"ติดเชื้อในกระแสเลือด" เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด - amarinbabyandkids
แม่ล้างมือไม่สะอาด

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ล้างมือไม่สะอาด
แม่ล้างมือไม่สะอาด
การติดเชื้อในกระแสเลือด ทารก
การติดเชื้อในกระแสเลือดของทารก

การ ติดเชื้อในกระแสเลือด ของทารก

ระบบภูมิคุ้มกันของทารกและเด็กเล็กยังมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก โอกาสหายจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้เองมีน้อยมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้การติดเชื้อแย่ลง หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามอายุของทารกคือ

1. กลุ่มทารกที่อายุน้อยกว่า 7 วัน

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อระหว่างคลอด ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่  การคลอดก่อนกำหนด หรือกรณีอย่างเช่น คุณแม่มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเดินทางผ่านถุงน้ำคร่ำที่แตกเข้าไปถึงตัวทารกในครรภ์ได้ หรือในกรณีคุณแม่มีไข้หรือมีการติดเชื้ออื่นๆ ซึ่งเชื้อนั้นสามารถส่งผ่านต่อไปถึงทารกได้

2. กลุ่มทารกอายุระหว่าง 7 วันถึง 3 เดือน

นอกจากการติดเชื้อระหว่างคลอดแล้วอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ ด้วยค่ะ เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือด หรือการทำหัตถการกับทารก หรือมีการติดเชื้อเฉพาะที่และไม่สามารถกำจัดเชื้อเหล่านั้นออกไปได้หมด ทำให้ลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ทารกในกลุ่มนี้อาจมีอาการป่วยอย่างอื่นมาก่อนแล้ว เช่น มีแผลฝีหนองที่บริเวณใดๆ หรือเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

เมื่อมีการติดเชื้อหรือสงสัยว่าอาจจะติดเชื้อ มีดังนี้

1. ปัจจัยเสี่ยง เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ มีโอกาสติดเชื้อแบบซ่อนเร้น คือติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดได้สูงกว่าเด็กโต หากมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น มีโรคประจำตัว เป็นเบาหวาน หรือเด็กที่ติดเชื้อ HIV ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

2. แหล่งที่มาของเชื้อแบคทีเรีย มาได้จากหลายทาง เช่น เด็กบางคนมีภาวะปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นสาเหตุให้มีไข้ และเชื้อก็เข้าสู่กระแสเลือดตามมา

3. สัญญาณชี้โรค คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตสัญญาณบ่งชี้ว่าลูกรักกำลังมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ดังต่อไปนี้นะคะ

  • มีไข้ขึ้นสูง เกิน 39 องศา หากลูกอายุน้อยกว่า 1 ขวบ แล้วมีไข้ขึ้นสูง โดยไม่พบแหล่งที่มีของอาการชัดเจน เช่น ไม่พบว่ามีอาการหอบเหนื่อยชัดเจน หรือมีปัสสาวะอักเสบชัดเจน มีไข้สูงอย่างเดียว แต่ลูกมีอาการซึม อ่อนเพลียร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ต้องพามาหาคุณหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียดเพิ่มขึ้น
  • มีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้นสูง ตัวเย็น มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว หายใจหอบหืด หรือมีอาการตามระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น มีปอดอักเสบ ปัสสาวะกระปริบกระปรอย แสบขัด หรือปัสสาวะเปลี่ยนสี เป็นต้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ต้องรีบมาหาคุณหมอโดยเร็วค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ป้องกันลูกทารกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

1. ให้นมแม่ ซึ่งช่วยป้องกันลูกน้อยจากการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดีที่สุดในช่วง 6 เดือนแรก เพราะถ้าคุณแม่ให้นมแม่ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน ลูกก็จะมีภูมิคุ้มกันเรื่องการติดเชื้อในลำไส้ได้

2. ฉีดวัคซีนตามกำหนดที่คุณหมอนัด ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ รวมทั้งวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ก็ช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียบางชนิดร่วมด้วยได้

3. การดูแลสภาพแวดล้อม และดูแลอาหารให้สะอาด ให้ถูกสุขอนามัยก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ไข่ก็ควรเป็นไข่ที่ต้มสุก ภาชนะที่ใช้จะต้องผ่านการลวกนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ รวมถึงของเล่นหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านจะต้องทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคค่ะ

รักษาโรคติดเชื้ออย่างไรดี?

สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม (IPD) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


เครดิต: Herkid.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up