ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก จริงหรือ ?

Alternative Textaccount_circle
event

 มาสร้างโกรทฮอร์โมน จากการสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี

คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีในการเสริมสร้างโกรทฮอร์โมน ด้วยการสร้างสุขนิสัยและวินัยในการนอนของลูกจนเป็นกิจวัตรประจำวันได้ ดังนี้

  • เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน ทั้งวันไปเรียนและวันหยุด โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าหากเป็นวันหยุด ลูกสามารถนอนดึกได้
  • สังเกตสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการนอนของลูก เช่น ความเปียกชื้นในเด็กทารก ผื่นคัน อาการหวัด ภูมิแพ้ หรือความเจ็บป่วย ซึ่งจะทำให้ลูกหลับยาก หรือหลับไม่สบาย
  • สร้างสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้สะอาด สงบ และมีอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการนอนหลับอย่างแท้จริง
  • สร้างกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้านอนประมาณ 30 นาที เพื่อเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว ซึ่งกิจกรรมที่ว่าต้องไม่ตื่นเต้น ผาดโผน หรือเครียด เช่น การชวนลูกพูดคุยเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การเล่านิทาน ฟังเพลงบรรเลงเบาๆ หรือสวดมนต์ ไม่ควรใช้กิจกรรมจากจอคอมพิวเตอร์ ทีวี หรือมือถือ เพราะแสงจากจอดังกล่าวจะไปขัดขวางฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยในการหลับ ไม่ให้หลั่งออกมาตามปกติ
  • ไม่ควรให้ลูกทานอาหารมื้อหนัก เล่น หรือออกกำลังกายแบบหักโหมช่วง 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • ไม่ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชาเขียว นมช็อกโกแลต ก่อนเข้านอน เพราะจะไปกระตุ้นให้ลูกตื่นตัว และหลับยาก

 

เพราะการนอนของลูกเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากลูกน้อยได้นอนหลับอย่างเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม หลับลึก และหลับยาวตลอดทั้งคืน นอกจากจะช่วยให้สุขภาพของลูกแข็งแรง อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน มีพัฒนาการที่ดีในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วยให้โกรทฮอร์โมนทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกเจริญเติบโต สูงสมวัย ไม่เสี่ยงต่อภาวะแคระแกร็น หรือตัวเตี้ยได้อีกด้วย …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

14 วิธีทดสอบพัฒนาการลูก 1 เดือน – 5 ปี ว่าตรงตามวัยหรือไม่?
พัฒนาการ แขน ขา ลูกน้อยในครรภ์
การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1-2Rama Kid D Live วันที่ 21 เม.ย. 58 : พญ.ลัลลิยา ธรรมประทานกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.ความสำคัญของการนอนในเด็ก.youtube.com
3นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ.GH (Growth Hormone).tuvayanon.net
4พญ.นิภาภัทร์ วิศวชัยพันธ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อและเบาหวาน ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์.ลูกตัวเตี้ย…อย่างไรที่เรียกว่า “เตี้ย”.bumrungrad.com

 

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up