ลูกเท้าบิดผิดรูปเรียก "เท้าปุก เท้าแป" คืออะไร รักษาได้หรือไม่ - Amarin Baby & Kids
เท้าปุก เท้าแป

ลูกเท้าบิดผิดรูปเรียก “เท้าปุก เท้าแป” คืออะไร รักษาได้หรือไม่

Alternative Textaccount_circle
event
เท้าปุก เท้าแป
เท้าปุก เท้าแป

วิธีการรักษา โรคเท้าแป

โรคเท้าแป ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่หากลูกรู้สึกเจ็บปวดหรือทรมานจากภาวะดังกล่าว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ซึ่งวิธีรักษาภาวะเท้าแปขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ ดังต่อไปนี้

เท้าปุก เท้าแป
วิธีรักษาโรคเท้าแป
  • วิธีบำบัดทางกายภาพ
    • ส่อุปกรณ์เสริมที่เท้า (Orthotic) การสวมอุปกรณ์เสริมนับเป็นขั้นแรกของการรักษาภาวะเท้าแป โดยอุปกรณ์เสริมจะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า โดยเด็กเล็กจะได้รับรองเท้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะจากแพทย์ เพื่อสวมใส่จนกว่าฝ่าเท้าจะเจริญเต็มที่
    • ออกกำลังยืดเส้น สำหรับเด็กที่เป็นโรคเท้าแป จากเอ็นร้อยหวายสั้นเกินไปอาจต้องออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันของขาส่วนล่าง โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำการออกกำลังกาย ท่าออกกำลังกายยืดเอ็นร้อนหวายเริ่มจากโน้มตัวไปข้างหน้ายันผนังไว้ ก้าวขาข้างหนึ่งมาด้านหน้างอเข่า ส่วนขาที่อยู่ข้างหลังยืดตรงและลงน้ำหนักที่ส้นเท้า ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ระหว่างที่ทำท่านี้ ควรให้ส้นเท้าราบไปกับพื้นทั้งหมด ปลายนิ้วเท้าของขาหลังอยู่ในทิศทางเดียวกับส้นเท้าของขาที่อยู่ด้านหน้า
    • สวมรองเท้าที่รับกับเท้า การสวมรองเท้าที่พอดีและรับกับรูปเท้าจะทำให้รู้สึกสบายเท้ามากกว่าการสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่รองรับเท้าของผู้สวมได้น้อย
    • ทำกายภาพบำบัด เด็กที่เท้าแปอาจได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจะช่วยวิเคราะห์ลักษณะการวิ่ง เพื่อช่วยปรับลักษณะและเทคนิคการวิ่งให้ดีขึ้น
  • การรักษาด้วยยา สำหรับเด็กที่เกิดอาการเจ็บเท้าเรื้อรังและเท้าอักเสบ จะได้รับยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
  • การผ่าตัด หากการรักษาภาวะเท้าแปวิธีอื่น ๆ ไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ หรือสาเหตุของภาวะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะผ่าตัดให้ แต่วิธีผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น  ผู้ป่วยเท้าแบนที่มีรูปกระดูกผิดปกติหรือติดกัน จำเป็นต้องผ่าตัดแยกกระดูกและยืดให้ตรง ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันจะได้รับการผ่าตัดรักษาเนื้อเยื่อที่เกิดปัญหา หรือผู้ที่เอ็นร้อยหวายสั้นเกินไป อาจได้รับการผ่าตัดเพื่อยืดเอ็นและลดอาการเจ็บปวดที่เท้า

โรค เท้าปุก เท้าแป สามารถรักษาให้หายขาดได้หากได้รับการดูแลตั้งแต่เล็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตว่าลูกมีอาการ เท้าปุก เท้าแป หรือไม่ หากสงสัยว่าอาจจะเป็น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

อ่านบทความดี ๆ เพิ่มเติม คลิก

พ่อแม่ควรระวัง! 5 โรคที่มาพร้อมจูบ

โรคเด็ก ที่พบบ่อย โรคในเด็ก ยอดฮิต พ่อแม่ต้องระวัง

นี่คือพัฒนาการ ความจำ ของลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

 

เครดิต: นาวาอากาศเอก นายแพทย์อำนวย จิระสิริกุล กองออร์โธปิดิกส์ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ., พ.ญ.ปาริชาต เทียบรัตน์ ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ (เฉพาะทางโรคกระดูกในเด็ก) โรงพยาบาลเวชธานี, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาศัลศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยแห่งไอโอว่า เมืองไอโอว่าซิตี้, พบแพทย์

 

Save

Save

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up