การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ช่วงอายุแรกเกิด - 5 ปี - Amarin Baby & Kids
การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ช่วงอายุแรกเกิด – 5 ปี

Alternative Textaccount_circle
event
การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย
การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ลูกจะเติบโตอย่างรวดเร็วมาก พ่อแม่ควรติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกทุก ๆ 3 เดือน

และควรจดบันทึกการเจริญเติบโตของลูกลงในสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ส่วนสูง และเส้นรอบศีรษะของลูก ว่าเพิ่มขึ้นตามวัยหรือไม่ ถ้าพบว่าบกพร่องจะได้ดูแลแก้ไขได้ทันท่วงที

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ช่วงอายุแรกเกิด – 5 ปี

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย อาจแบ่งเป็น การเจริญเติบโต (Growth) และการพัฒนาการ (Development) การเติบโต (Growth) หมายถึง การเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์และ matrix สามารถวัคได้ การเติบโตของร่างกายหัวไปวัดจากน้ำหนัก, ความสูง ความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง การเติบโตอาจแบ่งตามอวัยวะต่างๆ ที่มีการเจริญเติบโต เช่น การเติบโตของฟัน ของกระดูก ของอวัยวะเพศ เป็นต้น

การเจริญหรือพัฒนาการ (Development) หมายถึงการเจริญทางด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญคือ การทำงานของสมอง ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ในด้านต่างๆ รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม

การวัดความเจริญเติบโตในเด็กแต่ละคนว่าปกติหรือไม่ ทำได้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่คัดมาจากเด็กปกติในกลุ่มอายุเดียวกัน เกณฑ์ปกติที่คัดมาลงในที่นี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้บ่อย สำหรับรายละเอียดของการวัคความเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ทาง Amarin Baby & Kids จึงนำตารางการเติบโตของร่างกายทั้งน้ำหนักและส่วนสูงโดยเฉลี่ยของเด็กหญิงเด็กชายตามเกณฑ์ปกติ  เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เปรียบการเจริญเติบโตของลูกน้อยของเรา ดังนี้

อายุ 0-2 ปี

graph01big

graph02big

“กราฟการเจริญเติบโตช่วง 2-7 ปี และพัฒนาการด้านร่างกายของลูกน้อย”

 

graph03big graph04big

  • เด็กอายุ 3 เดือนแรก มีน้ำหนักเพิ่มเดือนละ 1 กก. หลังจากนั้นจะเพิ่มเดือนละ ½  กก. เมื่ออายุเกิน 2 ปีจะมีน้ำหนักเพิ่มประมาณปีละ 2 กก.
  • เด็กเมื่อโตเต็มที่จะสูงเป็น 2 เท่าของความสูงที่วัดได้เมื่ออายุ 2 ปี

ขนาดสมองของลูกน้อย

นอกจากการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแล้วการวัดเส้นรอบศีรษะ ก็เพื่อดูการเจริญเติบโตของสมอง เด็กแรกเกิดจะมีเส้นรอบศีรษะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และเมื่ออายุครบ 1 ปี เส้นรอบศีรษะจะยาวประมาณ 46 เซนติเมตร (ความยาวเส้นรอบศีรษะอาจมีค่าบวกลบได้ไม่เกิน 2 เซนติเมตร) หากรอบศีรษะมีความยาวเกินเกณฑ์ปกติบวกกับกระหม่อมหน้าที่ยังไม่ปิด (สมองมีขนาดใหญ่) พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบคุณหมอ เพื่ออัลตร้าชาวนด์ เช็คว่าเกิดจากการผลิตน้ำในสมองมากเกินไปหรือการอุดตันของทางออกของน้ำในสมองทำให้มีน้ำในสมองหรือไม่

การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงเนื้อหนังของทารก

ลักษณะของผิวหนังและเนื้อทั่วไป จะบอกถึงสภาพโภชนาการว่าดีหรือเลวได้ เช่น ผิวตึง เนื้อเป่ง แขนขาเป็นปล้อง แสดงถึงความสมบูรณ์ พวกผิวหนังแห้ง มีรอยย่นตามยาวของแขนขาคล้ายริ้วปลาแห้ง มีกล้ามเนื้อ และไขมันใต้ผิวหนังน้อย กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก แสดงถึงสภาพโภชนาการไม่ดี การดูสภาพเนื้อหนังนี้ เราสามารถวัดได้โดยวัดเส้นรอบวงแขน วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง หรือวัดขนาดของกล้ามเนื้อ

getty_rf_photo_of_baby_boy

ลำดับการขึ้นฟันน้ำนม

การขึ้นฟันน้ำนม ของเด็กเล็กๆ แม้ว่าเด็กทั่วๆไป จะเริ่มมีฟันขึ้นตอนอายุประมาณ 6 เดือน แต่ลำดับการขึ้นฟันน้ำนมของน้องไม่เท่ากัน บางคนขึ้นเร็ว บางคนขึ้นช้าแล้วแต่กรรมพันธุ์ของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่จะมีลำดับการขึ้นของฟันน้ำนมของเด็กตามลำดับดังนี้

  • ฟันน้ำนม – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 0-6 เดือน โดยจะโผล่ออกมาจากเหงือกบวม ๆ และทำให้เจ้าตัวเล็กน้ำลายยืดตลอดเวลา ไม่สบายตัว และอาจทำให้เป็นไข้ได้
  • ฟันกระต่าย – เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-10 เดือน (คู่ด้านล่าง) และอายุ 8-12 เดือน (คู่ด้านบน) ในช่วงนี้ฟันคู่หน้าทั้งบนล่างจะเริ่มงอก โดยมากล่างจะเห็นก่อน อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายนักเวลาให้นม
  • ฟันคู่ถัดมา – ช่วงอายุระหว่าง 10-16 เดือน (คู่ด้านล่าง) และอายุ 9-13 เดือน (คู่ด้านบน) ฟันจะเริ่มงอกทำให้เด็กเจ็บจนอาจถึงขั้นไม่หลับไม่นอน และงอแงเยอะกว่าเดิม
  • ฟันเขี้ยว – อายุ 1-2 ขวบ เขี้ยวจะเริ่มงอก และอาจทำให้เจ็บ ไม่สบาย หรือมีไข้ได้เช่นกัน
  • ฟันกราม – ช่วงอายุระหว่าง 14-18 เดือน (คู่ด้านล่าง) และอายุ 13-19 เดือน (คู่ด้านบน) ฟันกรามจะเริ่มงอกทำให้เด็กเจ็บรวมถึงอาจมีอาการไม่สบายร่วมด้วย ส่วนนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจให้ทานยาแก้ปวดร่วมด้วยได้ (ควรปรึกษาแพทย์ในการทานยาที่ปริมาณที่เหมาะสม)
  • ฟันกรามส่วนที่ 2 – ฟันชุดสุดท้ายจะขึ้นในช่วงอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งรวมถึงฟันกรามใหญ่ นั่นแปลว่าจะปวดและไม่สบายปากมากขึ้นสองเท่าด้วย
  • ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่อประมาณ 6 ปี ฟันแท้ 2 ซี่แรก ( central incisor) ขึ้นอายุ 6-8 ปี

การเจริญและพัฒนาการทางสมอง

การเจริญทางด้านพฤติกรรมเป็นการผสมผสานของการแสดงออกถึงความสามารถ และการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายตามวัย โดยการควบคุมของสมอง สติปัญญา อารมณ์ และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (สังคม) ในขวบปีแรกจะมีพัฒนาการด้านนี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพวกที่มีการพัฒนาดีในช่วงแรกนี้ ก็ย่อมจะมีการพัฒนาที่ดีในระยะหลังด้วย

การพัฒนาทางด้านพฤติกรรมนี้ เป็นขบวนการต่อเนื่อง โดยมีระบบประสาทเป็นตัวกำหนด ผสมผสานกับการเจริญเติบโต และเริ่มจากศีรษะมาเท้า ซึ่งสามารถเทียบพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 5 ปี ได้ดังนี้

อายุ           พัฒนาการแต่ละขั้นของลูกน้อย

แรกเกิด     ฉายไฟที่ตาตากระพริบได้ มี Moro reflex

1 เดือน     จ้องหน้าแม่ได้

2 เดือน     ยิ้มตอบเมื่อเล่นด้วย ได้ยินเสียงพูดด้วยจะสนใจ

3 เดือน     ชันคอได้ มองตามแสงได้ มองตามของเล่น 180º อ้อแอ้

4 เดือน     ยิ้มให้ก่อนเมื่อเห็นแม่ หัวเราะดัง หันตามเสียง เล่นมือตนเอง

5 เดือน     คว้าของเล่นได้, คว่ำได้เมื่อจับนอนหงาย

6 เดือน     จับของอยู่จะถ่ายมือไปอีกมือหนึ่งได้ แปลกคนแปลกหน้า ยกเท้ามาดูด

7 เดือน     นั่งได้ หันตามเสียงกระดิ่งและมองจับจุดที่มาของเสียงได้ เล่นกับกระจก

8 เดือน     ให้จับราว จะยืนเกาะได้

9 เดือน     จ๋าจ๊ะ เรียกชื่อจะหัน คลาน

10 เดือน   โหนตัวยืนได้ จับเศษขนมเล็กๆ ที่พื้นด้วยนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ เรียกแม่อย่างรู้ความหมาย

11 เดือน    ยื่นของเล่นให้ แต่เมื่อรับไว้จะไม่ปล่อยมือ ให้จับราวไว้ทั้งสองมือจะเดินได้ ยืน

12 เดือน    ช่วยยกยาหรือสอดแขนในเสื้อผ้าเวลาแต่งตัวให้ ขอของเล่นจะยื่นให้ ถ้าแย่งของจะดึงไว้ไม่ยอมให้

15 เดือน    เดินเตาะแตะ ชี้ของที่ต้องการได้

18 เดือน    หัดนั่งโถได้ จับเชือกลากของเล่นได้ นั่งเก้าอี้เตี้ยๆ ได้ ปีนบันได

2 ปี             วิ่งได้ดี พูดได้สองคำต่อกัน ไม่ถ่ายอุจจาระรด ขีดเส้นตามแนวนอน บอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

3 ปี             ขี่จักรยานสามล้อ ขึ้นบันไดสลับเท้า นับถึง 3 พูดเป็นประโยคยาวๆ บอกเพศของตนเองได้ ไม่ถ่ายปัสสาวะรดกลางคืน เล่นกับเพื่อนแต่ต่างคนต่างเล่น

4 ปี            โยนบอลล์ข้ามศีรษะได้ ล้างหน้าแปรงฟันเองได้ ก้าวโดดขาเดียว เขียนกากะบาด บอกความแตกต่างของความยาวสั้น นับถึง 4 เล่านิทาน เล่นกับเพื่อนรวมกลุ่มได้

5 ปี            นับได้ถ้วนถึง 10 ยืนขาเดียวได้นานๆ รู้จักสีถูกต้อง 4 สี วาดสามเหลี่ยม วาดรูปคนครบส่วน ใส่เสื้อถอดเสื้อเอง

ความสำคัญของการเจริญและการเติบโตของลูก อยู่ที่ว่าแต่ละวัยเป็นวัยที่ยังมีการเจริญเติบโต พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้อย่างเต็มศักยภาพของกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกของเราเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์เต็มที่


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.childanddevelopment.com , www.healthcarethai.com ,

ขอบคุณภาพจาก : www.factsforlifethai.cf.mahidol.ac.th , kanchanapisek.or.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up