หน้าฝนมาเยือน เตือนพ่อแม่ระวัง! ไข้ออกผื่น ในเด็ก - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
ไข้ออกผื่น

หน้าฝนมาเยือน เตือนพ่อแม่ระวัง! ไข้ออกผื่น ในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้ออกผื่น
ไข้ออกผื่น

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ไข้ออกผื่น ชนิดใด

มีข้อสังเกตดูอาการต่าง ๆ ของ ไข้ออกผื่น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่แยกแยะว่ามีสาเหตุจากอะไร โดยคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

1.หัด มีไข้สูงตลอดทั้งวัน (แม้กินยาลดไข้ก็ไม่ค่อยได้ผล) พร้อมกับอาการเป็นหวัด ไอ หน้าแดง ตาแดง หลังมีไข้ประมาณ 3-4 วัน จะมีผื่นแดง ๆ เล็ก ขึ้นตามหน้าแล้วกระจายไปตามลำตัวและแขนขา ขณะมีผื่นขึ้นก็ยังคงมีไข้สูงต่อไปอีก 1-2 วัน หลังจากนั้นไข้จึงค่อย ๆ ลดลง ซึ่งเด็กมักจะนอนซมและเบื่ออาหาร กินเวลาประมาณ 7-10 วัน กว่าจะหาย

2.หัดเยอรมัน มีไข้ไม่สูงนัก ครั่นเนื้อครั่นตัวเป็นพัก ๆ มีผื่นแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นที่หน้า ลำตัว แขนขา โดยมากจะไม่มีอาการของหวัดหรือไอ เด็กจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง สามารถกินข้าว วิ่งเล่น ได้ตามปกติ ถ้าคุณแม่ใช้นิ้วมือคลำบริเวณข้างคอ หลังคอ หรือท้ายทอย มักจะพบก้อนตะปุ่มตะป่ำขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่บวมจากโรคนี้ จะหายไปภายในเวลา 5-7 วัน

3.อีสุกอีใส มีไข้เป็นพัก ๆ มีตุ่มใส ๆ ขึ้น ที่บริเวณหน้าและคอในวันแรกที่ไม่สบาย ต่อมาจะมีตุ่มใส ๆ ขึ้นกระจายตามลำตัวแขนขา มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาตุ่มค่อย ๆ สุกและตกสะเก็ด กินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

ไข้ออกผื่น สาเหตุ

4.ส่าไข้ มักพบในเด็กอายุ 1-2 ปี มีไข้สูงจัดตลอดเวลา (กินยาลดไข้ก็ไม่ได้ผล) นอนซึม และเบื่ออาหารโดยไม่เป็นหวัด จับไข้อยู่ประมาณ 3-4 วัน แล้วไข้ลดลงได้เอง หลังไข้ลดจะมีผื่นแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัว ลักษณะเหมือนผื่นของหัด พอผื่นขึ้นเด็กจะกลับฟื้นคืนเป็นปกติทุกประการ และผื่นมักจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 วัน

5.ผื่นดอกกุหลาบ มักพบในเด็กอายุประมาณ 3 เดือน-3 ปี เด็กจะมีอาการไข้สูงลอย ร้องกวน อาจมีอาการชักขณะไข้สูง ไม่มีอาการไอ น้ำมูกไหล ตาแดง เป็นไข้อยู่ 3-4 วัน ไข้ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะมีผื่นลักษณะเป็นเม็ดนูนเล็ก ๆ 2-4 มิลลิเมตร สีชมพูกุหลาบขึ้นที่บริเวณตัวก่อนแล้วลามไปตามหน้า และแขนขา ผื่นนี้ลดลงแล้วสีจะจาง อยู่นานไม่กี่ชั่วโมง ถึง 2-3 วันแล้วก็จะหายไปเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

โรคแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสภาพยากจน อยู่ในชุมชนแออัด มีภาวะทุพโภชนาการ และในเด็กเล็กที่พบบ่อย มีดังนี้

  1. ทางระบบทางเดินหายใจ

–   หูส่วนกลางอักเสบ (otitis media)

–   หลอดลมอักเสบ croup

–   ปอดอักเสบ

  1. ทางระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ
  2. สมองอักเสบพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต
  3. ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้มีตาบอด

อ่านต่อ >> “การรักษาและวิธีป้องกันโรคไข้ออกผื่น” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up