การเล่นกับลูกทารก ช่วยเสริมความฉลาดได้ทั้งไอคิว และ อีคิว เนื่องจากสมองทารกได้ถูกกระตุ้นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี และการที่ได้ใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีความสุข ยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก ลูกเกิดความอบอุ่นใจ และมีความมั่นคงทางอารมณ์ ส่งผลให้มีความฉลาดทางอารมณ์อีกด้วย แต่หากคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ป้ายแดง และไม่รู้จะ เล่นกับลูก อย่างไรดี เรามีวิธีเล่นกับทารกง่ายๆ จาก พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดมาฝากค่ะ
Q: ตอนนี้ลูกอายุได้ 3 เดือน พยายามใช้เวลาอยู่กับลูกเต็มที่ แต่ตัวเองเล่นกับลูกไม่เป็นค่ะ ได้แต่พูดคุย ไม่รู้จะหยอกหรือ เล่นกับลูกเบบี๋อย่างไร อยากให้คุณหมอแนะนำวิธีเล่นกับลูกที่ช่วยเสริมพัฒนาการและเป็นการเล่นที่แม่อย่างดิฉันทำได้ง่ายๆ ค่ะ
“เล่นกับลูก” ง่ายๆ กระตุ้นพัฒนาการ 4 ด้าน
การเล่นที่กระตุ้นพัฒนาการทารก 4 ด้าน เริ่มต้นผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก รสชาติ และผิวหนัง
ตา : เอาของเล่น รูปภาพ ของใช้ในบ้าน อวัยวะ สิ่งของรอบๆ ตัวให้ลูกดูใกล้ๆ ชี้ให้ดูไกลๆ แล้วบอกลูกว่าคืออะไร
หู: คุยกับลูก พูด 2-3 ภาษาให้เป็นธรรมชาติได้เลย ถ้าพ่อแม่รู้สึกสบายใจที่จะทำ ไม่ต้องเครียด สำเนียงไม่เป๊ะไม่เป็นไร อ่านนิทานหรือหนังสือที่พ่อแม่ชอบให้ลูกฟัง ร้องรำทำเพลงให้ลูกได้ฟังเสียงต่างๆ รอบๆ ตัว
บทความแนะนำ มหัศจรรย์การอ่าน นิทาน ออกเสียงกระตุ้นพัฒนาการลูก??
บทความแนะนำ วิจัยเผยข้อดี! ลูกติดตุ๊กตา ติดผ้าเน่า มีผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ
จมูก : เอาอาหาร ผัก ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งของที่มีกลิ่นไม่รุนแรงไม่น่ารังเกียจให้ลูกฝึกดม อย่าลืมว่าทุกอย่างต้องสะอาด ก่อนเข้าใกล้ลูก
รส : ถ้าลูกอายุเกิน 6 เดือน จะได้ชิมอาหารตามวัย ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงขนม สารปรุงแต่ง สารเคมี
ผิวหนัง : ให้ลูกใช้มือ เท้า สัมผัสสิ่งต่างๆ ที่มีผิวสัมผัสหลากหลาย กอดโอบ อุ้ม หอมแก้ม นวดสัมผัส จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสที่ผิวหนังได้เป็นอย่างดี
บทความแนะนำ 17 ท่า นวดทารก ช่วยทำให้สุขภาพและพัฒนาการดี
บทความแนะนำ 6จุดนวดมือลูก…กระตุ้นพลังสมองช่วย ระบบย่อยอาหาร
บทความแนะนำ ใส่ถุงมือถุงเท้าให้ลูกน้อย เสี่ยงปิดกั้นพัฒนาการลูก จริงหรือ?
เมื่อไหร่ที่ควรเล่นกับลูก?
เพื่อให้ลูกได้ประโยชน์จากการเล่นอย่างเต็มที่ พ่อแม่ควรรู้ว่าเมื่อไรที่ลูกพร้อมจะเล่น ซึ่งก็คือการเรียนรู้ของลูกนั่นเอง เวลาที่ลูกพร้อมคือเมื่อลูกกำลังสนใจจ้องมองพ่อแม่หรือคนรอบๆ ตัว ส่งยิ้มให้ ทำท่าให้อุ้ม เป็นต้น
เมื่อไหร่ที่ควรหยุดเล่นกับลูก?
และพ่อแม่ต้องรู้ว่าเมื่อไรที่ลูกเริ่มเหนื่อยแล้ว ควรให้หยุดเล่น เช่น ลูกร้องไห้งอแง ลูกแหวะนม ลูกหันมองไปทางอื่นแล้ว เป็นต้น
ตัวอย่างเกมการเล่นกับลูก
1. จ๊ะเอ๋
เอามือปิดหน้าไว้ แล้วเปิดออกพร้อมกับพูดว่า “จ๊ะเอ๋” ถ้าลูกเริ่มเข้าใจมากขึ้นจะรู้จักเอามือคุณออกจากกันเพื่อให้เห็นหน้าของคุณเร็วขึ้น ลูกอายุก่อน 9 เดือนจะยังไม่ทราบว่าคุณแม่อยู่ด้านหลังของมือ ลูกจึงตื่นเต้นเวลาที่คุณเล่นเกมนี้ นอกจากนี้ เกมนี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเวลาที่คุณจากไปเดี๋ยวก็กลับมา และถ้าเล่นเกมเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวจะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนดีขึ้น
2. ตบมือแปะๆ ให้เข้ากับเนื้อเพลง
จะช่วยพัฒนาการด้านภาษาและประสาทสัมผัสที่มือ เมื่อลูกโตขึ้นจะเลียนแบบท่าทางได้ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและการทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตา
3. ผ้ามหัศจรรย์
หาชิ้นผ้าที่มีผิวสัมผัส สี ลายหลากหลายแตกต่างกันให้ลูกได้จับ โบก สะบัดไปมา ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อการทำงานของมือและสายตาประสานกัน
4. ร้องเพลงพร้อมทำท่าทางประกอบจังหวะ
ทำได้เวลาอาบน้ำ เวลากอดกันกับลูก หรือขับรถอยู่ จะช่วยให้ความสนุกและพัฒนาการด้านภาษา
เรื่อง: พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
ภาพ: Shutterstock
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ของเล่น เสริมIQ EQลูกน้อย..ใครว่าอัจฉริยะสร้างไม่ได้!
เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี EQ สูง และฉลาด