โรคตาในเด็ก รีบรักษาก่อนสายเกินแก้! - Amarin Baby & Kids
โรคตาในเด็ก

โรคตาในเด็ก รีบรักษาก่อนสายเกินแก้!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคตาในเด็ก
โรคตาในเด็ก

โรคตาในเด็ก ป้องกันอย่างไร?

มีคุณแม่ท่านหนึ่งสอบถามเข้ามาว่า “คุณแม่สังเกตว่าเวลาลูกดูโทรทัศน์ หรือมองอะไรที่มีรายละเอียด มักจะขมวดคิ้วและเพ่ง เขาจะสายตาสั้นหรือว่าเอียงได้หรือไม่ค่ะ แต่เขาอายุแค่สามขวบครึ่ง ควรพาไปพบจักษุแพทย์เลยหรือรอดูอาการอีกสักพัก และการให้อาหารบำรุงสายตา จะช่วยเรื่องนี้ได้ไหมคะ”

ทีมงานจึงนำคำถามนี้ไปสอบถามกับ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด โดยคุณหมอได้ให้คำตอบว่า

“เป็นไปได้ค่ะ คุณแม่พาลูกไปพบจักษุแพทย์ได้เลยค่ะ ยิ่งถ้าเป็นจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญการตรวจเด็กๆ จะยิ่งดีมากขึ้น เพราะคุณหมอจะมีความอดทนต่อการร้องไห้กลัวของลูก มีวิธีทำให้เด็กร่วมมือ และมีความนุ่มนวลอ่อนโยนในการตรวจเด็กมากเป็นพิเศษ คุณหมอตาที่ชำนาญสามารถตรวจได้แม้เด็กทารกคลอดก่อนกำหนดด้วยซ้ำไป อย่ารีรอที่จะไปตรวจ เพราะหากลูกมีปัญหามองเห็นไม่ชัดจะมีผลเสียหลายอย่าง เช่น

1. กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนัก

ทำให้อ่อนล้าและมีปัญหาปวดตา ปวดศีรษะ ตาเข

2. เมื่อมองเห็นไม่ชัดจะทำให้เรียนหนังสือไม่ดี

เพราะมองเห็นกระดานไม่ชัด หรือไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร

โรคสายตา
หากสายตาผิดปกติเพียงข้างเดียวโดยที่ตาอีกข้างปกติ สมองจะลดการใช้งานจากตาข้างที่ไม่ชัด

3. เกิดภาวะตาขี้เกียจ

หากสายตาผิดปกติเพียงข้างเดียวโดยที่ตาอีกข้างปกติ สมองจะลดการใช้งานจากตาข้างที่ไม่ชัด เพื่อรับภาพจากข้างเดียว จนตาข้างที่ไม่ชัดไม่ทำงานไปโดยปริยาย เกิดภาวะที่เรียกว่าตาขี้เกียจ หากภายหลังแก้ไขโดยการใส่แว่นแล้ว ตาข้างนี้ก็ยังไม่กลับมาทำงาน จนกว่าจะใช้วิธีการปิดตาข้างปกติ เพื่อพยายามใช้ตาข้างที่ขี้เกียจให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าตาข้างนี้จะกลับมาทำงานได้เป็นปกติ

หากลูกมีปัญหาสายตาผิดปกติ ต้องแก้ไขด้วยเลนส์ คือการใช้แว่นตาค่ะ ส่วนการทำเลสิคและการใช้คอนแทคเลนส์ต้องทำตอนโตขึ้นค่ะ

การให้อาหารบำรุงสายตา ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี สังกะสี โอเมก้า 3 และแอนโตไซยานินส์ ไม่ได้ช่วยแก้ไขความผิดปกติของสายตา แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติที่จอประสาทตาเนื่องจากการขาดวิตามินและสารดังกล่าว ขณะที่การลดปริมาณการดูทีวีและการใช้สายตาเพ่งจออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ทั้งหลายจะช่วยชะลอความผิดปกติของสายตาได้บ้าง”

ข้อมูลอ้างอิง: สสสโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก!!

เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก มาดูกันว่าทำอย่างไร?

ปัญหาสายตาในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up