังเกตพบความปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และทำการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะสายเกินไปแบบหนูน้อยเทเลอร์ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
“แสงแฟลช” ทำลายดวงตาเด็กจริงหรือ?
7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับดวงตาของเด็กวัยเรียน ที่เกิดจากหน้าจอ
เครดิต: haamor.com, aroka108.com, manager.co.th, si.mahidol.ac.th