ลูกฟันผุ เรื่องไม่เล็ก โทษเยอะเกินคาดคิด! - Amarin Baby & Kids
ลูกฟันผุ

ลูกฟันผุ เรื่องไม่เล็ก โทษเยอะเกินคาดคิด!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกฟันผุ
ลูกฟันผุ

เมื่อลูกฟันผุจะส่งผลเสียหลายประการ แถมยังลดทอนความมั่นใจของลูกน้อยได้อีกต่างหาก มาดูแลฟันลูกกันดีกว่าค่ะ ทำได้ตั้งแต่ซี่แรกเลยนะ!

โรคฟันผุ เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่  ลักษณะของฟัน น้ำลาย อาหาร (โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวานหรือคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาลแป้ง  ลูกอม  ขนมหวาน  น้ำอัดลม  รวมถึงน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ) คราบจุลินทรีย์ พันธุกรรม และพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก  คุณพ่อคุณแม่จะบอกให้ลูกระมัดระวังการเลือกกินอาหารหรือแปรงฟันให้สะอาดเอี่ยม  เขาก็ยังไม่สามารถทำได้ในทันที  จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องดูแลฟันของลูกน้อยให้แข็งแรง เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เบบี๋มีฟันซี่แรก  คุณพ่อคุณแม่ก็แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้เขาได้แล้ว! ผศ. ทพญ. ดร.เข็มทอง มิตรกูล ภาควิชาทันตกรรมเด็ก  คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีเคล็ดวิธีการดูแลฟันของลูกน้อยแต่ละช่วงวัยมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ

โทษของฟันผุมีเยอะมาก!

โรคฟันผุในเด็กมีรูปแบบการทำลายล้างเนื้อฟันที่รุนแรง  โดยในช่วงแรกรอยผุจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำรอบคอฟัน  แต่หากปล่อยให้ลุกลามตัวฟันจะถูกทำลายจนเหลือแต่ตอของรากฟันเท่านั้น  ซึ่งโรคฟันผุไม่เพียงทำให้ลูกน้อยปวดฟัน  ฟันไม่สวย  หรือมีกลิ่นปากเท่านั้น  แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการและชีวิตประจำวันของลูกน้อยมากกว่าที่คิด

  • การเจริญเติบโตของร่างกาย “ช้ากว่าวัย”

ความเจ็บปวดจากโรคฟันผุมักส่งผลให้เด็กรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่  ส่งผลให้เด็กขาดสารอาหาร  ร่างกายไม่แข็งแรง  หรือน้ำหนักตัวน้อย  นอกจากนี้อาการปวดฟันอาจทำให้เด็กน้อยนอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม  ทำให้การหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย (Growth Hormone)  ซึ่งจะหลั่งเฉพาะช่วงที่ลูกน้อยนอนหลับพักผ่อน  หลั่งได้ปริมาณลดลง  ร่างกายของลูกจึงเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

banner300x250-1

  • ทักษะการสื่อสารและสังคม “สะดุด”

โรคฟันผุมักเป็นสาเหตุให้เด็กสูญเสียความมั่นใจในการพูด  ทำให้เขาพลาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะการสื่อสารและการเข้าสังคมกับเพื่อนอย่างน่าเสียดาย  ปัญหาดังกล่าวอาจบ่มเพาะจนทำให้ลูกน้อยเติบโตเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจหรือมีปัญหาด้านบุคลิกภาพได้

  • “เชื้อลุกลาม” จากฟันแท้สู่ฟันน้ำนม

ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมีความเสี่ยงทำให้ฟันแท้ผุตามไปด้วยสูงขึ้น  เนื่องจากฟันที่ไม่กำจัดรอยผุให้หมดไป  จะทำให้ช่องปากสูญเสียสมดุล  เชื้อที่อยู่ในฟันน้ำนมจึงสามารถย้ายไปอยู่ที่ฟันแท้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กมีฟันชุดผสมคือมีทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมปนกัน (ช่วงอายุ 7-12 ปี) หากปล่อยให้ฟันผุโดยไม่แก้ไข  ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ

  • เสี่ยง “ติดเชื้อ” ในกระแสเลือด

หากฟันผุถูกทิ้งไว้นานวัน  เชื้อโรคอาจลุกลามเข้าไปบริเวณโพรงอากาศหรือช่องว่างที่มีอยู่ในกะโหลกศีรษะซึ่งในศีรษะและใบหน้ามีช่องที่เป็นโพรงอากาศและช่องว่างหลายช่อง  อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที เชื้อโรคอาจลุกลามไปในกระแสเลือดได้

อ่านต่อ “วิธีดูแลฟันลูกเล็กวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up