รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
วัคซีน ไวรัสโรต้า

รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีน ไวรัสโรต้า
วัคซีน ไวรัสโรต้า

ไวรัสโรต้า

ชนิดของ วัคซีนโรต้า

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า มี 2 ชนิด ได้แก่

  1. วัคซีนชนิด Live attenuated human rotavirus vaccine มีชื่อการค้าว่า RotarixTM

ผลิตจากเชื้อไวรัสโรต้าที่มีชีวิตแต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง โดยเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวที่ได้จากมนุษย์ ทั้งนี้วัคซีน Rotarix สามารถเรียกว่าเป็น Monovalent vaccine (วัคซีนจากเชื้อชนิดเดียว) ได้ เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวที่แยกได้จากมนุษย์

รูปแบบวัคซีนนี้เป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (Oral suspension) ขนาด 1.5 มิลลิลิตรต่อโดส/ต่อการใช้ 1 ครั้ง บรรจุในหลอดยาพร้อมใช้ (Prefilled syringe)

  1. วัคซีนชนิด Bovine-human reassortant rotavirus vaccine มีชื่อการค้าว่า RotaTeqTM

ผลิตโดยการผสมกัน(Reassortment) ระหว่างเชื้อไวรัสโรต้าที่มีชีวิตแต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงที่มีที่มาจากมนุษย์และจากวัว ทั้งนี้วัคซีน RotaTeq สามารถเรียกว่าเป็น Pentavalent vaccine เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ผลิตขึ้นจากเชื้อไวรัสโรต้าจำนวน 5 ชนิดที่ได้จากมนุษย์และจากวัว รูปแบบวัคซีนนี้ เป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (Oral suspension)เช่นกัน ในขนาด 2 มิลลิลิตรต่อโดส บรรจุในหลอดพลาสติก

ได้มีการศึกษาถึงประสิทธิผลของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพบว่า ทั้ง RotarixTM และ RotaTeqTM มีประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า และมีอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ไม่แตกต่างกัน

กลไกการทำงานของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ วัคซีนฯ จะเสริมสร้างให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ ที่เรียกว่าเป็นภูมิคุ้มกันแบบ Active immunization วัตถุประสงค์ของการให้วัคซีนนี้ คือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า และถึงแม้ว่าวัคซีนนี้จะป้องกันโรคนี้ไม่ได้ทั้งหมดในเด็กทุกคนที่ได้รับวัคซีนนี้ แต่ก็ทำให้ความรุนแรงของโรคนี้ลดลงได้

ผลข้างเคียงจากวัคซีนโรต้า อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ภายหลังเด็กได้รับวัคซีนนี้ เช่น มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ท้องเสียเล็กน้อย อาเจียนไม่รุนแรง งอแง มีลมในท้องมาก ซึ่งอาการจะหายไปเองภายใน 1-2 วันหลังได้รับวัคซีน แต่ถ้าอาการเหล่านี้รุนแรง ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลด่วน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ตารางการรับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า

  1. วัคซีนชนิด RotarixTM หยอดทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน
  • ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน
  1. วัคซีนชนิด RotaTeqTM หยอดทั้งหมด 3 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน
  • ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน
  • ครั้งที่ 3 เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน

กรณีมารับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าไม่ตรงตามตารางเวลาที่กำหนด หรือรับวัคซีนไม่ครบ

กรณีเด็กได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าครั้งที่ 1 แล้ว แต่ไม่สามารถรับวัคซีนฯครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 ตรงตามตารางเวลาที่กำหนด การได้รับวัคซีนฯเข็มที่ 2 หรือ ที่3 ที่ล่าช้า มีหลักการให้ ดังนี้

  • หากนึกขึ้นได้ว่าต้องได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าครั้งที่ 2 หรือ 3 ในช่วงที่เด็กอายุยังน้อยกว่า 8 เดือน สามารถให้วัคซีนครั้งที่ 2 หรือ ที่3 ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นรับวัคซีนใหม่ตั้งแต่ครั้งแรก
  • หากนึกขึ้นได้ว่าต้องได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าครั้งที่ 2 หรือ 3 ในช่วงที่เด็กอายุเกินกว่า 8 เดือนแล้ว ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนครั้งที่ 2 หรือ 3 ที่ลืมไป เนื่องจากไม่มีข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้วัคซีนนี้ในช่วงอายุเกินกว่า 8 เดือน ทั้งนี้อาจขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลเด็กพิจารณา

อ่านต่อ บทความแนะนำ>> ตารางวัคซีน ตั้งแต่แรกเกิด-12 ขวบ ปี 2559

วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันเฉพาะโรคอุจจาระร่วง/ท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากสาเหตุอื่นได้ ภายหลังให้วัคซีนไวรัสโรต้าแก่เด็ก เด็กบางคนก็ยังอาจเกิดโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าได้ แต่อาการมักไม่รุนแรง

อ่านต่อ>> ตัวอย่างราคาวัคซีนโรต้า รพ.รัฐ และรพ.เอกชน คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up