วิธีการสำรวจเต้านมด้วยตัวเอง
หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอแล้วแต่ยังมีความไม่เท่ากันอยู่ละก็ ทีมงานขอแนะนำให้คุณแม่ลองสำรวจเต้านมด้วยตัวเองง่าย ๆ กันก่อนค่ะ ซึ่งวิธีการมีดังนี้
- ให้สำรวจตัวเองผ่านหน้ากระจก ซึ่งวิธีการก็คือ ให้ยืนตัวตรง มือแนบลำตัว แล้วลองสังเกตลักษณะของเต้านมทั้ง 2 ข้างอย่างละเอียด เปรียบเทียบดูขนาด รูปร่างของหัวนม และการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในทุกส่วนของเต้านม เช่น รอยนูนที่ขึ้นผิดปกติ รอยบุ๋ม หัวนมบอด ระดับของหัวนมที่ไม่เท่ากัน มีแผล หรือมีเส้นเลือดใต้ผิวมากขึ้นผิดปกติหรือไม่ ซึ่งการสังเกตก็ให้เปรียบเทียบเต้านมทั้ง 2 ข้างว่าแตกต่างไปจากเดิม หรือผิดปกติไปจากอีกข้างหรือไม่ จากนั้นให้หันตัวเล็กน้อย เพื่อให้มองเห็นด้านข้างของเต้านมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วให้สังเกตความเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นให้ยกมือขึ้นทั้งสองข้าง เพื่อสังเกตความผิดปกติของรอยบุ๋มผิวหนังบริเวณเต้านมที่เกิดจากการดึงรั้ง เอามือเท้าสะเอวเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อสังเกตรอยดึงรั้งของผิวหนัง เมื่อไม่พบความผิดปกติจากการสังเกตที่เต้านมแล้ว ให้ทำในขั้นตอนถัดไป
- การคลำเต้านมในท่านั่ง วิธีนี้เป็นการตรวจให้ทั่วพื้นที่ของบริเวณเต้านมโดยรอบ เริ่มต้นให้ใช้ด้านฝ่ามือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บริเวณที่ค่อนไปทางปลายนิ้ว เพราะเป็นจุดที่ไวต่อการสัมผัส ให้คุณแม่คลำเต้านมในลักษณะคลึงเป็นก้นหอยเล็ก ๆ ไปตามเต้านม เนื่องจากตำแหน่งของเต้านมที่อยู่บนผนังหน้าอกเป็นตำแแหน่งที่สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งเต้านมได้ ต่อมาให้ลองสังเกตความผิดปกติว่ามีของเหลว หรือมีเลือดออกมาจากหัวนมในขณะที่กดบริเวณปานนมหรือไม่ แนะนำว่าการบีบบริเวณหัวนมควรทำอย่างเบามือ เพราะถ้าพบว่ามีความผิดปกติจริงจะมีน้ำ หรือเลือดออกจากหัวนมเมื่อมีการกดได้โดยไม่ต้องบีบเค้น จากนั้น ให้ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านมส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยให้ห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามอกหย่อนลง จะได้คลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
- การตรวจท่านอนราบ นอนในท่าสบาย สอดหมอน หรือม้วนผ้าไว้ใต้หัวไหล่ขาว (หาก ตรวจเต้านมด้านขวา) ยกแขนขวา เหนือ ศีรษะ เพื่อให้เต้านมขยาย ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง (ของมือซ้าย) คลำทั่วทั้งเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงไม่ใช่ ถ้าต้องการตรวจเต้านมด้านซ้ายให้เริ่มต้นทำซ้ำอีกครั้ง
- การตรวจในท่านั่ง ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยการห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนลง เนื่องจากหากกล้ามเนื้อตึงเกินไปจะไม่สามารถคลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งถ้าหากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าที่หน้าอกหรือ นมไม่เท่ากัน นั้นเป็นเพราะให้นมหรือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นละก็ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งนึงค่ะ
ขอบคุณที่มา: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด