- ผิวหนังบริเวณหูอักเสบจากการติดเชื้อ
หรือเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้หรือแพ้สารสัมผัส แก้ไขโดยการใช้ยาทาและหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้แพ้
น้ำเข้าหูทารกบ่อยๆ มีอันตรายไหม?
ถ้าลูกไม่ได้มีปัญหาหูชั้นกลางหรือหูชั้นนอกอักเสบ น้ำที่เข้าหูไม่ได้ทำอันตรายต่อหูลูก เพียงแค่เอียงให้หูข้างที่น้ำเข้าต่ำลง น้ำก็จะไหลออกมาได้เอง ไม่ควรใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาด เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเลือดออกหรือเยื่อแก้วหูทะลุ
หากหูมีปัญหาอักเสบอยู่แล้วและมีน้ำเข้าหู อาจทำให้ปวดหูมากขึ้น หรือน้ำอาจพาเชื้อโรคเข้าไปสัมผัสแผล ทำให้อักเสบมากขึ้น จึงควรระวังไม่ให้น้ำเข้าหูจะดีกว่าค่ะ
หูชั้นนอกอักเสบ หรือที่เรียกว่า swimmers ear เกิดจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ตามปกติท่อในหูชั้นนอกจะมีกรดซึ่งช่วยป้องกันเชื้อโรค แต่หากหูสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน น้ำก็อาจจะชะเอากรดเหล่านี้ออกไป และน้ำที่ค้างอยู่ในหูก็ทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีจนเกิดการอักเสบและเจ็บในหู ดังนั้นหลังขึ้นจากสระ ควรเอียงศีรษะให้น้ำไหลออกจากหู เช็ดใบหูและช่องหูด้านนอกด้วยสำลีหรือผ้าสะอาดเบาๆ ทุกครั้ง
หูอักเสบ คืออะไร?
วิธีสังเกตว่าลูกของคุณมีอาการหูชั้นนอกอักเสบหรือไม่ ให้ลองจับใบหูส่วนล่างดึงขึ้นเบาๆ ถ้าเขาเจ็บมากขึ้น ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการหูชั้นนอกอักเสบ ถ้าหยุดการสัมผัสน้ำสักระยะและรักษาความสะอาดภายในช่องหู อาการอาจจะดีขึ้นได้เอง แต่ถ้าผ่านไป 1 สัปดาห์แล้วอาการเจ็บไม่ทุเลา ควรพาไปพบแพทย์
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง :
ปั่นหูลูก เรื่องอันตรายที่พ่อแม่ต้องระวัง!
https://www.amarinbabyandkids.com/uncategorized/clean-ears/
บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด