BPA free สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร? - Amarin Baby & Kids

BPA free สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event

พ่อแม่มักจะตื่นเต้นกับเด็กๆในขวบปีแรกๆ และหวังว่าลูกๆของพวกเขาจะได้เริ่มต้นชีวิตที่มีความสุขและมีสุขภาพดี…แต่โชคร้ายที่มีพ่อแม่หลายคนไม่มีข้อมูลความรู้เพียงพอที่จะป้องกันลูกๆ ของพวกเขาจากพิษสารเคมี!!!

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารหรือขวดนมสำหรับทารกนั้น จะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย BPA free ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เปรียบเหมือนส่วนหนึ่งของป้ายโฆษณาเครื่องหมายการค้าที่ขาดไม่ได้ และสัญลักษณ์นี้สำคัญอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

BPA คืออะไร?

ในปัจจุบัน คงเป็นที่คุ้นหูกันดีกับคำว่า BPA Free หรือ การปลอดสาร BPA ซึ่งคำว่า BPA นี้ มีที่มาจากสาร Bisphenol A ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่นำมาใช้ในการทำพลาสติกใส สำหรับใช้เป็น ภาชนะบรรจุอาหาร ขวดน้ำ ขวดนมเด็ก ถ้วยหัดดื่ม เป็นต้น ซึ่งค้นพบตั้งแต่ปี 1891 และได้นำมาใช้กับการผลิตพลาสติกในปี 1950 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีนักวิจัยค้นพบถึงความเป็นไปได้ที่ว่า สาร BPA มีผลต่อสุขภาพในช่วงการตั้งครรภ์ และการพัฒนาการในเด็ก

shutterstock_222833497

ซึ่งในปี 2010 ประเทศแคนาดาได้ประกาศออกมาว่า สาร BPA เป็นสารพิษ และต่อมาในปี 2012 องค์การอาหารและยา ได้ประกาศห้ามใช้สาร BPA กับของใช้เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวดนม ในหลายองค์กรได้เสนอให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อาจมีพิษในกระป๋องของสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก รวมถึงของใช้เด็กด้วย ซึ่งข้อเสนอนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตบรรจุภัณฑ์และของใช้เด็ก

โทษของ BPA

  • มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
  • มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
  • เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนและไฮเปอร์แอคทีฟ
  • ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
  • ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใดก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
  • ที่สำคัญคือ เด็กทารกเมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
  • สาร BPA ยังช่วยเร่งการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง และยังลดการผลิตสเปิร์มในผู้ชายอีกด้วย
  • ในหญิงตั้งครรภ์ หากได้รับสารBPA จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความผิดปกติของโครโมโซม อาจทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม (โรคไฮเปอร์) Hyperactivity หรือแท้ง นอกจากนี้ BPA ยังส่งผลถึงจิตใจซึ่งอาจจะทำให้แม่และลูกที่เกิดมาไม่มีความรู้สึกของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน (Bonding)

พลาสติกตัวไหน-ปลอดภัยบ้างนะ

BPA เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

BPA มีคุณสมบัติ ช่วยให้ขวดนม หรือพลาสติก มีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย แต่เมื่อบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์ที่มีสาร BPA ก็เท่ากับว่าได้รับสารเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งภาชนะที่ทำด้วยสาร BPA สามารถซึมลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่ม ได้ เมื่อภาชนะนั้นสัมผัสความร้อน เช่น การต้ม นึ่ง หรือสเตอริไลซ์พลาสติกทำให้สารพิษหลุดและร่อนออกมาปะปนในอาหารยิ่งขึ้น สาร BPA จะแทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่มีสาร BPA เช่น ขวดนม ขวดน้ำพลาสติก กล่องบรรจุอาหาร แล้วจึงเข้าสู่ร่างกายเมื่อรับประทานหรือดื่มเข้าไป

อ่านต่อ >> วิธีการหลีกเลี่ยงจากสารอันตราย Bisphenol A (BPA)” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up