ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก : ลักษณะของเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน
เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย เสียงเล็กแหลม รูปร่างอ้วนกลม มีพุงจ้ำม่ำ เนื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก หากเป็นเด็กผู้ชายจะมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย แต่ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนจะไม่ส่งผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กแต่อย่างใด3
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตการเจริญเติบโตของลูกควบคู่ไปด้วยว่า มีความผิดปกติจากเด็กทั่วๆ ไปในวัยเดียวกันหรือไม่ เพื่อเตรียมป้องกัน และให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยได้ทันท่วงที
- เช็กกราฟความสูงของลูกว่าเป็นไปตามมาตรฐานในช่วงวัยหรือไม่ โดยปกติแล้วการเจริญเติบโตของเด็กจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง4 ดังนี้
- ช่วงแรกเกิด คือ อายุตั้งแต่ 0-2 ขวบ การเจริญเติบโตจะอยู่ระหว่าง 30-35 ซม./ปี
- ช่วงวัยเด็ก การเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 5-7 ซม./ปี
- ช่วงวัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธุ์ อัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ 8-14 ซม./ปี
- ลูกตัวเตี้ยผิดปกติจากพี่น้องที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน
- ลูกตัวเตี้ยและมีอาการอื่นแทรกร่วมด้วย เช่น อาเจียน วิงเวียน ปวดศีรษะ มีปัญหาทางสายตา หรือปัสสาวะบ่อยเกินไป
- ลูกไม่เปลี่ยนไซส์รองเท้าเลยเป็นเวลา 3-4 ปี
อ่านต่อ >> “สร้างโกรทฮอร์โมน จากการนอนที่ดีให้ลูก” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่