นี่คือพัฒนาการ ความจำ ของลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
พัฒนาการความจำ

นี่คือพัฒนาการ ความจำ ของลูกทารกตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

event
พัฒนาการความจำ
พัฒนาการความจำ

เทคนิค การพัฒนาความจำ ให้ลูกน้อย เมื่อเข้าสู่วัยเรียนรู้

  • สร้างนิสัยรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอ มีผลจากการวิจัยพบว่าการอ่านอย่างต่อเนื่องนั้นผลที่ออกมาดีกว่าคนที่รีบ เร่งอ่านหนังสือช่วงสอบ
  • ใช้เครื่องมือช่วยจำ เช่น ตัวย่อ หรือบันทึกเป็นเพลงหรือกลอน
  • ใช้ตัวอย่างอธิบายช่วยจำ เมื่อจดจำคำศัพท์เฉพาะ หรือนิยาม บางที่ลูกอาจจำคำจำกัดความทั้งหมดไม่ได้ แต่หากอ่านคำอธิบายหรือตัวอย่างที่ประกอบซ้ำก็จะช่วยให้เข้าใจความหมายหรือ คำจำกัดความของคำเฉพาะเหล่านั้นได้ดีขึ้น
  • ใช้ภาพในการสื่อความหมาย มีคำพูดว่า “รูปภาพ 1 ภาพ สื่อความหมายได้มากกว่า 100 คำ” บางคนใช้ประโยชน์ได้ดีกับความจำแบบกล้องถ่ายรูป เมื่อลูกเริ่มเรียนรู้ลองให้ความสนใจกับรูปภาพแผนภูมิ และภาพวาดประกอบในหนังสือ หรืออาจวาดภาพของตัวเอง ใช้สีที่แตกต่างเพื่อแสดงถึงองค์ประกอบที่แตกต่าง ความจำแบบกล้องถ่ายรูปที่ลูกเก็บไว้ เมื่อจะระลึกถึงเนื้อหาก็สามารถจะนำเป็นภาพออกมาทั้งโครงสร้างและนำมาขยายความ และเชื่อมโยงให้ชัดเจนเพิ่มขึ้น

ความจำ

การบำรุงรักษาระบบประสาท

แนวทางในการบำรุงรักษาประสาท สมอง และความจำ ของลูกน้อยมีดังนี้

1. ระวังไม่ให้สมองของลูกเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะว่าหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ ความจำ เสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้

2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง

3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้

4. พยายามผ่อนคลายความเครียด เด็กก็เครียดได้ ซึ่งหากพ่อแม่ปล่อยให้ความเครียดของลูกสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดให้ลูกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การวิ่งเล่น การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ทำให้ลูกสนุกสนานร่าเริง และพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี โดยขณะที่ลูกนอนหลับ ประสาททุกส่วนที่อยู่ในอำนาจของจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลง

5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสมองต้องการสารอาหารทั้ง 5 หมู่ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการทำงานของสมอง จึงควรรับประทานอาหารให้ได้ครบ 5 หมู่ หลากหลายและไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสมองอันดับต้น ๆ อีกเช่นกัน ใน 1 สัปดาห์ควรรับประทานปลาน้ำลึกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง อย่างเช่น ปลาแซลมอน หรือปลาทู เนื่องจากปลาจำพวกนี้จะมีกรดไขมัน โอเมก้า 3 ช่วยสร้างและดูแลผนังเซลส์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่เสื่อมตามวัยเร็วเกินไปนั่นเอง

รวมไปถึงอาหารที่มีวิตามินบี 1 ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้สมองแข็งแรง พบมากในถั่ว งา ข้าวโพด หรืออาหารที่ปรุงจากเมล็ดข้าว เช่น ขนมปังที่ทำจากแป้งไม่ขัดขาวหรือมีธัญพืชผสม รวมถึงในข้าวกล้องด้วย นอกจากนี้แล้วยังมี วิตามินบี 5 และวิตามินบี 6 ที่พบได้ในเนื้อวัว เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ปลา ธัญพืช รวมถึงนมสด และผลไม้ ซึ่งอาหารประเภทนี้สามารถช่วยกระตุ้นและผลิตสารเคมีที่จำเป็นต่อสมองได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อบทความดีๆน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : campus.sanook.com , taamkru.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up