การดูแลรักษาเมื่อลูกเป็นไข้ออกผื่น
การรักษาอาการ ไข้ออกผื่น เบื้องต้น
- ให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว ให้ยาแก้ไอที่เป็นยาขับเสมหะได้เป็นครั้งคราว
- ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ นอกจากรายที่มีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบ หูอักเสบ
- ให้อาหารอ่อนที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ให้วิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ องค์การอนามัยโลกและunicef แนะนำให้วิตามินเอแก่เด็กที่เป็นหัดทุกรายในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการขาดวิตามินเอสูง และอัตราป่วยตายของโรคหัดเกิน 1%เนื่องจากผลของการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กที่เป็นหัดจะช่วยลดอัตราตายจากหัดลงได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จำเป็นต้องทราบก่อนว่าลูกเป็นโรคอะไร โดยพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย ฉีดวัคซีนป้องกันได้ แต่บางชนิดไม่มีวัคซีนป้องกัน ฉะนั้นจึงควรดูแล และป้องกันอย่างเหมาะสมดังนี้
1.การแยกเด็ก
- เนื่องจากโรคเหล่านี้เป็นโรคติดต่อ จึงต้องแยกเด็กที่อยู่ด้วยกันออกมาก่อน
- เด็กออกหัด แม้อาการดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กอื่นจนถึง 5 วัน หลังผื่นขึ้น
- เด็กที่เป็นหัดเยอรมัน ต้องหลีกเลี่ยงจากหญิงมีครรภ์ จนผื่นขึ้นแล้วเกิน 5 วัน
- เด็กที่เป็นสุกใส ผื่นต้องเป็นสะเก็ดหมดแล้วจึงจะพ้นระยะติดต่อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 วัน
2.การดูแลตามอาการ
- เมื่อลูกมีไข้ ควรเช็ดตัวบ่อย ๆ และให้ยาลดไข้ตามอาการทุก 4-6 ชั่วโมง
- ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ กินอาหารอ่อน เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะถ้าลูกขาดน้ำอาการจะหายช้า และเมื่อเพลียมากอาจเกิดอาการชักได้
- เด็กที่มีอาการไอ สามารถใช้ยาแก้ไอขับเสมหะธรรมดาสำหรับเด็ก เพราะอาการไอเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ ร่วมกับการมีเสมหะ ซึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองตามระบบของโรค
- หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- ให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก และผลไม้ เพื่อสุขภาพและสร้างภูมิต้านทานให้ลูก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีการป้องกัน ไข้ออกผื่น
กลุ่มอาการไข้ออกผื่น บางชนิด เช่น โรคหัด หัดเยอรมัน จะมีวัคซีนป้องกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันได้
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจกังวลและให้ลูกงดอาหารพวกเนื้อ นม ไข่ ซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณว่าเป็นของแสลงกับไข้ออกผื่น ความจริงแล้วอาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้เด็ก ๆ ได้ จึงควรให้เด็กกินให้มากขึ้นค่ะ
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในเด็กเล็กๆ คุณหมอบอกว่า การดูแลเรื่องไข้ของลูก ต้องอย่าให้ลูกขาดน้ำ เพราะถ้าลูกขาดน้ำ พลังงาน อาการจะหายช้า และเมื่อเพลียมากอาจเกิดอาการชักได้
ทั้งนี้ ไข้ออกผื่น ไม่มียารักษาเฉพาะทาง วิธีที่ดีที่สุด คือ ให้วัคซีนป้องกัน ที่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ให้วัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้งฟรี ซึ่งครั้งแรก เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน โดยให้ในรูปแบบของวัคซีนหัดชนิดเดี่ยว ส่วนครั้งที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียน ป.1 จะให้ในรูปแบบวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
และ www.manager.co.th , baby.kapook.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ คลิก