เด็กคลอดก่อนกำหนด กับ 13 ปัญหา และ 8 การดูแล - amarinbabyandkids
เด็กคลอดก่อนกำหนด

ปัญหา และการดูแล “เด็กคลอดก่อนกำหนด”

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กคลอดก่อนกำหนด
เด็กคลอดก่อนกำหนด

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล คุณหมอจะดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า 1.8 – 2 กิโลกรัม หรือสามารถลดการใช้ตู้อบ มีการดูดกลืนได้ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ คุณหมอจึงอนุญาตให้กลับบ้านได้ และยังคงนัดเพื่อตรวจสุขภาพอีกครั้ง เมื่ออายุประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เมื่อกลับมาอยู่บ้าน คุณพ่อ คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อย ดังนี้

1.การดูแลรักษาความสะอาด เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระวังให้มาก รวมถึงสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น ขวดนม ควรนึ่งหรือต้มทุกครั้งก่อนใช้ ทุกครั้งที่ให้นม หรือชงนม คุณพ่อ คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาด เพราะทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป

2.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ควรมีอากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายของลูก ไม่ร้อน หรือเย็นจนเกินไป ถ้าลูกน้อยมีอาการตัวร้อน ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

3.ให้ลูกกินนมแม่ คุณหมอจะแนะนำให้กินนมแม่เป็นหลัก เพราะย่อยง่าย และมีสารอาหารที่จำเป็น ลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันใกล้เคียงกับช่วงที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่อาจจะเสริมด้วยนมสูตรพิเศษสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้ลูกน้อยน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ นมสูตรนี้ จะให้พลังงาน และเพิ่มสารโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ มากกว่าสูตรปกติ และเมื่อลูกน้อยอายุเกิน 2 สัปดาห์แล้ว ควรรับประทานวิตามินรวมเพิ่มด้วย โดยเฉพาะธาตุเหล็ก และแคลเซียม เพราะทารกคลอดก่อนกำหนดมักจะขาดแร่ธาตุเหล่านี้

4.การอาบน้ำ ให้คุณแม่ อาบน้ำให้ลูกน้อยเพียงวันละ 1 ครั้ง ถ้าวันไหนที่อากาศเย็น ก็ไม่ต้องอาบ ไม่ควรอาบน้ำบ่อยๆ เพื่อเป็นการรักษาพลังงานที่อยู่น้อยเอาไว้ จนกว่าลูกน้อยจะสามารถดูดนมได้มากกว่า 100 ซีซี และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 3 กิโลกรัมขึ้นไป จึงจะอาบน้ำได้ปกติ เหมือนเด็กทั่วไป

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

5.ใส่ใจกับการชงนม เวลาชงนม คุณแม่ไม่ควรชงนมให้ข้นมากจนเกินไป เพียงแต่พยายามให้ลูกน้อยกินนมให้มากขึ้น โดยชงตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งโดยเฉลี่ยเด็กจะกินนมวันละ 150 – 180 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

6.ส่งเสริมพัฒนาการ ระบบสมองของทารกโดยทั่วไปจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 6 – 7 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด อาจมีพัฒนาการล่าช้า ส่วนใหญ่คุณหมอ จะคอยตรวจสอบพัฒนาการต่างๆ อยู่เสมอ เช่น การได้ยิน การมองเห็น คุณพ่อ คุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ ด้วยเสียงดนตรีเบาๆ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ รวมถึงการใช้สี และแสงอย่างเหมาะสม

7.ระบบหายใจ การหายใจของทารกอาจมีปัญหา เช่น มีน้ำมูก เสมหะอุดตัน อาจทำให้หายใจไม่สะดวก อกบุ๋ม หายใจดังครืดคราด คุณแม่ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เวลาอุ้มให้นมควรอุ้มให้สูงขึ้น เพื่อระวังการสำลักนม

8.สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าไม่สบาย เช่น ถ้าลูกมีไข้ ตัวร้อน หรืออุณหภูมิสูงผิดปกติ คอยเช็ดตัวให้ลูกน้อยอยู่เสมอ สังเกตการติดเชื้อ น้ำมูกเขียวข้น หายใจเร็วเหมือนหอบ โดยเฉพาะถ้าไอ หรือมีน้ำลายฟูมปาก หน้าซีดขาว มีเสียงร้องเบาผิดปกติ ท้องอืด ท้องแข็งกะทันหัน ชัก ดูดนมน้อยลง น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น ตาเหลือง ตัวเหลือง ถ้ามีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

เครดิต: https://medthai.com, http://www.enfababy.com/

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

สาเหตุและวิธีป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

ลูกดูดนมแม่ไม่ได้ ปัญหาใหญ่ของทารกป่วย/คลอดก่อนกำหนด

ทำไมทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องเข้าตู้อบ และส่องไฟ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up