หัวใจเต้นผิดจังหวะ – จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ทั้งในรูปแบบที่เต้นเร็วและเต้นช้าเกินไปหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่าภาวะ “Cardiac Arrhythmia” ที่ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพสำหรับคนทั่วไป ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเด็กแรกเกิดหรือทารกไม่น่าจะประสบกับภาวะอาการของโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นมีโอกาสเกิดในทารกแรกเกิด โดยมีโอกาสพบความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ในเด็กบางรายตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด บางรายตรวจพบหลังอายุ 1-2 เดือนไปแล้ว ทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพ่อแม่และผู้ดูแล ที่จำเป็นต้องใส่ใจสุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็กเป็นพิเศษ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในทารกและเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องระวัง!
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในเด็กแรกเกิดโดยส่วนใหญ่อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต และสามารถหายเป็นปกติเองได้เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตามมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทที่หากตรวจพบแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน
สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในทารกแรกเกิด?
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในทารกแรกเกิด โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและรักษาได้ง่าย อย่างไรก็ตาม อาจมีความผิดปกติบางกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในระยะยาว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยสำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของทารกแรกเกิด ได้แก่
- โครงสร้างทางร่างกายผิดปกติแต่กำเนิด
- ภาวะขาดน้ำ
- ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
- การติดเชื้อ หรือการอักเสบของอวัยวะในร่างกาย
- การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
- ปัญหาหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital)
- ระดับสารเคมีในเลือดผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหัวใจ
- ความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจ
ภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่รุนแรงบางชนิดอาจต้องได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเด็กอายุยังน้อย ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายปีในการรักษาและติดตามอาการ ต่อไปนี้คือ ลักษณะของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยในทารก
1.หัวใจเต้นเร็วเกินไป
จังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วผิดปกติ มักมีจุดกำเนิดจากหัวใจห้องบนที่มีลักษณะเต้นเร็วผิดปกติ สามารถแบ่งออกไปได้อีกหลายประเภท และบางประเภทถือว่ามีความเสี่ยง ได้แก่
- ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ (SVT) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยเป็นอันดับสองในทารกแรกเกิด อย่างไรก็ตามมีผลการศึกษาในปี 2019 ชี้ว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วประเภทนี้สามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป และการใช้ยาอาจเพียงพอสำหรับรักษาอาการดังกล่าว
- หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial flutter) คือการเต้นผิดปกติของหัวใจห้องบน (Atria) ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจจะสูงมาก ประมาณ 280 ถึง 500 ครั้ง/นาที (bpm) แหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้ในปี 2020 ชี้ให้เห็นว่าในขณะที่หัวใจเต้นสั่นพลิ้วอาจเป็นภาวะที่คุกคามชีวิตเด็ก อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยก่อนคลอดและการรักษาอย่างทันท่วงทีจะสามารถช่วยชีวิตเด็กได้
- กระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (Wolff-Parkinson-White syndrome) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของทารกแรกเกิดที่พบได้ยาก เกิดขึ้นจากทางเดินไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
- หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง (VT) คือ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่มีต้นกำเนิดในหัวใจห้องล่าง พบได้น้อยกว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วที่มีความผิดปกติจากหัวใจห้องบน เมื่อจังหวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นเวลาไม่กี่วินาที โดยปกติจะไม่เป็นอันตราย แต่หากนานกว่านั้นอาจถึงแก่ชีวิตได้
2. หัวใจเต้นช้าเกินไป
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทนี้ พบได้น้อยกว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วในทารกแรกเกิด ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจของเด็กเต้นช้าเกินไปอาจเกิดจาก
- Sinus Bradycardia เกิดจากสัญญาณที่ผิดปกติที่มาจากโหนดไซนัส ที่ทำหน้าที่เสมือน “เครื่องกระตุ้นหัวใจ” ตามธรรมชาติของหัวใจอยู่ในผนังของห้องโถงด้านขวาของหัวใจ หัวใจเต้นช้าประเภทนี้ในทารกแรกเกิดประเภทนี้มักเป็นผลมาจากการควบคุมระบบทางเดินหายใจที่ยังไม่สมบูรณ์
- Heart block หมายถึงการอุดตันของแรงกระตุ้นไฟฟ้าภายในหัวใจหรือ Atrioventricular ที่ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร
3. อาการใจสั่นในทารกและเด็กเล็ก
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอาจเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของทารกแรกเกิดบางกรณีอาจไม่มีผลผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กหรือถ้าหากมีก็เพียงเล็กน้อย และมักจะหายไปหลังจากผ่านไปสองสามสัปดาห์หรือหลายเดือน ตัวอย่างเช่น
- Sinus Tachycardia เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดในทารกแรกเกิด มันเริ่มต้นในโหนดไซนัสและสามารถนำไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 170 bpm อย่างไรก็ตามมักไม่ต้องรักษา เนื่องจากโดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเผชิญกับความเจ็บปวด การติดเชื้อ หรือสภาวะทางอารมณ์ จากนั้นจะหายไปได้เอง
- Premature Atrial Contraction (PAC) หัวใจห้องบนเต้นสะดุด แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เองและมักไม่จำเป็นต้องรักษา
- Premature Ventricular Contraction (PVC) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่หาได้ยากในวัยทารก เกิดจากหัวใจห้องล่างเกิดการบีบตัวก่อนเวลาที่ควรจะเป็น
อ่านต่อ…หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในทารกและเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องระวัง! คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่