ไขข้อข้องใจ ลูกหลับยาวควรปลุก ให้ลูกเข้าเต้า หรือไม่? - Amarin Baby & Kids
ให้ลูกเข้าเต้า

ไขข้อข้องใจ ลูกหลับยาวควรปลุก ให้ลูกเข้าเต้า หรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
ให้ลูกเข้าเต้า
ให้ลูกเข้าเต้า

ให้ลูกเข้าเต้า – ยามที่เจ้าตัวน้อยอายุไม่กี่สัปดาห์ของคุณกำลังนอนหลับสบายอยู่บนเปลอันแสนอบอุ่น เชื่อว่าไม่มีคุณแม่คนไหนอยากจะปลุกหรืออุ้มเจ้าตัวเล็กขึ้นมาแม้จะถึงเวลาให้นมก็ตาม บางครั้งคุณแม่อาจไปอ่านเจอคำแนะนำในตำราเลี้ยงลูกเล่มหนา ที่กล่าไว้ว่า “อย่าปลุกทารกที่กำลังหลับ” ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นคำแนะนำที่ดี  อย่างไรก็ตามมีบางสถานการณ์ที่การปลุกลูกน้อยของคุณให้ตื่นขึ้น เช่น ปลุกให้กินนมหรือเข้าเต้าย่อมดีต่อการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้นวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเวลาที่คุณต้องปลุกทารกแรกเกิดเพื่อให้พวกเขาท้องไม่ว่าง ตลอดจนระยะเวลาที่คุณสามารถปล่อยให้ทารกแรกเกิดนอนหลับโดยไม่กินอะไรได้ และวิธีที่ดีที่สุดในการปลุกทารกแรกเกิดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ไขข้อข้องใจ ลูกหลับยาวควรปลุก ให้ลูกเข้าเต้า หรือไม่?

กุมารแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้คุณปลุกลูกน้อยของคุณหากถึงกำหนดเวลาต้องให้อาหารทั้งกลางวันและกลางคืน ทารกไม่ควรนอนหลับยาวโดยไม่ได้รับสารอาหารเกิน 3-4 ชั่วโมง ดังนั้น แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ลูกน้อยของคุณจะส่งสัญญาณความหิวต่างๆ ให้คุณทราบเมื่อพวกเขาพร้อมที่จะทาน แต่คุณสามารถปลุกพวกเขาได้หากผ่านไปเกิน 4 ชั่วโมง

ทารกจำเป็นต้องได้รับอาหารในช่วงกลางคืนเป็นระยะเวลาหนึ่งหลังคลอด แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นและนอนหลับสบายตลอดทั้งคืนคุณจะต้องแน่ใจว่าพวกเขาได้รับอาหารเพียงพอในระหว่างวัน ดังนั้นคุณจึงสามารถปลุกพวกเขาจากการงีบหลับตอนกลางวันได้หากเกินเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณจะไม่พลาดแคลอรี่ที่ร่างกายของลูกต้องการเพื่อใช้สร้างการเจริญเติบโตในแต่วัน

การปลุกทารกแรกเกิดของคุณเป็นเรื่องปกติสำหรับพ่อแม่มือใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับอาหารเพียงพอ นอกจากนี้ยังแนะนำสำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อให้ทารกอยู่ที่เต้านมบ่อยเพียงพอที่ร่างกายของแม่จะรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมให้มากขึ้น  ต่อไปเรามาดูเหตุผลสำคัญที่คุณควรปลุกให้ลูกเข้าเต้าหรือป้อนนมค่ะ

1.ท้องของลูกน้อยว่างเปล่าได้ง่าย

ระบบย่อยอาหารของทารกย่อยนมแม่ได้ง่ายและรวดเร็ว การย่อยอาหารที่รวดเร็ว ประกอบกับท้องเล็กๆ ของลูกน้อยของคุณที่ใหญ่กว่าลูกปิงปองเพียงเล็กน้อยเหมายความว่าลูกน้อยของคุณมีความต้องการทางสรีรวิทยาในการดูดนมทุกๆ สองถึงสามชั่วโมง ทารกที่กินนมสูตรหรือนมผงสามารถใช้เวลาสามถึงสี่ชั่วโมงระหว่างการให้อาหารในช่วงเดือนแรก เนื่องจากนมผงใช้เวลาในการย่อยนานกว่า

2. ลูกของคุณอาจจะงีบหลับด้วยความหิว

ส่วนใหญ่แล้ว ลูกน้อยของคุณจะส่งสัญญาณความหิวให้รู้ เช่น การจับริมฝีปาก และการดูดนิ้ว หรือส่งเสียงร้องไห้จ้าเมื่อท้องของเขาว่างเปล่า ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าได้เวลาที่คุณต้องเตรียมอาหารของลูกให้พร้อมไม่เช่นนั้นเขาอาจหลับไปจนถึงขั้นหลับลึกได้

3. ลูกของคุณต้องการเพิ่มน้ำหนัก

การกินไม่เพียงพอจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้าในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดมักจะสูญเสียน้ำหนักตัวระหว่าง 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดในวันหลังคลอด พวกเขาต้องใช้เวลาสองสามสัปดาห์แรกเพื่อให้ได้น้ำหนักที่หายไปนั้นกลับคืนมา ซึ่งได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในช่วงสองสามวันแรกอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เชื่อมโยงกับโรคดีซ่านหรืออาการตัวเหลือง และ น้ำตาลในเลือดต่ำได้

4. ร่างกายแม่ให้นมต้องเพิ่มปริมาณน้ำนม

การให้ลูกเข้าเต้าไม่เพียงพออาจทำให้การผลิตน้ำนมของคุณช้าลง คุณต้องสร้างวงจรอุปสงค์และอุปทานที่คอยสูบฉีดน้ำนมในปริมาณที่สมบูรณ์แบบเพื่อตอบสนองความต้องการของทารก หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีการถ่ายออก อาจทำให้จำนวนน้ำนมที่ร่างกายคุณผลิตได้ลดลง ด้วยเหตุผลต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ คุณแม่ควรพยายามปลุกทารกที่กำลังหลับอย่างนุ่มนวลเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

วิธีปลุก ให้ลูกเข้าเต้า

ทารกแรกเกิดเป็นมนุษย์ตัวน้อยที่ดูเหมือนจะง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งหมายความว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะปลุกพวกเขาเมื่อถึงเวลา (โดยเฉพาะตอนกลางดึก) นอกจากนี้ การดูดนมเป็นตัวกระตุ้นการนอนหลับชั้นดี ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณไม่หลับไปในระหว่างการให้นม

ประมาณสัปดาห์ที่ 6 คุณและลูกจะเข้าสู่จังหวะการกินและนอนตามปกติ แม้ว่าบางครั้งอาจขึ้นความต้องการเฉพาะตัวของลูกน้อยก็ตาม เช่น เด็กบางคนต้องการดูดนมทุก ๆ สองชั่วโมงเหมือนเครื่องจักร ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ จะใช้เวลาสามถึงสี่ชั่วโมงอย่างมีความสุขระหว่างมื้ออาหาร ทารกที่เลี้ยงด้วยนมผงอาจแตกต่างกันไปตามตารางการให้อาหารและการนอนหลับของพวกเขา

ช่วงเวลาในการต้องปลุกลูกเพื่อให้นมจะค่อยๆ ลดลงได้ เมื่อลูกของคุณโตขึ้น เมื่ออายุได้ 6 เดือน ลูกน้อยของคุณพร้อมที่จะเริ่มนอนหลับตลอดทั้งคืนโดยไม่ต้องให้อาหาร  การจัดตารางการให้อาหารสำหรับทารกที่ต้องกินนมแม่อย่างเดียวเป็นประจำตลอดทั้งวันและคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 สัปดาห์แรกมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของน้ำหนัก ดังนั้นเมื่อลูกน้อยของคุณแสดงความหิวให้รู้ ควรให้ลูกเข้าเต้าเลย

ข้อสำคัญคือคุณไม่ควรปล่อยให้ทารกแรกเกิดของคุณนอนหลับยาวเกิน 3 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่าหากลูกน้อยของคุณนอนหลับเกินเวลา คุณจะต้องปลุกพวกเขา  เคล็ดลับสำคัญในการปลุกให้ลูกเข้าเต้า คือ การปลุกเมื่อลูกน้อยของคุณอยู่ในช่วงการนอนหลับแบบ REM หรือการนอนหลับในช่วงหลับฝันหรือการนอนที่มีการเคลื่อนไหวตาไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะหลับไปแล้วแต่สมองก็ยังทำงานอยู่เหมือนในขณะตื่น เพราะถ้าหากลูกน้อยของคุณนอนหลับสนิท ความพยายามในการป้อนนมอาจไร้ประโยชน์

ดังนั้นการจะรับรู้ได้ว่าช่วงไหนที่ลูกของคุณกำลังหลับในช่วง REM ต้องดูสัญญาณบ่งบอกต่างๆ เช่น ลูกน้อยขยับแขนและขา เปลี่ยนการแสดงออกทางสีหน้า และกระพือเปลือกตา หากคุณเห็นเปลือกตาของลูกน้อยเคลื่อนไหวไปมา (แม้เพียงเล็กน้อย) เป็นเวลาที่ดีที่จะพยายามกระตุ้นพวกเขาให้กินอาหารเมื่อถึงเวลาเข้าเต้า  ต่อไปเป็นเคล็ดลับบางประการในการปลุกลูกน้อยให้เข้าเต้าอย่างนิ่มนวล

  • เปลี่ยนผ้าอ้อมไปพร้อมกับร้องเพลงหรือลูบมือและฝ่าเท้าของลูก
  • เปิดไฟสลัวๆ เนื่องจากดวงตาของทารกไวต่อแสง ไฟสลัวๆ อาจช่วยให้ลูกของคุณตื่นตัวได้
  • อุ้มลูกให้ตัวตั้งตรง วิธีนี้มักจะทำให้ทารกลืมตาได้
  • เมื่อลูกลืมตาแล้ว ให้สบตาพวกเขา หรือพูดและร้องเพลงกับลูกน้อยของคุณ
  • นวดมือ เท้า แขน หลัง และไหล่ของลูก หรือลูบแก้ม การสัมผัสของคุณสามารถช่วยปลุกลูกน้อยที่ง่วงนอนได้
  • ถอดชุกพวกเขาลงไปที่ผ้าอ้อม อากาศที่เย็นขึ้นมักจะช่วยกระตุ้นทารกให้กินอาหารได้ คุณสามารถห่มผ้าห่มให้ลูกอุ่นขึ้นได้เมื่อเริ่มป้อนนม
  • ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นเช็ดใบหน้าหรือลำตัว ความเย็นสบายของผ้าชุบน้ำหมาดๆ ช่วยให้ตื่นขึ้นได้เล็กน้อย
  • ปลุกลูกน้อยของคุณเมื่อพวกเขานอนหลับสบาย
  • พูดคุยกับลูกน้อยของคุณในขณะที่คุณให้อาหารเพื่อให้พวกเขาตื่นตัว แค่เสียงเพียงเล็กน้อยก็อาจช่วยให้ตื่นได้
  • ถูหัวนมของคุณ (หรือจุกนมขวด) กับปากของทารก วิธีนี้จะเตือนลูกน้อยของคุณว่าถึงเวลาทานอาหารแล้ว (ลองหยดน้ำนมเหลืองหรือนมสักสองสามหยดให้สัมผัสริมฝีปากของลูก
  • สลับข้างหรือขยับลูกน้อยของคุณหากพวกเขาพยักหน้า หากคุณเห็นว่าลูกน้อยของคุณเริ่มหลับ ให้หยุดพักและทำให้พวกเขาตื่นขึ้นเล็กน้อย จากนั้นคุณสามารถให้อาหารต่อไปได้อีกครั้ง

อ่านต่อ…ไขข้อข้องใจ ลูกหลับยาวควรปลุก ให้ลูกเข้าเต้า หรือไม่? ได้ที่หน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up