ภาวะผงทัลคัม เป็นพิษ
ผู้ที่สูดดมหรือกลืนผงทัลคัมปริมาณมากในคราวเดียวหรือในปริมาณน้อยแต่ค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกาย ล้วนอาจเกิดภาวะผงทัลคัมเป็นพิษ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติดังนี้
- ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย
- ท้องเสีย อาเจียน
- หมดสติ เซื่องซึม อ่อนเพลีย เป็นไข้
- กล้ามเนื้อใบหน้า แขน มือ ขา หรือเท้ากระตุก
- ไอ ระคายเคืองคอ ระคายเคืองตา
- เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจมีเสียงหวีด มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว
- ความดันต่ำ
- ผิวพุพอง มีแผลหรือฟกช้ำตามผิวหนัง ริมฝีปาก นิ้วมือ
หากมีภาวะผงทัลคัมเป็นพิษ บุคคลใกล้ชิดควรรีบพาผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
แป้งทางเลือกทดแทนแป้งเด็กจากผงทัลคัม
- แป้งฝุ่นที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ
หากคุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวลในความปลอดภัยจากการใช้แป้งเด็กที่ผลิตจากแร่ทัลก์แล้ว เราสามารถเลือกใช้แป้งฝุ่นที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่ในปัจจุบันมีให้เลือกหลายชนิด เช่น แป้งเด็กที่ผลิตจากแป้งข้าวโพด แป้งเด็กที่ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า เป็นต้น ซึ่งแป้งที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติย่อมมีความปลอดภัยกว่า และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง แต่ยังคงมีสิ่งที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของฝุ่นผงที่อาจอุดกลั้นทางเดินหายใจได้หากสูดดมครั้งละมาก ๆ
- แป้งเด็กเนื้อโลชั่น
ทางเลือกอีกทางที่จะช่วยในเรื่องของการสูดดมฝุ่นแป้ง คือ ผลิตภัณฑ์แป้งเด็กเนื้อโลชั่น ซึ่งเป็นแป้งที่มีลักษณะเหลว ไม่ฟุ้งกระจาย แก้ปัญหาเรื่องความกังวลเรื่องฝุ่นผงเข้าจมูกลูก แต่แป้งเด็กชนิดนี้มีส่วนประกอบหลักเป็นผงทัลคัม
วิธีใช้แป้งฝุ่น แป้งเด็กให้ปลอดภัย
การดูแลเด็กทารก แป้งเป็นส่วนหนึ่งที่พ่อแม่เลือกใช้ มาช่วยในการลดการอับชื้น ตามจุดซอก ขาพับ ก้นเด็ก ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกรู้สึกแห้งสบายได้ดี ดังนั้นหากยังมีความต้องการใช้แป้งเด็กอยู่ เรามีดูวิธีการใช้แป้งฝุ่นสำหรับเด็กให้มีความปลอดภัย ช่วยลดการสะสมของผงทัลคัมในระบบทางเดินหายใจได้
- ใช้แป้งครั้งละน้อย ๆ
- เช็ดแป้งที่สะสมตามข้อพับของลูกน้อยออก เพื่อป้องกันการระคายเคือง
- เทแป้งลงบนฝ่ามือของตนเองก่อนทาให้ทารก ห้ามเทลงบนร่างกายของทารกโดยตรง
- เก็บบรรจุภัณฑ์ให้พ้นมือเด็ก และทารก
- หลีกเลี่ยงการทาแป้งที่กันและบริเวณอวัยวะเพศให้ลูกผู้หญิง เพราะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่
- ไม่ให้ลูกถือกระป๋องแป้งเขย่าเล่นหรือทาเอง เพราะอาจทำแป้งหกและสำลักหายใจเอาแป้งเข้าปอด จนทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งถ้ารุนแรงมือกาสเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ การใช้ผ้าขนหนูซับตามร่างกายทารกให้แห้งหลังอาบน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมนั้นเพียงพอที่จะป้องกันผดผื่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้แป้งเด็ก
ไม่ใช้แป้งฝุ่น แป้งเด็กเลยจะปลอดภัยที่สุด!!
เราได้นำคำแนะนำจาก รศ.นพ. สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ ที่ได้กล่าวถึงการใช้แป้งเด็กกับลูก ในหัวข้อ “ทาแป้งฝุ่นให้ลูกน้อยให้ระวัง ภูมิแพ้ ปอดอักเสบ และมะเร็งรังไข่ ” ในเพจ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 มาฝากให้คุณพ่อคุณแม่ได้คิดถึง อันตรายจากแป้งฝุ่น และระวังกันไว้ ดังนี้
แป้งทาตัวเด็กที่นิยมใช้กันอยู่ทั่งไป ผลิตจากแร่หินทัลค์ (Talc) หรือ “แป้งทัลคัม” (Talcum Powder) ถือว่าเป็นฝุ่นชนิดหนึ่ง
- ในขณะที่โรยแป้ง ผงแป้งจะลอยฟุ้งในอากาศ ถ้าสูดหายใจเข้าไป ทำให้เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ น้ำมูกไหล คัดและคันจมูก จามตลอดเวลาได้
- หากเข้าไปในระบบทางเดินหายใจทีละเล็กละน้อย เป็นเวลานาน ๆ จะเกิดการสะสมในปอด ทำให้มีปัญหา เรื่องการหายใจ ไอเรื้อรัง หืดหอบ
- ในเด็กทารกสามารถทำให้ปอดอักเสบและเสียชีวิตได้ มีการวิจัยพบว่าผู้ที่ใช้แป้งฝุ่นโรยตัวทาบริเวณจุดซ่อนเร้น มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่สูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้แป้งสูงถึง 40%
- แป้งชนิดที่ทำจากแป้งข้าวโพด แม้นจะปลอดภัยกว่าแป้งทัลคัม แต่ก็นับเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่งกาย เข้าตาก็ระคายตา สูดหายใจเข้าไปก็ระคายระบบทางเดินหายใจ
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.pobpad.com /chulalongkornhospital.go.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เช็กลิสต์ 12 ไอเทม ของใช้เด็กแรกเกิด คุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องมีไว้ดูแลลูกน้อยแรกเกิด
รีวิว เครื่องปั๊มนม Super Mama รุ่น Air Plus ไอเทมใหม่! ของแม่นักปั๊ม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่