ตารางนอน "ทารก" นอนกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอต่อการเติบโต? - Amarin Baby & Kids
ทารกนอนน้อย

ตารางนอน “ทารก” นอนกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอต่อการเติบโต?

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกนอนน้อย
ทารกนอนน้อย

เรื่องนอนเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโต มาดูกันว่า ตารางนอน ของทารกและเด็กเล็กนั้น ต้องนอนกี่ชั่วโมง ตื่นกี่ครั้ง นอนนานแค่ไหน?

ตารางนอน “ทารก” นอนกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอต่อการเติบโต?

การตอนเป็นสิ่งสำคัญต่อสมอง หรือเราจะเรียกได้ว่า การนอนเป็นอาหารของสมองเลยก็ว่าได้ เพราะการนอนจะช่วยทำให้ร่างกายได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทานโรค สดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี คิดอ่านอะไรได้หลักแหลม จดจำสิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ไปได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะในทารกและเด็กในวัยที่กำลังเจริญเติบโต การนอนให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ตารางนอน ทารก…เด็กแต่ละวัยนอนแตกต่างกันอย่างไร?

ตารางนอน ของทารก แรกเกิด – 4 เดือน
แรกเกิด – 6 สัปดาห์ 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน
ช่วงเวลาที่ไม่นอน 45-60 นาที 1 ชม. 1-1.5 ชม. 1.25-1.75 ชม.
นอนวันละกี่ชม. 16-18 ชม. 15.5-18 ชม. 15.5-18 ชม. 14.5-16.5 ชม.
ช่วงกลางคืนนอนกี่ชม. 9-12 ชม. 9 -12 ชม. 9-12 ชม. 10-12 ชม.
นอนยาวแค่ไหน ทุกๆ 2-5 ชม. 5 ชม.ขึ้นไป 5-10 ชม. 8- 12 ชม.
จำนวนครั้งที่ตื่นมาทานนม ทุกๆ 2-5 ชม. 1-3 ครั้ง 1-2 ครั้ง 1 ครั้ง
ช่วงกลางวันนอนกี่ชม. 4-8 ชม. 4-8 ชม. 4-7 ชม. 3-7 ชม.
จำนวนครั้งที่นอนกลางวัน 4 ครั้งขึ้นไป 4ครั้งขึ้นไป 4 ครั้งขึ้นไป 3-4 ครั้ง
ไม่ควรนอนกลางวันเกินกี่โมง เลี่ยงการนอนยาวเกิน 2-2.5 ชม. เลี่ยงการนอนยาวเกิน 2-2.5 ชม. 17.00-17.30 น. 16.30 -17.00 น.
ควรพาเข้านอนตอนกี่โมง 19.00-23.00 น. 19.00-22.00 น. 19.00-22.00 น. 18.00 -20.00 น.
ตารางการนอนของทารก
ตารางการนอนของทารก
ตารางนอน ของทารก 5 เดือน – 8 เดือน
5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน
ช่วงเวลาที่ไม่นอน 1.5-2.25 ชม. 2.2.5 ชม. 2.25-2.75 ชม. 2.25-3 ชม.
นอนวันละกี่ชม. 14-16 ชม. 14-15.5 ชม. 14- 15.5 ชม. 14-15.5 ชม.
ช่วงกลางคืนนอนกี่ชม. 11-12 ชม. 11- 12 ชม. 11-12 ชม. 11-12 ชม.
นอนยาวแค่ไหน 8-12 ชม. 8- 12 ชม. 8-12 ชม. 8-12 ชม.
จำนวนครั้งที่ตื่นมาทานนม 0-1 ครั้ง 0- 1 ครั้ง 0-1 ครั้ง 0-1 ครั้ง
ช่วงกลางวันนอนกี่ชม. 3-5 ชม. 3- 5 ชม. 3-5 ชม. 3-5 ชม.
จำนวนครั้งที่นอนกลางวัน 3 ครั้ง 2-3 ครั้ง 2 -3 ครั้ง 2-3 ครั้ง
ไม่ควรนอนกลางวันเกินกี่โมง 16.30-17.00 น. 16.30- 17.00 น. 16.30-17.00 น. 16.00 น.
ควรพาเข้านอนตอนกี่โมง 18.00-20.00 น. 18.00-20.00 น. 18.00- 20.00 น. 18.00-20.00 น.

โดยปกติแล้ว เด็กวัยแรกเกิด – 4 เดือน จะมีภาวะหลับตื่นสลับกันไปตลอดทั้งวัน โดยการนอนแต่ละครั้งจะใช้เวลาเพียงสั้น ๆ จะยังไม่สามารถนอนได้ยาว เพราะต้องตื่นมาทานนมและขับถ่าย แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ก็จะเริ่มหลับกลางคืนได้ยาวขึ้น และเมื่ออายุ 6 เดือน จะสามารถหลับได้ 8-12 ชั่วโมงหรือหลับตลอดคืนได้ แต่ในเด็กบางคนก็จะยังสามารถตื่นได้ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งทารกบางคนสามารถกลับไปหลับต่อได้ด้วยตัวเอง แต่บางคนต้องการการกล่อมจึงจะหลับต่อได้

วัยเรียน วัยนี้ต้องการการนอนประมาณ 9 – 12ชั่วโมง ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนแตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกนอนพอหรือไม่ได้จากพฤติกรรมของลูกระหว่างวัน เช่น สามารถปลุกตื่นได้ง่าย ไม่ผล็อยหลับตอนกลางวัน (ถามได้จากคุณครู) และเมื่อเข้านอนสามารถหลับได้ภายใน 15 – 30 นาที
วัยรุ่น วัยนี้ต้องการเวลานอน 8 -10 ชั่วโมง แต่ลักษณะการนอนของเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนไปจากวัยเรียน โดยที่วัยรุ่นจะเข้านอนดึกและตื่นสายซึ่งเป็นภาวะปกติเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ดังนั้นในช่วงเปิดเทอมที่วัยรุ่นต้องมาโรงเรียนในตอนเช้าจะมีผลทำให้วัยรุ่นนอนไม่พอได้บ่อย และอาจกระทบต่อการเรียนของเขา และวัยรุ่นมักจะมานอนชดเชยในวันหยุด

สร้างลูกให้มีนิสัยการนอนที่ดีได้ด้วยสิ่งนี้!!

อยากให้ลูกนอนยาว นอนเยอะ ไม่ตื่นมาเล่นระหว่างคืน พ่อแม่สร้างได้!! รู้หรือไม่ว่าการนอนก็มีนิสัยด้วยนะ สิ่งที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวันโดยไม่รู้ตัว อาจเป็นการรบกวนการนอนของลูกน้อยได้ มาดูกันว่าสิ่งไหนควรทำเพื่อให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดี กล่อมนอนปุ๊ป หลับปั๊ป และสิ่งไหนควรหลีกเลี่ยงกันค่ะ

สิ่งที่ควรทำ

  • สร้างกิจวัตรก่อนนอนให้เป็นเวลาพิเศษที่จะพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย รู้หรือไม่ว่าการใช้ช่วงเวลาก่อนเข้านอนพูดคุยกัน อาจจะคุยกันในเรื่องที่โรงเรียนว่าลูกได้ไปเจออะไรมาบ้างที่โรงเรียน ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร จะเป็นช่วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็น Quality Time เลยก็ว่าได้ เพราะทั้งพ่อแม่และลูกได้ใช้เวลาร่วมกันโดยไม่มีอุปกรณ์สื่อสาร ทีวี หรือสิ่งเร้าใด ๆ มาดึงความสนใจ
  • ให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลา การสร้างนิสัยการนอนให้ตรงเวลา จำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เวลาในร่างกายของลูกได้เรียนรู้ว่าเมื่อถึงเวลานี้ จะรู้สึกง่วงนอน
  • บรรยากาศห้องนอน สำหรับเด็กเล็กสามารถใช้เสียงที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอไม่ดัง ไม่กระตุ้น เป็นเสียงที่ช่วยกล่อมให้เด็กนอน
  • สร้างกิจวัตรในระหว่างวันให้มีตารางเวลาสม่ำเสมอ
  • ควรปิดไฟ หรือ หรี่แสงไฟในห้องนอน เมื่อถึงเวลานอน และควรให้เด็กได้เจอแสงแดดธรรมชาติในเวลากลางวัน การนอนกลางวัน ไม่จำเป็นต้องทำให้ห้องมืดเหมือนเวลากลางคืน เพราะเราต้องการให้ลูกนอนกลางวันเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และนอนยาวในช่วงกลางคืน ดังนั้น ต้องสร้างสภาพแวดล้อมกลางวันและกลางคืนให้แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกได้รู้ว่าช่วงไหนควรนอนยาว
ทารกนอนน้อย
ทารกนอนน้อย

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เร้าความตื่นเต้น หรือ กิจกรรมที่ต้องเผชิญกับแสงที่จ้ามากเกินในช่วงเวลา 2 – 3 ชั่วโมงก่อนนอน หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการเล่นกับลูกก่อนนอน ก็ควรเลือกกิจกรรมที่ไม่ใช้แรงหรือตื่นเต้นมากเกินไป กิจกรรมที่ควรทำก่อนนอน อาจเป็นการอ่านนิทานก่อนนอน หรือเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ก่อนนอน
  • ในทารกควรเลี่ยงการให้เด็กหลับคาขวดนม
  • อย่าให้การนอนเกิดจากการขู่ หรือ เป็นการลงโทษจากการทำความผิด ควรสอนให้เด็กรับรู้ว่าการนอนเป็นเวลาของความสุข
  • หลีกเลี่ยงการเอาของเล่นมาให้เด็กเล่นเมื่อถึงเวลานอน
  • หลีกเลี่ยงอาหารหนัก หรือ ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ (หากทารกทานนมแม่ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบเช่นกันค่ะ) อ่านต่อ หมอตอบชัด!!แม่ให้นมกินน้ำอัดลม ชา กาแฟ คาเฟอีนส่งถึงลูกไหม

ตารางนอน ทารกนี้เป็นเพียงการกำหนดคร่าว ๆ เท่านั้นว่าทารกในวัยต่าง ๆ ควรนอนกี่ชั่วโมง ตื่นกี่ชั่วโมง แต่เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในเด็กบางคน อาจจะมีช่วงเวลาการนอนที่แตกต่างจากใน ตารางนอน นี้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อย่ากังวลนะคะ หากจำนวนชั่วโมงของการนอนแต่ละวัน ไม่ต่ำกว่าในตาราง ก็ถือได้ว่าลูกนอนเพียงพอแล้วค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแชร์เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกนอนเอง นอนยาว แบบ “Cry it out”

คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย

“ฝึกลูกนอนคว่ำ” อันตราย! เสี่ยงขาดอากาศหายใจ

บีบดั้ง ดึงจมูกลูก ตั้งแต่เล็ก ช่วยจมูกโด่งจริงหรือไม่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล, www.pinterest.clkinderscape.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up