โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด สังเกตได้ตั้งแต่วัยทารก
โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

“โรคหัวใจ” ฟังแล้วอาจทำให้นึกภาพผู้ป่วยสูงอายุ แต่สำหรับ “โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด” นั้น สื่อความตรงตัว คาดการณ์ว่าในประเทศไทย เบบี๋น้อยที่กำเนิดมาจะเป็นโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดราว 8 คน ใน 1,000 คน เราจะพาไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกับ นพ. ปรีชา เลาหคุณากร กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจในเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ผู้มากประสบการณ์ค่ะ

“โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1. โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ

เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือหายไป หรือมีรูรั่วที่ผนังหัวใจ หรือมีห้องหัวใจไม่ครบ ซึ่งมีตั้งแต่ความผิดปกติเล็กน้อยจนถึงผิดปกติมาก ถือเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด และถูกเรียกว่า “โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด”

2. ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ

ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป

3. กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจเอง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนามาก หรือบางมาก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

สาเหตุของ “โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด”

หัวใจของทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 5 สัปดาห์ หากมีสิ่งรบกวนกระบวนการสร้างจะส่งผลให้ทารกมีหัวใจผิดปกติได้ สาเหตุที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่เราพอจะทราบว่าสิ่งต่อไปนี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความผิดปกติของหัวใจในทารก ได้แก่

1. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด หรือความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างหัวใจ โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น

  • ดาวน์ซินโดรม เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา ส่งผลให้เติบโตช้า ระดับสติปัญญาด้อยกว่าปกติ ประมาณร้อยละ 40 ของเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะมีความผิดปกติของหัวใจ
  • เทอร์เนอร์ซินโดรม เกิดจากการที่โครโมโซมเพศหายไป 1 ตัวในเด็กหญิง จะทำให้ตัวเตี้ย และไม่มีประจำเดือน ประมาณร้อยละ 30 ของเด็กที่เป็นเทอร์เนอร์ซินโดรมจะมีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจและเส้นเลือดตีบ

กระบวนการสร้างหัวใจของทารกในครรภ์ต้องใช้ยีนจำนวนมากในการทำงาน หากยีนที่ควบคุมการสร้างหัวใจหายไป หรือไม่ทำงานแม้เพียงตัวเดียว การสร้างหัวใจจะถูกรบกวนทำให้หัวใจผิดปกติได้

2. ปัจจัยเสี่ยงของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

  • โรคประจำตัวของคุณแม่
    • โรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีในขณะตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงสูงที่เส้นเลือดหัวใจของทารกสลับข้างกัน คาดว่าสาเหตุคืออินซูลินที่สูงขึ้นตามระดับน้ำตาลในเลือด (ส่วนภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่ส่งผลใดๆ ต่อความผิดปกติของหัวใจในทารก)
    • โรคพีเคยูหรือฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU: Phenylketonuria) เป็นโรคหายาก ปัจจุบันทารกแรกเกิดจะต้องตรวจคัดกรองโรคนี้ทุกคน ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถย่อยสลายกรดอะมิโนชื่อฟีนิลอะลานีนได้ ส่งผลให้สะสมในร่างกายและทำให้สมองพิการ จึงต้องควบคุมปริมาณโปรตีนอย่างเข้มงวด หากขณะตั้งครรภ์ไม่สามารถควบคุมโปรตีนจนทำให้ฟีนิลอะลานีนสูงขึ้นจะส่งผลต่อลูกทันที
  • การเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์

ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ โรคหัดเยอรมัน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจผิดปกติเท่านั้นแต่ยังทำให้อวัยวะอื่น เช่น สมอง หรือตา ผิดปกติ และโรคไข้หวัดใหญ่ จะทำให้ความเสี่ยงของหัวใจผิดปกติเพิ่มมากขึ้น 2 เท่า ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (ในกรณีที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน) และวัคซีนไข้หวัดใหญ่

การมีไข้สูงก็อาจส่งผลถึงหัวใจทารกได้ จึงควรรับประทานยาลดไข้ทันที ยาลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดในช่วงตั้งครรภ์คือพาราเซตามอล ยาลดไข้ชนิดอื่น เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟนนั้นไม่ควรใช้เนื่องจากอาจทำให้หัวใจทารกผิดปกติได้ ข้อพึงระวังคือ ขณะตั้งครรภ์ควรใช้ยาให้น้อยที่สุด และปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกชนิด

  • การได้รับสารต่างๆ ขณะตั้งครรภ์
    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด นอกจากหัวใจแล้วสารเหล่านี้ยังส่งผลต่อหลายระบบของลูกในครรภ์รวมถึงสมองด้วย ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณที่แม่รับเข้าไป วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดทุกชนิดตลอดการตั้งครรภ์
    • การใช้ยาอื่นๆ เช่น ยากันชัก ยาไอบูโพรเฟน ยารักษาสิวที่เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ จำพวกเรตินอยด์ ไม่ว่าจะเป็นยาทาหรือยากินจะส่งผลให้ลูกพิการจึงควรหลีกเลี่ยง
    • การสัมผัสสารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะตัวทำละลาย (organic solvent) ที่ใช้ผสมในสี น้ำมันวานิช และยาทาเล็บ เป็นต้น

(ยังมีต่อ)

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up