การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่ จากคำแนะนำใหม่ของ CDC - amarinbabyandkids
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่

CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่

Alternative Textaccount_circle
event
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการทำความสะอาด

#ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ล้าง และนึ่งได้ทุกครั้งจะดีที่สุด โดยเฉพาะกับเด็กที่ป่วย หรือคลอดก่อนกำหนดต้องล้าง และนึ่งทุกครั้ง

#ถ้าไม่มีเวลา แนะนำให้ซื้อกรวยปั๊มเผื่อไว้หลายๆ คู่ เหมือนกับซื้อขวดนมหลายๆ ใบ และเตรียมไปที่ทำงานครั้งละ 3 คู่ กลับถึงบ้านก็ล้าง และนึ่งไว้เตรียมใช้รอบดึก ตอนเช้าก็ล้าง และนึ่งเพื่อเตรียมไปทำงาน

#ถ้ามีไมโครเวฟที่บ้าน หรือที่ทำงาน แนะนำให้ซื้อถุงชนิดพิเศษที่สามารถใส่อุปกรณ์ เพื่อใช้กับไมโครเวฟได้ เพื่อฆ่าเชื้อแทนการนึ่ง โดยเติมน้ำลงไปในถุงแล้วใส่อุปกรณ์ที่ล้างแล้วลงไป นำเข้าไมโครเวฟ 3 นาที ถุงชนิดพิเศษสามารถช้ำได้ 20 ครั้ง

#ปัจจุบันมีสเปรย์ และผ้าเปียกที่มีน้ำยาทำความสะอาดขวดนม และจุกนมชนิดพกพา ซึ่งทำจากสารออร์แกนิค เข้าปากลูกได้ มีขายทั้งในอินเทอร์เน็ต และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ใช้ทำความสะอาดแทนการล้าง และนึ่งในกรณีที่ออกนอกบ้าน

การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่วิธีการเตรียมนมให้ลูกกิน

1.ย้ายนมที่แช่แข็งลงมาที่ช่องน้ำเย็น ให้ละลายในตู้เย็น 1 คืน วันรุ่งขึ้นให้เทใส่ขวดสะอาดในปริมาณเท่ากับที่ลูกกินในแต่ละครั้ง ฝึกให้ลูกน้อยกินแบบเย็นๆ จะดีที่สุด ไม่ทำให้ป่วย หรือเป็นหวัด เพราะสารอาหารจะอยู่ครบถ้วน และมีกลิ่นหืนน้อยกว่านมอุ่น แต่ถ้าลูกน้อยไม่ยอมกิน ให้แช่ขวดนมในน้ำอุ่น หรือเปิดก๊อกน้ำ ให้น้ำไหลผ่านขวด แต่อย่าให้น้ำโดนบริเวณฝาขวด เพื่อปรับให้เป็นนมที่มีอุณหภูมิห้อง ห้ามอุ่นบนเตา หรือเข้าไมโครเวฟ

2.นมที่ละลายแล้ว ถ้ายังไม่ได้กิน จะตั้งอยู่ในอุณหภูมิห้องแอร์ได้ 6 – 8 ชั่วโมง ถ้ากินเหลือจะอยู่ได้เพียง 2 ชั่วโมง ให้ทิ้งได้เลย

3.นมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในช่องน้ำเย็นได้ 24 ชั่วโมง ห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีกรอบ

***ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ให้ยึดหลักตามเกณฑ์ข้างบนเท่านั้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “การเก็บสต๊อกนมแม่ในกรณีฉุกเฉิน” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up