ลูกตาเหลือง ตอนแรกเกิด ใช่อาการตัวเหลืองหรือไม่? - amarinbabyandkids
ลูกตาเหลือง

ลูกแรกเกิดมีตาขาวเป็นสีเหลือง ใช่อาการตัวเหลืองหรือไม่?

event
ลูกตาเหลือง
ลูกตาเหลือง

ลูกตาเหลือง

ทารกแรกเกิดตัวเหลืองเกิดจากอะไร?

ตัวเหลืองภายในสัปดาห์แรก เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน ซึ่งเป็นของเสีย ร่างกายต้องกำจัดออกทางตับ แต่ตับของทารกแรกเกิดยังทำงานไม่เต็มที่ กว่าจะเปิดสวิตช์ทำงาน ต้องสัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป

โดยอาการเริ่มจากใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ก่อนลามไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว ท้อง แขน ขา และอาจมีสีเหลืองชัดขึ้นเมื่อใช้ปลายนิ้วกด รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้

  • ตาขาวเป็นสีเหลือง
  • เหงือกเหลือง
  • ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ปกติปัสสาวะของเด็กแรกเกิดจะไม่มีสี
  • อุจจาระมีสีขาวซีดเหมือนสีชอล์ก ผิดจากปกติที่ควรเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม

ทั้งนี้ ภาวะตัวเหลืองที่รุนแรงอาจแสดงถึงปัญหาสุขภาพหรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการมีสารบิลิรูบินในเลือดมากเกินไปได้ ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที หากสังเกตพบอาการต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • ไม่ยอมดูดนม น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
  • แขน ขา และท้องเหลือง
  • เซื่องซึม เฉื่อยชา
  • ร้องไห้เสียงแหลม
  • ตัวเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ตัวเหลืองนานกว่า 3 สัปดาห์
  • มีอาการอื่น ๆ ที่น่าวิตกกังวล

เด็กบางคนเหลืองมากกว่าเด็กคนอื่น พบได้ในกรณี กรุ๊ปเลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน หรือเป็นพาหะของทาลัสซีเมีย หรือขาดเอนไซม์ G6PD หรือตับทำงานช้ากว่าชาวบ้านเขา เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกมีปัญหาติดเชื้อ

สาเหตุของเด็กตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากระดับสารบิลิรูบินหรือสารสีเหลืองในเลือดที่สูงมากเกินไป โดยสารนี้เกิดขึ้นเมื่อเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายแตกตัว ในภาวะปกติ บิลิรูบินในกระแสเลือดจะถูกส่งไปที่ตับและขับออกทางอุจจาระ แต่ในเด็กแรกเกิด ตับจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถกำจัดสารนี้ได้รวดเร็วพอ นอกจากนี้ภาวะเด็กตัวเหลืองอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน มีดังนี้

  • คลอดก่อนกำหนด ทารกอาจตัวเหลืองหากคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การได้รับนมแม่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองได้ โดยสาเหตุนั้นไม่แน่ชัด บางทฤษฎีคาดว่าในน้ำนมแม่อาจมีสารบางอย่างที่ส่งผลให้กระบวนการเปลี่ยนสารบิลิรูบินที่ตับบกพร่อง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรหยุดให้นม เนื่องจาก นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด และภาวะตัวเหลืองปกติจะหายไปได้เองในเวลาไม่กี่สัปดาห์
  • ภาวะหรือปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น
    • หมู่เลือดระบบเอบีโอเข้ากันไม่ได้ แม่และเด็กที่มีหมู่เลือดต่างกัน อาจทำให้เลือดผสมกันระหว่างอยู่ในครรภ์หรือขณะคลอด และเป็นสาเหตุให้เด็กตัวเหลืองได้
    • หมู่เลือดระบบอาร์เอชต่างกัน กรณีที่แม่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบและลูกมีหมู่เลือดอาร์เอชบวก ภูมิต้านทานที่แม่สร้างขึ้นจะทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกจนแตกออก ส่งผลให้เด็กมีภาวะตัวเหลืองตามมา โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 หรือคนที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น หญิงที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะนี้ในเด็กแรกเกิด
  • ภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เด็กที่มีภาวะขาดไทรอยด์ เนื่องจากไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง อาจส่งผลให้มีภาวะตัวเหลือง รวมทั้งอาจมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ เช่น หน้าบวม ลิ้นยื่น หรือสำลักบ่อย
  • โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่งผลให้เด็กมีภาวะตัวเหลือง อาเจียน งอแง ร้องไห้บ่อย ไม่ยอมดูดนม และมีไข้สูง
  • ท่อน้ำดีอุดตันหรือถุงน้ำดีผิดปกติ เช่น โรคท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด อาจก่อให้เกิดภาวะความเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมักมีอาการตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด มีไข้ น้ำหนักตัวลด รู้สึกคัน คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการปวดท้องด้านบนขวาร่วมด้วย
  • ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้า เป็นโรคที่ร่างกายขาดเอนไซม์ G6PD ซึ่งช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัวเร็วเกินไป จนมีสารบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้น
  • Crigler-Najjar Syndrome เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เด็กที่ป่วยด้วยภาวะนี้จะขาดเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปร่างหรือโครงสร้างของบิลิรูบิน เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกได้ง่าย ระดับบิลิรูบินในเลือดจึงสูงและมีอาการตัวเหลืองตามมา
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีภาวะตัวเหลือง รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง อุณหภูมิร่างกายต่ำ ปัสสาวะน้อย ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว อาเจียน เป็นต้น
  • ตับทำงานบกพร่อง อาจทำให้ไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกได้
  • ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เป็นภาวะที่ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้มีปริมาณบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้น
  • มีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น เลือดออกใต้กะโหลกศีรษะ เด็กที่มีภาวะนี้อาจรู้สึกเจ็บปวด งอแง ตัวเหลือง และอาจเกิดภาวะช็อกได้ หากมีเลือดออกมาก

อ่านต่อ >> “การรักษาหรือแก้ไขอาการตัวเหลือง” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up