การปฐมพยาบาลลูก ด้วยการทำ CPR
นอกจากวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากลูกหมดสติ ควรทำการ CPR เพื่อช่วยชีวิตลูก ซึ่งวิธีการทำ CPR เด็กทารก จากคุณหมอนริศ สรุปได้ดังนี้
- ดูว่าเด็กยังรู้สึกตัวไหม ยังหายใจอยู่ไหม การจะเช็กว่าเด็กหายใจอยู่หรือไม่ สามารถเช็กโดยใช้การฟัง การสัมผัส และการมอง แนบหูเข้าไปใกล้ๆ สังเกตว่ามีผลหายใจออกมาไหม
- เนื่องจากเด็กคอสั้น กล้ามเนื้อคอหลอดลมยังไม่แข็งแรง อาจจะอยู่ในท่าพับทำให้หายใจได้ลำบาก แนะนำให้จับเด็กเงยหน้านิดนึง แต่อย่าเงยเยอะ
- จะเริ่มกระบวนการทำ cpr ก็ต่อเมื่อ เด็กไม่รู้ตัว เด็กไม่หายใจ สมัยก่อนเราจะเป่าปาก นวดหัวใจ แต่เดี๋ยวนี้กลับกัน นวดหัวใจก่อน ค่อยเป่าปาก อันนี้ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากมีรายงานว่า การนวดหัวใจอย่างเดียวก็สามารถทำให้กลับมาหายใจได้
- เริ่มกระบวนการนวดหัวใจ ในเด็กไม่ยาก ใช้สองนิ้วกดไปบริเวณใต้ราวนม หรือสองนิ้วโป้ง และกดให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ของทรวงอก ความเร็ว 100ครั้ง/นาที
- เมื่อทำการนวดหัวใจ 30 รอบแล้ว ก็จะมาเป่าปาก ในเด็กจมูกกับปากจะติดกัน เราก็จะเป่าทั้งจมูกและปากเลย เป่าสองครั้ง แล้วเริ่มนวดหัวใจใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าเด็กจะรู้ตัว
Posted by Sukanit Panpinit on Saturday, February 11, 2017
ดูคลิปการอบรมเพิ่มเติมได้ที่ FB : hospitalchaophya
การปฐมพยาบาลเป็นวิธีการช่วยเหลือเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ทางที่ดีที่สุดคุณพ่อคุณแม่ ควรหาวิธีป้องกันไว้จะดีกว่าค่ะ
วิธีป้องกันไม่ให้ อาหารติดคอ ลูกน้อย
- ควรเก็บอาหารที่มีลักษณะชิ้นเล็กๆที่เสี่ยงต่อการที่จะติดคอ ให้พ้นจากมือลูก เช่น ลูกอม เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ข้าวโพดคั่ว องุ่น ลูกเกด หรือขนมเยลลี่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่เด็กอาจจะหยิบกิน โดยที่ไม่ได้อยู่ในสายตาและความดูแลของพ่อแม่
- ไม่ควรให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น มีขนาดกลม ลื่นและแข็ง เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีเม็ดขนาดเล็ก เนื่องจากเม็ดของผลไม้มีความลื่นและมีโอกาสหลุดเข้าหลอดลมได้ง่าย หากจะให้รับประทานควรเอาเม็ดออกเสียก่อน และตัดแบ่งเป็นคำเล็กๆพอที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้
- ควรสอนให้เด็กฝึกการเคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่ควรให้กินอาหารขณะนอนราบ และไม่ควรให้วิ่งเล่นขณะที่มีกำลังมีอาหารอยู่ในปาก
ในเด็กเล็กนั้น พบว่า มีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะทางเดินหายใจ หรือหลอดอาหารถูกอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอมค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอในเรื่องของการปฐมพยาบาลช่วยเหลือลูก เมื่อลูกมีอาการ อาหารติดคอ หรือสำลักสิ่งแปลกปลอม เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ก็จะสามารถรับมือ ช่วยเหลือลูกน้อยได้ทันท่วงทีและถูกต้อง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก FB : Sukanit Panpinit
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
- Super Nanny | EP.5 | วิธีการทำ CPR 3 ขั้นตอนง่ายๆ ช่วยชีวิตได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
- การทำ cpr วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นช่วยคนจมน้ำที่ถูกต้อง
- รวม การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง ที่พ่อแม่ควรรู้!
- วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่