โรค เท้าแป เกิดจากอะไร?
โรคเท้าแป เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกของฝ่าเท้าและขาส่วนล่าง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยโรคเท้าแปแต่กำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
- เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า
โรคเท้าแป มีอาการอย่างไร?
ในเด็กแรกเกิด จะสังเกตอาการได้ยาก เพราะเท้าของเด็กเล็กส่วนใหญ่จะยังมองไม่เห็นอุ้งเท้าที่ชัดเจนจนกว่าจะอายุ 5 ขวบ ทำให้การรักษามักจะเป็นการรักษาในเด็กที่โตแล้ว อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางคนอาจรู้สึกเจ็บเท้า โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าหรืออุ้งเท้า อาการเจ็บนั้นจะยิ่งแย่ลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเกิดอาการบวมที่ข้อเท้าด้านในร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่เป็นโรคเท้าแป ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์
- รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้ว
- รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
- ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
- เจ็บหลังและขา
- รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
- เท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง
อ่านต่อ “วิธีการรักษา เท้าปุก เท้าแป และรักษาแล้วจะเป็นปกติหรือไม่”