การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่ จากคำแนะนำใหม่ของ CDC - amarinbabyandkids
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่

CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่

Alternative Textaccount_circle
event
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่
การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่

การเก็บสต๊อกนมแม่ในกรณีฉุกเฉิน

1.ถ้าทราบล่วงหน้าว่าจะไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าใช้ไม่ได้ ให้เตรียมเครื่องปั่นไฟ หรือใช้ที่ปั๊มนมแบบใช้มือโยก หรือแบบที่มีแบตเตอร์รี่ หรือฝึกบีบด้วยมือแทน

2.ถ้าทราบล่วงหน้า แล้วไม่อยากให้นมที่แช่แข็งอยู่ในตู้แช่ละลาย ให้เตรียมเครื่องปั่นไฟ หรือย้ายไปแช่ที่อื่น

  • ถ้านมไม่เต็มตู้แช่ ให้เอาน้ำใส่ถุงเข้าไปแช่แข็งถมพื้นที่อากาศให้เต็มตู้ ตั้งแต่ยังมีไฟฟ้าใช้ เพื่อให้แข็งตัวเตรียมไว้ตอนไฟดับ จะช่วยให้นมที่แช่แข็งละลายช้าลง
  • ถ้าย้ายนมไปแช่แข็งที่อื่นไม่ได้ อย่าเปิดตู้แช่โดยไม่จำเป็น จะช่วยคงสภาพแข็งได้นานถึง 48 ชั่วโมง
  • ถ้ามีนมที่แช่แข็งอยู่เพียงครึ่งเดียว ให้จัดนมให้อยู่ตรงกลางตู้ เพราะเป็นบริเวณที่อุณหภูมิค่อนข้างคงที่
  • นำหนังสือพิมพ์มายัดให้เต็มตู้ เพื่อให้มีอากาศน้อยที่สุด หรือนำน้ำแข็งแห้งมาใส่ในตู้แช่ เพื่อช่วยให้คงสภาพการแข็งได้นาน 24 ชั่วโมง

การเก็บรักษาสต๊อกนมแม่3.ถ้าไม่ทราบล่วงหน้าว่าไฟฟ้าดับ และพบว่านมที่แช่แข็งละลายไปบางส่วนแล้ว แต่ยังมีเกล็ดน้ำแข็งอยู่เกินครึ่ง ให้รีบทำให้แข็งใหม่โดยเร็ว จะยังสามารถเก็บนมไว้ใช้ได้ และรีบใช้นมส่วนนี้ให้หมดก่อน เพราะอายุการเก็บจะไม่นานเท่าเดิม

4.ถ้านมไม่มีเกล็ดน้ำแข็งแล้ว ไม่สามารถกลับไปแช่แข็งได้อีก ถ้าไม่เย็นแล้วให้ทิ้งไปได้เลย ถ้ายังเย็นอยู่สามารถใช้ได้ภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับเด็กปกติ ที่ไม่ใช่เด็กป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าเป็นเด็กป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด สามารถใช้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

เครดิต: เพจคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

รับมือนมแม่สต็อกในตู้เย็นละลาย ขณะฝนตกไฟดับ

Stock milk เคล็ดลับการจัดเก็บสต็อกนมแม่

ความจุในการเก็บน้ำนม ของเต้านมแม่มีเท่าไหร่?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up