"ตัวเหลือง" อันตรายใกล้ตัวลูกน้อย!! เพราะดื่มนมแม่ไม่เพียงพอ - amarinbabyandkids
ตัวเหลือง

ลูกตัวเหลือง อันตรายใกล้ตัว!! ที่คุณแม่อาจไม่รู้

Alternative Textaccount_circle
event
ตัวเหลือง
ตัวเหลือง

ลูกตัวเหลืองหลังออกจากโรงพยาบาล เพราะอะไร?

  1. กรุ๊ปเลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน หรือ เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย หรือ ขาดเอนไซม์ หรือ ตับทำงานช้ากว่าคนอื่น เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีปัญหาติดเชื้อ
  2. ลูกตัวเหลืองเพราะดื่มนมแม่ไม่เพียงพอ หรือดื่มนมแม่ผิดวิธี ถ้าทารกได้ดื่มนมแม่น้อย ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการขับถ่ายออกมาน้อยไปด้วย ซึ่งทำให้มีการสะสมของสารบิลิรูบินสูงในกระแสเลือด

ลูกตัวเหลืองทำให้เกิดผลเสียอะไร?

ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้เกิดอาการชัก และทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร นอกจากนี้ยังพบว่า 25% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ I.Q. ต่ำ หรือ ความฉลาดลดลงได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปกติได้อีกด้วย

จะรักษาหรือแก้ไขอาการตัวเหลืองได้อย่างไร?

การขับสารเหลืองออกจากร่างกายทางหนึ่ง คือ การขับออกทางอุจจาระ หากใครตัวเหลืองแล้วได้กินนมแม่ จะทำให้อึบ่อย ตัวเหลืองจะลดลงได้เร็ว หากกินนมผง จะท้องผูก สารเหลืองจะขับออกได้ช้ากว่า หากกินน้ำ จะทำให้อิ่มน้ำ ไม่อยากกินนมแม่ ทำให้มีฉี่ออก แต่ไม่มีอึ จะไม่ช่วยลดค่าเหลืองค่ะ

วิธีการรักษาภาวะตัวเหลืองภายในสัปดาห์แรก เด็กครบกำหนด หากเหลืองเกิน 13, 17, 20 ภายใน วันแรก วันที่สอง และวันที่สามตามลำดับ จะรักษาโดยการถ่ายเลือดค่ะ เพราะเหลืองมากจะทำให้สารเหลืองซึมเข้าสู่สมอง มีผลทำให้สมองทำงานผิดปกติ เน้นอีกครั้งค่ะ กรณีเหล่านี้ เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มากผิดปกติอย่างมาก เช่น กรุ๊ปเลือดหมู่เล็กไม่เข้ากัน (หมู่ Rh) หากระดับอยูที่ 8, 12, 15 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังคลอด รักษาโดยการส่องไฟ หากต่ำกว่านั้น กลับบ้านไปตากแดดที่บ้านได้ และเน้นย้ำให้กินนมแม่ให้มากที่สุด ให้อึบ่อยที่สุด การเหลืองจะลดเร็วที่สุดค่ะ

การรักษาภาวะตัวเหลืองด้วยวิธีส่องไฟ

เนื่องจากตับของทารกเกิดก่อนกำหนดยังทำงานไม่เต็มที่ จึงเกิดปัญหาตัวเหลืองได้บ่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการส่องไฟ

ในกรณีที่ลูกน้อยต้องเข้าตู้อบ ให้ออกซิเจนเพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น และส่องไฟเพื่อรักษาตัวเหลืองนั้น ประโยชน์ของออกซิเจนคือช่วยให้ลูกรอดชีวิต แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายจากพิษของออกซิเจนต่อหลอดลม เนื้อปอด และจอประสาทตา ดังนั้นจะต้องมีแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

ข้อห้ามในการส่องไฟมีข้อเดียวคือ กรณีเหลืองจากโรคตับอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน เพราะจะไม่ลดสารเหลืองที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าว แต่ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นสีเหมือนทองแดง (Bronze baby syndrome)


เครดิต: breastfeedingthai.com, littlebebe.net, คุณหมอสุธีรา, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย, สสส, haamor.com, โรงพยาบาลไทยนครินทร์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up