วิธีการหลีกเลี่ยงจากสารอันตราย Bisphenol A (BPA)
>> จากผลการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับผลกระทบของสาร BPA โดยเฉพาะในเด็ก จึงทำให้สินค้าเกี่ยวกับของใช้เด็กหลายยี่ห้อระดับโลกได้คำนึงถึงและให้ความใส่ใจกับประเด็นนี้กันจำนวนมาก โดยหันมาผลิตของใช้เด็ก เช่น ของเล่นเด็กและขวดนม โดยใช้พลาสติกที่ปราศจากสาร BPA หรือ BPA Free กันมากขึ้น … อย่างไรก็ตามหากยังไม่มั่นใจ ก็สามารถอ่านรายละเอียดได้ว่าของใช้เด็กนั้นผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีโพลเพลีน (Polypropylene – PP) หรือไม่ ซึ่งพลาสติกประเภทโพลีโพลเพลีนนี้ เป็นพลาสติกที่ปราศจากสาร BPA หรือ BPA Free ได้รับรองจาก FDA (Food and Drug Administration คือ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้สามารถใช้ PP ผลิตอุปกรณ์ขวดนมสำหรับเด็กอ่อนได้ ส่วนวัตถุดิบตัวเลือกชนิดอื่น ๆ แม้ว่าจะมีการรับรอง หลายชนิดยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหาสารอื่นที่มีอันตรายเพิ่มเติม ส่วนพลาสติกที่ผสมสาร BPA เรียกว่า พลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonates – PC)
ในขวดนมหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มีตัวเลข 7 และกำกับด้วยข้อความ OTHER เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้เป็นพวก โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) และภาชนะพลาสติกประเภทรีไซเคิลที่มี เลข 3 ประเภท PVC ซึ่งทำให้สาร Bisphenol A จะสามารถปนเปื้อนออกมาจากภาชนะได้ถ้าภาชนะชิ้นนั้นสัมผัสกับความร้อน และหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ ภาชนะปลอดสาร Bisphenol A ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด โดยสังเกตสัญญาลักษณ์ BPA Free
รวมถึงควรหลีกเลี่ยง ผลิตภัณฑ์บรรจุเครื่องดื่ม หรืออาหาร ที่มีสัญลักษณ์ของ #3-PVC #6-PS หรือ #7-Polycarbonate แต่สามารถใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ #1-PET, #2-HDPE, #4-LDPE และ #5-PP ได้อย่างปลอดภัย