แพ้อาหาร
การแพ้อาหารเกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
พันธุกรรม หากคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากขึ้น
สิ่งแวดล้อม โรคภูมิแพ้เกิดได้ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู เช่น อาศัยอยู่ในสถานที่ซึ่งมีสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ ใกล้ผู้สูบบุหรี่ และมีฝุ่น pm 2.5 ในปริมาณมาก เป็นต้น
การเกิดแพ้อาหารตามช่วงอายุ
- โรคภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy) มักพบในช่วงขวบปีแรก
- การแพ้โปรตีนนมวัว (cow’s milk protein allergy) มักพบในช่วงขวบปีแรก โดยพบว่าการที่แม่ดื่มนมวัวปริมาณมากกว่าปกติในช่วงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หากมีพี่หรือน้องแพ้โปรตีนนมวัว จะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นเช่นกัน
- การแพ้ไข่ (Egg allergy), แพ้แป้งสาลี (Wheat allergy), แพ้ถั่ว (Peanut allergy) ในปัจจุบันพบว่า เกิดได้ทั้งจากการที่ เด็กเริ่มรับประทานเองเป็นครั้งแรก หรือได้รับผ่านการดื่มนมแม่
อาการแพ้อาหาร มีดังนี้
- ผื่นคัน ผื่นแดง ผื่นเม็ดทราย ผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน
- อาการบวมของเยื่อบุบริเวณเปลือกตา ปาก หู ทั่วใบหน้า ไปจนถึงแพ้แบบรุนแรงได้
- การแน่นจมูก จาม มีน้ำมูกใสๆ ไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ
- หายใจครืดคราด ติดขัด หายใจหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไปจนถึงหายใจแบบมีเสียงวี๊ด ซึ่งอาการมีความคล้ายกับอาการของโรคหอบหืด
- คัน ระคายในคอในช่องปาก ปวดท้องแบบบีบเกร็งซึ่งทำให้ทารกร้องไห้ นอนได้ไม่นาน ไม่สบายท้อง แน่นท้อง ลักษณะเหมือนมีลมในท้องซึ่งอาจทำให้สะอึกหรือขย้อนนมตามหลังการกินนม
- ถ่ายบ่อย ถ่ายท้องเสีย โดยเฉพาะถ่ายเป็นมูก ถ่ายปนมูกเลือด กินนมยาก น้ำหนักไม่ขึ้น เลี้ยงไม่โต
- ร้องไห้โคลิค
การเปลี่ยนเต้าเมื่อให้ลูกดื่มนมแม่
แม่ให้ลูกดูดนมไปไม่นานก็ทำการเปลี่ยนเต้าอีกข้างหนึ่งให้ลูกดูด ทำให้ อุจจาระลูก มีลักษณะที่เปลี่ยนไปได้ เช่น ทารกบางคนที่ดูดนมไม่นานแล้วแม่เปลี่ยนข้าง ทำให้ปริมาณน้ำตาลไม่สมดุลกับปริมาณไขมันที่ควรได้รับจนเกิดการย่อยอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้อุจจาระเกิดเป็นสีเขียว เหลว และเป็นฟอง ซึ่งในกรณีนี้มักไม่เป็นอันตราย หากทารกยังมีสุขภาพดี และมีน้ำหนักตามเกณฑ์
ทั้งนี้ทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ การถ่ายอาจมีมูกปน เนื่องจากได้รับน้ำนมส่วนหน้ามากกว่าน้ำนมส่วนหลัง
น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) จะมีไขมันต่ำ และน้ำตาลแลคโตสสูง ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย จากนั้นน้ำนมจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นน้ำนมที่มีโปรตีน ไขมันและแคลอรี่สูงขึ้น เรียกว่า น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk)
การให้ลูกดูดนมแต่ละข้างนานขึ้นหรือดูดจนเกลี้ยงเต้า จะช่วยเรื่องการถ่ายเป็นมูกได้
เมื่อไหร่ควรพาทารกไปพบแพทย์
หากทารกมีอาการท้องเสียนาน 5 – 14 วัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย หากทารกมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรพาไปพบแพทย์ รวมถึงในกรณีที่พบว่ามีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
- อาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อย ร้องไห้แล้วไม่มีน้ำตา ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาโหล หรืออ่อนเพลีย เป็นต้น
- อาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากให้ดื่มผงเกลือแร่ละลายน้ำ
- อุจจาระเป็นมูก มีกลิ่นเหม็นเน่า
- อุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำ
- ท้องเสียอย่างรุนแรงในช่วงที่รับประทานยาปฏิชีวนะ
- มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
อุจจาระลูก สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของลูกได้ ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมข้อมูล ทารกอุจจาระมีมูก มาฝาก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกต อุจจาระ และอาการอื่นๆของลูกว่าเป็นปกติหรือไม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
อุทาหรณ์! ลูกติด เชื้อซาโมเนลลา ไข้ขึ้น ถ่ายทั้งคืน เพราะคนอื่นจับอุ้มหอมลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.medicalnewstoday.com, https://www.pobpad.com, พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา จากเวบ https://navavej.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่