5. เด็กที่กินนมแม่ ยิ่งต้องกินนมแม่ เด็กที่กินนมผสมให้กินชงปกติได้ เปลี่ยนสูตรนมเมื่อแพทย์แนะนำ
เด็กช่วงวัยที่กินนมอย่างเดียวถ้ามีการติดเชื้อ ทำให้เกิดการถ่ายเหลวถ้ากินนมแม่อย่างเดียว ให้กินต่อไป กินได้ปกติ ถ้าเด็กกินนมผสมให้ชงตามเดิม ไม่ต้องเจือจาง แล้วให้กิน ORS ทดแทน แต่ถ้าเด็กมีถ่ายเหลว เป็นฟอง เหม็นเปรี้ยวก้นเป็นแผลถลอกเหมือนถูกกรดกัดต้องพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจอาการ เพราะขณะที่ติดเชื้อ การย่อยน้ำตาลในนมอาจทำได้ลดลง ทำให้นมกลายเป็นกรดกรณีนี้อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนนมเป็นสูตรไม่มีน้ำตาลแลคโตส แต่ถ้าไม่มีอาการอย่างที่หมอว่า ก็ให้กินนมได้ปกติ
6. น้ำเกลือที่ให้ทางหลอดเลือดดำทดแทนน้ำและเกลือแร่ ไม่ได้ ทดแทนอาหาร
ถ้าเด็กๆ ต้อง admit การรักษาภาวะถ่ายเหลว หรืออาเจียน คือการให้น้ำเกลือ ซึ่งในน้ำ 1 ลิตร มีเกลือแกงเล็กน้อยกับน้ำตาล ที่เทียบกับลูกอมสัก 2-3 เม็ดอยู่ในนั้นไม่มีอะไรมากกว่านั้น เพราะฉะนั้นทดแทนภาวะขาดน้ำ แต่ไม่ได้ทดแทนอาหาร ยังต้องพยายามป้อนอาหารลูกต่อไป แม้ลูกจะปฏิเสธ ได้กินมื้อละ 2-3 คำก็ยังดี และมีการศึกษาว่า การที่ให้ลำไส้ของผู้ป่วยว่างเปล่าไม่มีอาหาร ทำให้การหายของลำไส้ หายช้ากว่าการได้รับอาหาร
7. กินอาหารอ่อนๆ เพื่อช่วยในการฟื้นตัวของลำไส้ได้เร็วขึ้น
เด็กที่มีอาการดีขึ้นไม่ได้แปลว่าหายเป็นปกติ เพราะลำไส้ต้องใช้เวลานานกว่าจะหายกว่าจะมีอุจจาระที่เหมือนปกติ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เช่นเดียวกับการอยากอาหารช่วงแรกๆ จะยังไม่เป็นปกติแต่พอลูกหาย เขาก็จะขอกินโน่น กินนี่สบายใจได้ค่ะเด็กเก่งกว่าที่เราคิด และร่างกายของเด็ก มีการซ่อมแซมตัวเองสูงมาก ดีกว่าผู้ใหญ่ซะอีก ดังนั้น ไม่ต้องไปบังคับ ให้กินโน่นกินนี่เดี๋ยวดีขึ้น เขาจะขอเรากินเองค่ะ ช่วงที่ไม่หายดี ให้กินอาหารอ่อนๆ หมายถึงอาหารย่อยง่ายไม่ใช่อาหารเหลว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เยอะเพราะย่อยยาก กินพวกข้าวต้ม ใส่เนื้อสัตว์ไม่ติดมันมาก หรือไม่ต้องใส่กระเทียมเจียวข้าวสวยกับแกงจืดที่ไม่มันจะช่วยให้ลำไส้ไม่ทำงานหนักเกินไป1
หวังคุณพ่อคุณแม่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลลูกเล็กๆ เมื่อมีอาการถ่ายเหลว และอาเจียนกันนะคะ และแน่นอนว่าถึงแม้ว่าจะสามารถดูแลอาการลูกได้ในเบื้องต้นแล้วก็ตาม เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพลูก ควรพาลูกไปพบคุณหมอในการให้การรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ กันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยและใส่ใจค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
สี อุจจาระ ทารก บอกอะไรได้บ้าง ?
โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่ชอบสัตว์เลี้ยง
สี ปัสสาวะ บอก โรค ได้อย่างไร?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1คุณหมอปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ และเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก www.facebook.com/drpambookclub/