ทารก คลอดก่อนกำหนด อาจป่วยภาวะหายใจลำบาก RDS - Amarin Baby & Kids
ทารก

ระวัง! ทารก คลอดก่อนกำหนด อาจป่วยภาวะหายใจลำบาก RDS

Alternative Textaccount_circle
event
ทารก
ทารก

โดยทั่วไปแล้วสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดทุกคน ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้มากกว่าเด็กที่คลอดครบเทอม มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาจต้องเผชิญ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มอาการหายใจลำบาก (RDS) ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจของทารก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ RDS ได้มากกว่าเด็กทารกทั่วไป

ระวัง! ทารก คลอดก่อนกำหนด อาจป่วยภาวะหายใจลำบาก RDS

ทารก คลอดก่อนกำหนดกับภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome) โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากยิ่งขึ้นโดยอาการหายใจลำบากมักเกิดขึ้นประมาณ 6 ชั่วโมงหลังคลอด และอาจมีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ สาเหตุสำคัญเกิดจากปอดของทารกที่ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ในการหายใจ อย่างไรก็ตามทารกจำนวนมากที่มีอาการไม่รุนแรง อาการเกี่ยวกับภาวะหายใจลำบากจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน หลังคลอด ซึ่งเด็กที่คลอดก่อนกำหนดค่อนข้างมาก อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่า

สาเหตุสำคัญที่ ทารก คลอดก่อนกำหนดมักป่วยด้วยภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก

สาเหตุสำคัญที่สุดสำหรับการเกิดภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือ การขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เนื่องจากปอดของทารกสร้างสารลดแรงตึงผิวนี้ได้ช้าหรือไม่สมบูรณ์ สารลดแรงตึงผิวเป็นของเหลวที่ผลิตโดยปอดซึ่งช่วยให้ทางเดินหายใจ (ถุงลม) เปิดอยู่ ของเหลวนี้ช่วยให้ทารกหายใจเอาอากาศเข้าไปได้หลังคลอด ทารกในครรภ์เริ่มสร้างสารลดแรงตึงผิวเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 26 สัปดาห์ หากทารกคลอดก่อนกำหนด (เกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) พวกเขาอาจยังสร้างสารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ

เมื่อมีสารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ ถุงลมเล็กๆ จะยุบตัวลงทุกครั้งที่หายใจ เมื่อถุงลมยุบตัว เซลล์ที่เสียหายจะรวมตัวกันไปปิดกั้นในทางเดินหายใจและส่งผลต่อคุณภาพในการหายใจ ทารกต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อหายใจพยายามขยายทางเดินหายใจที่ยุบตัว เมื่อการทำงานของปอดของทารกแย่ลง ทารกก็จะใช้ออกซิเจนน้อยลง ส่งผลให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมในเลือดมากขึ้น สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเพิ่มกรดในเลือด (acidosis) ภาวะนี้อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษา ทารกอาจหมดแรง พยายามหายใจ และยอมแพ้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจทำงานแทนการหายใจของทารก อย่างไรก็ตามมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก อื่นๆ ได้แก่ มารดาเกิดภาวะตกเลือดก่อนคลอด มารดาป่วยเป็นเบาหวาน หรือมารดามีภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (Perinatal Asphyxia)

ทารก คลอดก่อนกำหนด
ทารก คลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงต่อ RDS

RDS มักเกิดกับทารกที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีอาการของ RDS ที่รุนแรงถึงขนาดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงและอาการ RDS ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น แม้ RDS มักมีโอกาสเกิดขึ้นกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ อาทิ

  • ทารกมีพี่น้องที่เกิดมาพร้อมกับ RDS
  • ทารกที่คลอดด้วย วิธีผ่าคลอด ซึ่งการคลอดแบบธรรมชาติจะช่วยให้ปอดของทารกพร้อมที่จะหายใจเอาอากาศเข้าไปได้
  • ทารกไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอก่อน ระหว่าง หรือหลังคลอด (perinatal asphyxia)
  • ทารกมีปัญหาในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย (ความเครียดจากความเย็น)
  • การติดเชื้อในร่างกาย
  • ทารกเป็นแฝด (ทารกแฝดมักจะคลอดก่อนกำหนด)
  • มารดาเป็นโรคเบาหวาน (ทารกที่มีอินซูลินในร่างกายมากเกินไปอาจทำให้สารลดแรงตึงผิวทำงานได้ช้าลง)
  • ทารกมีภาวะที่เรียกว่าหลอดเลือดแดงอุดตันในเส้นเลือด (patent ductus arteriosus หรือ PDA)

RDS ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีอาการอย่างไร?

  • ปัญหาการหายใจเมื่อแรกเกิดแย่ลง
  • ตัวเขียว
  • จมูกบานเนื่องจากการพยายามหายใจ
  • หายใจถี่และเร็ว
  • มีเสียงครืดคราดพร้อมกับจังหวะการหายใจ
  • ซี่โครงและกระดูกหน้าอกยุบเมื่อทารกหายใจ

อาการของ RDS มักจะแย่ลงภายในวันที่สามหลังการคลอด และเมื่อทารกมีอาการดีขึ้นตามลำดับ อาจต้องการออกซิเจนและเครื่องช่วยในการหายใจน้อยลง

อ่านต่อ…ระวัง! ทารก คลอดก่อนกำหนด อาจป่วยภาวะหายใจลำบาก RDS คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up