สาเหตุของโรคไอกรน
ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อจากผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีการติดเชื้อไอกรน แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ถ้าลูกน้อยได้รับภูมิคุ้มกันมาจากแม่ไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต โดยทั่วไปโรคนี้ในวัยผู้ใหญ่จะไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่มีอาการไอกรน จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน
ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ ไอเป็นชุดๆ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนทำให้เด็กหายใจไม่ทัน มีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุดๆ สามารถติดต่อกันได้จากการไอ จาม เมื่อพบว่าลูกน้อยไอผิดปกติให้รีบรักษาโดยด่วน บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน
1.สัปดาห์ที่ 1 เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก ไอ เหมือนโรคหวัดธรรมดา มีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่จะสังเกตได้ว่าไอนานเกิน 10 วัน โดยไอแห้งๆ
- สัปดาห์ที่ 3 ไอเป็นชุดๆ ไม่มีเสมหะ เริ่มไอกรน ไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง หายใจเข้าดังวู๊ป