วิธีแก้ไขจากคุณหมอ
1.ให้คุณพ่อ คุณแม่คุมสติ ไม่แสดงอาการตกใจ เพราะไม่มีใครกลั้นหายใจได้นานจนสมองขาดออกซิเจนหรือเป็นอันตรายแก่ชีวิต คือ นานกว่า 4 นาที และถ้าคุณพ่อคุณแม่อยู่ในสถานการณ์ที่ลูกกำลังร้องกลั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจให้สงบก่อนค่ะ มั่นใจได้ว่าอาการนี้ไม่ทำให้ถึงชีวิตแน่นอน แล้วก็ค่อยๆ หาทางรับมือต่อไป คุณพ่อคุณแม่บางคนตกใจร้องจนเสียงหลง ก็ยิ่งเป็นการไปเร้าเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
2.ให้ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ แต่ไม่ตามใจ เพราะลูกจะคิดว่าถ้าร้องไห้รุนแรงแบบนี้แล้วจะได้สิ่งที่ต้องการ อาการนี้จะดีขึ้นเมื่อลูกโตขึ้น อายุประมาณ 3 ขวบ
3.สัมผัสช่วยได้ เมื่อมีสติแล้ววิธีที่ดีที่สุด คือการกอดสัมผัสเพื่อปลอบโยนเจ้าตัวเล็กค่ะ ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
4.คุณพ่อคุณแม่ต้องมีมุข มุขที่ว่านี้ก็คือ การหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าตัวน้อยเวลาที่ร้องเจ็บ หรือเวลาที่อยากทำอะไรนั่นเองค่ะ ถ้าเด็กบางคนชอบเล่นก็ให้นำของเล่นที่ชอบมาให้ หรือคุณพ่อคุณแม่อาจชวนคุยชม นอกชมไม้ ไม่ควรห้ามหรือขัดใจลูกตรงๆ อย่างเด็ดขาด
5.อย่าทะเลาะกันเอง พบว่าผู้ใหญ่หลายคนมักทะเลาะกันเอง ประมาณว่า “ดูสิเธอขัดใจ ลูกเลยเป็นแบบนี้” นอกจากจะไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูเลยค่ะ
6.ห้ามเขย่าลูก รู้ค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ตกใจที่เห็นเจ้าตัวน้อยเป็นลมล้มพับไป แต่การเขย่าเพื่อให้ลูกฟื้นไม่ใช่วิธีที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ แถมยังอาจทำให้ลูกเจ็บด้วย
ข้อควรสังเกต
สำหรับอาการของทารกร้องกลั้นที่ไม่น่าไว้วางใจ คือ ทารกมีประวัติว่ามีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือมีความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งอาจมีอาการร้องกลั้นเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ดังนั้น หากอาการร้องกลั้นเกิดขึ้นบ่อยจนคุณแม่เกิดความกังวล ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งจะดีที่สุดค่ะ
กรณีที่ทารกหรือเด็กเล็กเป็นโลหิตจางคุณหมอจะเสริมธาตุเหล็กบำรุงเลือดเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อาจมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่า มีลักษณะของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการร้องกลั้นนั่นเอง
ข้อควรระวังเพิ่มเติม
เมื่อลูกมีอาการร้องไห้แล้วกลั้นในครั้งแรก คุณพ่อ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าไม่มีความผิดปกติอย่างอื่นซ่อนเร้น เช่น ภาวะเลือดจาง โรคหัวใจ หรือ โรคลมชัก
การเลี้ยงลูกยังมีปัญหาจุดเล็กจุดน้อยให้คุณพ่อ คุณแม่ได้เจอ และหาวิธีแก้ไขอีกมาก แต่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจนะคะ ขอเพียงคุณหมั่นแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกอยู่เสมอ จะทำให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกได้ และมีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกมากขึ้นค่ะ
เครดิต : เฟสบุ๊ค Mamy N’alich, คนท้องคุยกัน, baby.haijai.com
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!
10 วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้
ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?
8 เทคนิครับมือเมื่อลูกทารกร้องไห้อย่าง “ไม่มีเหตุผล”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่