ดนตรีพัฒนาสมอง เด็กคลอดก่อนกำหนดได้อย่างไร นักวิจัยเผยดนตรีสามารถช่วยพัฒนาสมอง และระบบประสาทอันบอบบางของเด็กกลุ่มนี้ได้ ถือเป็นงานวิจัยที่น่ายินดี
วิจัยสำเร็จ!! ดนตรีพัฒนาสมอง เด็กคลอดก่อนกำหนดได้
วิธีนี้ได้ผล!! นักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ อันเดรส์ ฟอลเลนไวเดอร์ (Andreas Vollenweider) พบว่า การเปิดเพลงที่แต่งขึ้นมาเป็นพิเศษให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดฟัง มีส่วนช่วยพัฒนาสมองที่บอบบางของพวกเขา
ทารกที่เกิดก่อนครบกำหนดอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ทารกเหล่านี้ ต้องฟังบทเพลงพิเศษเพื่อช่วยพัฒนาระบบประสาท ผลการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้ฟังเพลง มีกิจกรรมทางสมองที่ดีขึ้น
เด็กคลอดก่อนกำหนด กับเพลงพิเศษเพื่อพวกเขา
ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดทารกก่อนหรืออายุครรภ์เท่ากับ 37 สัปดาห์เป็นทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค และการเสียชีวิต เนื่องจากอวัยวะระบบต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทารกยิ่งคลอดก่อนกำหนดเร็วก็ยิ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะในระบบต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น จากสถิติพบว่าอัตราการเกิดของเด็กไทยในปัจจุบันประมาณ 800,000 คนต่อปี มีอัตราการเกิดของเด็กคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 8-10 ต่อปี ส่งผลให้อวัยวะของทารกพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้ทารกคลอดก่อนกำหนดจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อช่วยให้ทารกรอดชีวิตและมีความพิการหลงเหลือน้อยที่สุด
ขณะที่ความก้าวหน้าของการแพทย์ในปัจจุบันทำให้พวกเขามีโอกาสรอดชีวิตได้ดี แต่เด็กคลอดก่อนกำหนดเหล่านี้จะมีความเสี่ยงสูงอีกอย่างหนึ่งที่จะเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท หออภิบาลทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา (HUG) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับเด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนด ระหว่างสัปดาห์ที่ 24 -32 ของการตั้งครรภ์ เรียกได้ว่าเกือบสี่เดือนก่อนกำหนด และเกือบครึ่งหนึ่งจะพัฒนาความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท รวมถึงปัญหาในการเรียนรู้ความผิดปกติทางความตั้งใจ หรือทางอารมณ์ โดยกล่าวว่า “ในช่วงแรกเกิดสมองของทารกเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์ ประกอบกับการพัฒนาสมองต้องดำเนินไปในห้องผู้ป่วยหนักในตู้อบ สมองที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์บวกกับสภาพแวดล้อมที่รบกวนการพัฒนา จึงอธิบายได้ว่าทำไมโครงข่ายประสาทจึงไม่พัฒนาตามปกติ” Petra Hüppi ศาสตราจารย์ UNIGE คณะแพทยศาสตร์และหัวหน้ากองพัฒนาและเติบโต HUG อธิบาย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจนีวา (UNIGE) และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา (HUG) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เสนอวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เพลงมาใช้บำบัด โดยเป็นเพลงที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะสำหรับเด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนด และผลงานแรกตีพิมพ์ในProceedings of the National Academy of Sciences(PNAS) ในสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ: ภาพทางการแพทย์เผยให้เห็นว่าโครงข่ายประสาทของทารกคลอดก่อนกำหนดที่เคยฟังเพลงนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของประสาทสัมผัสและการรับรู้จำนวนมากกำลังพัฒนาได้ดีขึ้นมาก
ดนตรีพัฒนาสมอง
เริ่มต้นแนวคิด
นักวิจัยชาวเจนีวาเริ่มต้นจากแนวคิดที่ต้องการจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กคลอดก่อนกำหนดให้มีสภาวะที่ดี ไม่เครียด เสริมสร้างด้วยสิ่งที่น่ารื่นรมย์ และการจัดโครงสร้างสิ่งเร้า โดยเชื่อว่า เพลง หรือดนตรีจะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะในช่วงแรก ระบบการได้ยินของเด็กยังสามารถใช้งานได้ดี แต่จะเพลงแบบไหนกันละ?
เพลงนี้เพื่อเธอ
Lara Lordier ปริญญาเอกด้านประสาทวิทยา และนักวิจัยที่ HUG และ UNIGE เปิดเผยกระบวนการสร้างดนตรี “สิ่งสำคัญคือสิ่งเร้าทางดนตรีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสภาพของทารก เราต้องการจัดช่วงเวลาในแต่ละวันด้วยสิ่งเร้าที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ดนตรีที่เข้ากับช่วงเวลาการตื่นของพวกเขา ดนตรีที่เข้ากับการเข้านอน การหลับของพวกเขา และดนตรีที่จะตอบสนองในช่วงระหว่างก่อนการตื่นนอน ” ในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยอายุน้อยเหล่านี้ Andreas Vollenweider นักดนตรียุคใหม่ที่นิยมใช้พิณอิเล็กโทรอะคูสติกที่ดัดแปลงตามแบบของเขาเอง ซึ่งเคยดำเนินโครงการดนตรีกับกลุ่มประชากรที่เปราะบางอยู่แล้ว ได้สนใจเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ เขาได้เล่นเครื่องดนตรีหลายชนิดให้กับทารก โดยมีพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลสนับสนุนพัฒนาการ “เครื่องดนตรีที่สร้างปฏิกิริยาได้มากที่สุด คือ ฟลุตนักชกงูของอินเดีย (ปุนจิ)” ลาร่าลอร์ดเยอร์เล่า “เด็กที่ตื่นตระหนกสงบลงเกือบจะในทันที ความสนใจของพวกเขาถูกดึงดูดไปที่เพลง!”
การเชื่อมต่อการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านดนตรี
การศึกษานี้ดำเนินการโดยการศึกษาแบบ double-blind กับกลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนดที่ฟังเพลง กลุ่มควบคุมทารกคลอดก่อนกำหนด และกลุ่มควบคุมของทารกอายุครบกำหนด เพื่อประเมินพัฒนาการทางสมอง พบว่าพัฒนาการทางสมองของทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการฟังเพลงมีความคล้ายคลึงกับเด็กทารกอายุครบกำหนดมากกว่ากลุ่มเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่ได้ฟังเพลง
หากไม่มีดนตรีทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีการเชื่อมต่อระหว่างสมองน้อยกว่าทารกที่มีอายุครบกำหนด ซึ่งเป็นการยืนยันถึงผลเสียของการคลอดก่อนกำหนด “เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเครือข่ายของประสาทการทำงานของประสาทสัมผัส และการรับรู้ ที่มีความสำคัญในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคม และการจัดการอารมณ์”
สรุป
การปรับสภาพแวดล้อมให้แก่เด็กคลอดก่อนกำหนด ที่ต้องอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก ในตู้อบ ที่เต็มไปด้วยเสียงเปิดปิดประตู เสียงสัญญาณเตือน โดยปรับสภาพแวดล้อมด้วยการใช้ดนตรีบำบัดนั้น สามารถสงบอารมณ์ของเด็กกลุ่มนี้ได้ดี ในแง่ของการใช้ดนตรีพัฒนาสมองกับเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดนั้น ก็มีผลการวิจัยที่มีนัยสำคัญ แสดงการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างระบบประสาท the salience network and auditory, sensorimotor, frontal, thalamus and precuneus networks ที่เพิ่มขึ้นของเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้ฟังเพลงพิเศษของ Andreas Vollenweider จนคล้ายคลึงกับของทารกอายุครบกำหนดคลอด
การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Swiss National Science Foundation และมูลนิธิ Prim’Enfance Foundation
ข้อมูลอ้างอิงจาก Materials provided by Université de Genève./www.sciencedaily.com/ Note: Content may be edited for style and length.
ดนตรีบำบัด
คนที่ใช้ดนตรีบำบัดไม่จำเป็นว่าจะต้องป่วยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะดนตรีบำบัดนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้ว ดนตรียังช่วยพัฒนา และผลักดันศักยภาพรวมถึงทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น การทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการทำดนตรีบำบัด ดังนั้น คนที่มีอาการเครียดแต่ยังไม่ถึงกับมีอาการซึมเศร้าก็สามารถใช้ดนตรีบำบัดในการผ่อนคลายได้เช่นเดียวกัน แต่การใช้ดนตรีบำบัดก็แตกต่างกับการฟังดนตรีทั่วไป เพราะการบำบัดจำเป็นต้องให้คนฟังที่บำบัดเข้าถึง และมีสัมพันธภาพทางการบำบัด มีความสัมพันธ์กับเพลง เกิดความเชื่อใจ และมีเป้าหมายในการบำบัดชัดเจน
1. เพิ่มคุณภาพชีวิต
2. การจัดการความเครียด
3. การกระตุ้นความจำ
4. เพิ่มทักษะการสื่อสาร
5. บรรเทาอาการเจ็บปวด
6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
7. ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม
ข้อมูลอ้างอิงจาก รพ.เปาโล
ข้อดีของดนตรีนั้นยังมีอีกมากมาย หลากหลาย ในปัจจุบันนักวิจัยต่างก็ช่วยกันคิดค้น ปรับปรุง พัฒนาให้ดนตรีเข้ามามีส่วนช่วยให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งยังพบงานวิจัยอีกมากที่แสดงให้เห็นว่า ดนตรีสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะนอกจากการวิจัยดังกล่าวที่สามารถสรุปได้ว่า ดนตรีพัฒนาสมอง เด็กทารกคลอดก่อนกำหนดได้ ยังมีงานวิจัยที่ได้ค้นพบว่าดนตรี เพลงโมสาร์ทก็สามารถส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และระยะเวลาการนอนหลับในทารกเกิดก่อนกำหนดได้เช่นกัน จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นี่เป็นเพียงตัวอย่างจากอีกหลาย ๆ การวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของดนตรี ดังนั้น วันนี้คุณได้เปิดเพลงให้คนที่คุณรักฟังกันแล้วหรือยัง?
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
กรมอนามัยเผย คนท้องติดเชื้อโควิด เสี่ยงป่วยหนัก แนะฉีดวัคซีนป้องกัน! หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่