มาทำความรู้จักเต้านมของคุณแม่กันสักหน่อย เพื่อให้คุณแม่ได้ใช้ในการให้นมลูกน้อยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากช่วงตั้งท้อง เต้านมจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่หลายคนอาจเกิดคำถามว่า ความจุในการเก็บน้ำนม ของคุณแม่มีประมาณเท่าไหร่? ไปอ่านคำตอบกันเลยค่ะ
พัฒนาการของเต้านม
1.หลังจากปฏิสนธิประมาณ 4 สัปดาห์ เต้านม และท่อน้ำนมจะถูกพัฒนาขึ้นมา
2.เมื่อถึงวัยแรกเกิด – 2 ขวบแรก จะยังมีฮอร์โมนจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือ ทำให้คัดเต้านมคัด บางครั้งอาจมีน้ำนมไหลออกมา เต้านมจะพัฒนาอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
3.เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเต้านมจะขยายขนาด และสะสมไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ขนาดของเต้านมบอกถึงความจุในการเก็บน้ำนม
4.เมื่อตั้งท้อง ฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่จะสังเกตได้เมื่อตั้งท้องได้ 3 เดือน ขนาดของหัวนม และลานนมขยาย และสีเข้มขึ้น เต้านมตึง ขยายขนาด ซึ่งมีการขยายของต่อมผลิตน้ำนมข้างใน มีความรู้สึกไวต่อการสัมผัส ลานนมจะมีต่อมน้ำมันเป็นตุ่มๆ เหมือนสิว เพื่อขับน้ำมันสร้างความชุ่มชื้น ช่วยให้ลานนมนุ่ม เพื่อให้ลูกน้อยดูดได้ และประมาณเดือนที่ 4 – 6 จะเริ่มมีการผลิตน้ำนม
5.เมื่อหลังคลอด อาการคัดตึงเต้าจะไม่มีให้เห็น ถ้าน้ำนมถูกระบายออกไปอย่างพอเพียง แสดงว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ ควรให้ลูกดูดนมบ่อยๆ หลังจาก 3 เดือน คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมน้อยลง การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องปกติ
การดูแลเต้านมหลังคลอด
1.อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้แห้ง หลีกเลี่ยงครีมทาหัวนม เพราะจะอุดตันต่อมน้ำมันที่ลานนม
2.หลีกเลี่ยงการขัด ถูที่หัวนม กำจัดไขมันบนหัวนม เพราะอาจทำให้เกิดแผล สวมยกทรงที่พอดี
3.ถ้ามีน้ำนมหยดไหล ให้ใช้แผ่นซับน้ำนมที่มีทั้งแบบผ้า ทำความสะอาดง่ายและประหยัดสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่สะดวกพกพาง่าย มีให้เลือกหลากหลายในท้องตลาด