ตอบทุกคำถาม “นมแม่” มีแอลฟา-แลคตัลบูมินจริงหรือ? - Amarin Baby & Kids

ตอบทุกคำถาม “นมแม่” มีแอลฟา-แลคตัลบูมินจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event

รู้หรือไม่ว่าน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการสมองและความฉลาดของลูกน้อย ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสำคัญ คือ แอลฟาแล็คตัลบูมิน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสารสื่อประสาทและกระบวนการสังเคราะห์แลคโตสในต่อมน้ำนมแม่ด้วย

แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือ โปรตีนคุณภาพที่พบมากในน้ำนมแม่ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แลคโตสในต่อมน้ำนม ดังนั้น “น้ำนมแม่” ซึ่งมีความเข้มข้นของแอลฟา-แล็คตัลบูมินสูง จึงเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาสารสื่อประสาทและเป็นสารอาหารสำคัญต่อโภชนาการของทารก

w69

มหัศจรรย์คุณค่า นมแม่

และไม่เพียงแต่การได้รับสารอาหารสำคัญที่เพียงพอ การนอนหลับที่ดียังส่งผลต่อพัฒนาการสมองเด็กด้วยเพราะ “การนอนหลับ” ของทารกตัวน้อยไม่ใช่แค่การพักผ่อนทั่วไปเหมือนผู้ใหญ่ แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ส่งเสริมให้สมองมีการเรียนรู้ นำเอาประสบการณ์ที่ได้ในขณะตื่นมาประมวลเป็นความจำ ขณะเดียวกันเซลล์ประสาทจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่ เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้ในขณะตื่น

การให้นมแม่ก่อนนอน จึงเป็นหมัดเด็ดที่ช่วยให้ทารกนอนหลับปุ๋ย รีเฟรชสมองทารกให้สดชื่นขึ้น เพื่อจะเรียนรู้ รับความรู้ใหม่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน รวมทั้ง “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่ที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตเฟน” ที่ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ

จากการศึกษาของ Vestergaard M และคณะ พบว่า เด็กที่ทานนมแม่จะมีพัฒนาการสมองในระยะยาวดี จากการศึกษาในทารกอายุ 8 เดือน จำนวน 1,656 คน ด้วยเกณฑ์พัฒนาการในการคลาน การหยิบจับและการออกเสียงอ้อแอ้ พบว่า เด็กที่ทานนมแม่เชี่ยวชาญในพัฒนาการตามเกณฑ์ดังกล่าวในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลอ้างอิง

  • Vestergaard M et all. Duration of breastfeeding and development milestones during the latter half of infancy. Acta Pediatric 1999; 88 1327-32.
  • Willi E. Heine, Peter D. Klein, Peter J. Reeds. The Importance of α-Lactalbumin in Infant Nutrition. 1991. J. Nutr March 1 Vol. 121 no. 3: 277-283.
  • Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up