ไขคำตอบ สารอาหารในนมแม่ ชนิดไหนที่ทำให้ลูกฉลาด?
สารอาหารในนมแม่ ลูกฉลาด พัฒนาการดี

ไขคำตอบ สารอาหารใน “นมแม่” ชนิดใดที่ทำให้ลูกฉลาด?

Alternative Textaccount_circle
event
สารอาหารในนมแม่ ลูกฉลาด พัฒนาการดี
สารอาหารในนมแม่ ลูกฉลาด พัฒนาการดี

7. รักษาหูชั้นนอกอักเสบ : หยดนมแม่เข้าไปในรูหู 2-3 หยด

8. ลดอาการบวมแดงของหนังตา : ใช้สำลีชุบนมแม่ให้ชุ่ม แล้ววางปิดบนหนังตานาน 2-3 นาที หากใช้ร่วมกับถุงชา หรือ แตงกวาฝาน จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

9. นมแม่ รักษาแผลแมลงกัด : แต้มนมแม่บนแผล จะช่วยลดอาการคัน และแผลยุบเร็วขึ้น

10. รักษาแผลเรื้อรัง หรือตุ่มน้ำอีสุกอีใส : แต้มนมแม่บนตุ่มน้ำใส ช่วยลดอาการคัน ทานมแม่บนแผลเรื้อรัง ช่วยให้แผลหายได้

11. รักษาหัวนมแตก : ทานมแม่ที่แผล แล้วรอให้แห้ง หรือ จุ่มหัวนมลงไปแช่ในนมแม่ที่เทใส่จาน

12. รักษาอาการเจ็บคอ : ถ้าลูกมีอาการเจ็บคอ การดูดนมแม่จะช่วยบรรเทาอาการได้

13. รักษาหูด : ใช้สำลีชุบนมแม่วางบนหูดนาน 2-3 นาที วันละ 2 ครั้ง ทำต่อเนื่องทุกวันจนกว่าหูดหลุดออกมา

สารอาหารในนมแม่ ลูกฉลาด พัฒนาการดี14. นมแม่ ฆ่าเซลล์มะเร็ง : นักวิทยาศาสตร์กำลังผลิตยาฆ่าเซลล์มะเร็งที่ทำจากนมแม่

15. นมแม่ช่วยลดอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด : เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน กินอาหารได้น้อย การนำนมแม่ให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดกิน จะทำให้อาการผลข้างเคียงจากยาน้อยลง

16. นมแม่ ช่วยทำให้ผิวหนังที่แห้งกลับชุ่มชื้น : โดยทาบนผิวแห้งโดยตรง หรือผสมนมแม่ลงในอ่างอาบน้ำ

17. นมแม่สะอาดหยดใส่ตา : ช่วยรักษาภาวะเยื่อบุตาอักเสบในกรณีที่เกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน ร่วมกับการนวดบริเวณหัวตาบ่อยๆ ส่วนกรณีติดเชื้อที่ตา อย่ารักษาเอง ให้พบจักษุแพทย์เสมอ

18. นมแม่ ช่วยลดอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก : หยดเข้ารูจมูกลูก 2-3 หยด ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาบางอย่างที่ทำให้จมูกบวมหลังจากหยุดใช้

19. เวลาลูกป่วย เช่น เป็นไข้หวัดใหญ่ มักกินข้าวได้น้อย : นมแม่ ย่อยง่าย กินง่าย ช่วยให้พลังงานแก่ลูก ช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น

banner300x250-120. นมแม่ ช่วยลอกสะเก็ดชันตุที่หนังศีรษะ : โดยการทาทิ้งไว้ก่อนสระผมนาน 5 นาที

21. ใช้นมแม่ทาที่แผลหลังจากขลิบอวัยวะเพศชาย : หลังจากล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า ช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น

นมแม่ทำให้แผลต่างๆ หายไวขึ้น เนื่องด้วยคุณสมบัติของกรดลอริคที่อยู่ในนมแม่ มีฤทธิ์ต้านไวรัส แบคทีเรีย ช่วยสมานแผล และมีคุณสมบัติเป็นยาชาอ่อนๆนั่นเอง

ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองก่อน แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้น อย่าเสียเวลายื้อต่อ หรือ ละเลยการรักษาจากแพทย์ ควรพบแพทย์ตรวจเสมอค่ะ (ที่มาจาก เฟสบุ๊ค สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ)

 

เรื่อง : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up